วันศุกร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560

"มจร-สอศ."มอบรางวังนักข่าววิถีพุทธชูคนดีให้มีที่ยืน





"มจร-สอศ." มอบรางวัล นักข่าววิถีพุทธ หวังส่งเสริม "สื่อสารธรรมความดีสู่สังคม"  ให้มีที่ยืน  แนะะใช้หลักการสื่อสารตามแนวพุทธสันติวิธีเป็นฐานทำดีอย่างไรให้เป็นข่าว


เมื่อเวลา  13.00 น. วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้แทน ดร.บุญส่ง   จำปาโพธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นประธานมอบรางวัล “สื่อสารธรรมความดีสู่สังคม” หรือนักข่าววิถีพุทธ แก่นายสำราญ   สมพงษ์ บรรณาธิการบ้านเมืองออนไลน์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร  ภายใต้การร่วมมือระหว่าง มจร กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา



ในการนี้นายสำราญได้บรรยายพิเศษเรื่อง “ทำงานวิถีพุทธอย่างไรให้เป็นข่าว เพื่อสื่สารความดีสู่สังคม”  ความว่า เมื่อเข้ามาเรียนหลักสูตรสันติศึกษาที่มหาจุฬาฯ พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีมหาจุฬาฯฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ได้เตือนสติว่า “เมื่อมาเรียนสันติศึกษาแล้วจงเอาธรรมไปทำ แต่อย่าติดทำ ทำแล้วทิ้ง คืออย่างหวังผลของการทำความดีเพราะเราได้ให้ความดีกับบุคคลอื่นไม่หมดแล้ว”  ตอนนั้นก็งงๆ อยู่เหมือนกันเมื่อพิจารณาแล้วพระมหาหรรษาได้แนะไม่ให้ติดในการทำความดี ทำเพื่อละไม่ใช่ทำเพื่อจะเอา ไม่เช่นก็จะเป็นการถือดี อวดดี แข่งดี ทะเลาะกันเพราะดี ท้ายที่สุดแล้ว “ดีแตก”   นี้คือหลักข “อนัตตา”  หลักการสำคัญในพระพุทธศาสนา”  นายสำราญ กล่าวและว่า



หลักการทำงานที่ผ่านนั้นทั้งก่อนและหลังของการทำหน้าที่นักข่าวที่ผ่านมาได้ยึดหลัก  "คุณธรรม" ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็น 1 ใน 2 เงื่อนไขกับ "ความรู้"  และหลัก "สันติภาพ"   ซึ่งที่เข้ามาเรียนหลักสูตรสันติศึกษามหาจุฬาฯระดับปริญญาโท เมื่อปี 2556 ได้ความเข้าใจหลักอริยสัจ 4 คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อได้รู้ว่า ความขัดแย้งคือ "ทุกข์"  เท่านั้นทำให้เข้าใจหลักสูตรนี้ทันที ส่งผลให้เกิดอิทธิบาท 4 คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ  วิมังสา ในการหลักสูตรสันติศึกษาและนำมาใช้ในการทำงาน โดยเฉพาะวิริยะเมื่อมีงานที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา มหาจุฬาฯไม่ว่าเวลาใดผมทำโดยไม่มีความรู้สึกเหนื่อย  พร้อมกันนี้ยังได้ใช้หลักอริยสัจ 4 เป็นฐานในการเขียนข่าว รายงาน บทความ รวมถึงการทำและเขียนวิทยานิพนธ์เพราะโครงสร้างของการทำวิทยานิพนธ์เริ่มจาก ความเป็นมาและสภาพปัญหา คือ "ทุกข์และสมุทัย" วัตถุประสงค์ สมมุติฐาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ "นิโรธ"   ส่วนวิธีการขั้นตอนการทำวิจัยคือ "มรรค"  


เมื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นนักข่าวจำเป็นจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสารเช่น “SMCR” และ “5W1H”  ธรรมชาติของข่าวทั้งแนวคิดทฤษฎีการสื่อสารโดยเฉพาะข่าวนั้นจะต้องตั้งอยู่บนฐานของข้อเท็จจริง ใหม่ สด เสมอ ซ้ำไม่เอา ปัจจุบันทันด่วน ทุกขณะ หรือปัจจุบันขณะ และต้องเครือข่าย ทั้งเฟซบุ๊กทวิตเตอร์ไลน์ เว็บไซต์เป็นต้น และจะต้องมีทักษะ 4 คือ สุ จิ ปุ ลิ ด้ ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการฟังมากกว่าคนพูดมาก คือฟังแหล่งข่าวอย่างตั้งใจ ถามให้ตรงประเด็น จิ คิดเป็นระบบ จุดจ่อ ลิ เขียนข่าวเป็น



พร้อมกันนี้จะต้องเข้่าใจทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติภาพบุรณาการกับหลักพุทธธรรมเช่นหลัก สัมมาวาจา อนูปวาโท วจีสุจริต ที่มีองค์ประกอบคือ จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์ประกอบด้วยเมตตา เสริมด้วยพุทธลีลาการแสดงธรรม  4 ประการ คือ (1) สันทัสสนา ชี้แจงให้เห็นชัด (2) สมาทปนา ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ (3) สมุตเตชนา เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า (4) สัมปหังสนาปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง โดยเฉพาะข้อ 4 ใช้บ่อยมากพาดหัวให้น่าสนใจ



จากพื้นที่การทำงานด้านข่าวดังกล่าว ส่งผลไปสู่การสร้างอนาคตสร้างพื้นฐานสำหรับคนรุ่นต่อไป ด้วยการเตรียมการเสนอโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา เรื่อง "กระบวนการพัฒนาการสื่อสารออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย"  มุ่งสร้าง "นวัตกรรม"   ตอบสนองแนวคิดของพระพรหมบัณฑิต  เคยกล่าวไว้ว่า "มีคนเข้ามาเรียนหลักสูตรธรรมนิเทศ (มจร) น้อยเพราะไม่มีนวัตกรรมใหม่  ดังนั้นควรมีเข้าเป้าเพื่อสร้างสื่อมวลชนของสงฆ์ขึ้นมาให้มากๆ" ดังนั้น วิทยานิพนธ์ ก็จะเป็นลักษณะโคนนิ้งหรือสร้างนักข่าววิถีพุทธให้เกิดขึ้นให้มากๆ ที่สามารถวิ่งตามหรือรู้ทันทุกข์ ความขัดแข้ง รุนแรง และสงคราม อยู่กับทุกข์อย่างมีความสุข เป็นพุทธสันติวิธีสร้างสันติสุขให้เกิดกับสังคมโลก แบบ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา สมกับ "นักข่าววิถีพุทธ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...