วันเสาร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560

แนะสันติศึกษา"มจร"สางขัดแย้งปม"มหาอภิชาติ"


ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ "มจร" แนะสันติศึกษาสางขัดแย้งทางสื่อออนไลน์ปม "มหาอภิชาติ" เพื่อให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  เสนอนำเด็กต่างศาสนามาเรียนรู้ร่วมกันดูต้นแบบที่กุฎีจีน


วันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2560 พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวบรรยายเรื่อง "การวิจัยเชิงพื้นที่ การประยุกต์พระพุทธศาสนา หลักการและวิธีการ" แก่ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัตการเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์ที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยความว่า ปัจจุบันรูปแบบในการวิจัยมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคไทยแลนด์ 4.0 มียุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 4 ยุทธศาสตร์ จากเราวิจัยเดิมๆ พัฒนามาเป็นนวัตกรรม เช่น ปัจจุบันเรามีความขัดแย้งในเฟชบุ๊กจำนวนมาก


"ในกรณีอดีตพระมหาอภิชาติ ปุณฺณจนฺโท ที่ถูกนิมนต์ให้ลาสิกขาหรือสิกขาเองก็ตามนั้น สังคมมีความขัดแย้งกันมาก ในฐานะที่เรามีหลักสูตรสันติศึกษาของมหาจุฬาฯ เราจะทำอย่างไรให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะเราไม่สามารถบอกได้ว่าศาสนาใดดีกว่ากัน สันติศึกษาจะเสนอมุมมองอย่างไร ? ให้คนมีความเคารพกันในความแตกต่าง ด้วยการแปลงมาเป็นนวัตกรรม เช่น การพูดคุยกัน การเสวนาทำความเข้าใจกัน ฝากหลักสูตรสันติศึกษาทำวิจัยลักษณะตอบโจทย์สังคมที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน


เพราะปัจจุบัน "ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ" มีจำนวน 4 ยุทธศาสตร์ คือ
1)การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่งคงทางเศรษฐกิจ
2) การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
3) การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานประเทศ
4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบุคลากรและระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ


มหาจุฬาฯ ต้องปรับตัวในการทำวิจัยเพื่อตอบโจทย์สังคมปัจจุบัน ทำอย่างไรมหาจุฬาฯจะสร้างนวัตกรรม เวลาทำวิจัยเรามักไม่สร้างนวัตกรรม เราทำพอผ่านหรือจบๆ เท่านั้น ซึ่งตอนนี้กำลังสร้างเตาเผาไร้ควันเป็นนวัตกรรมเพื่อใช้ในวัดต่างๆ ในการเผาศพโดยไม่มีควันเพราะจะนำไปสู่มลพิษหรือสารมะเร็ง รวมถึง เครื่องวัดคลื่นสมองเวลานั่งสมาธิในการดูคลื่นสมอง
นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมการวิจัยปี 60-64 โดยมีแนวคิดในการวิจัยเพื่อการปฏิรูปประเทศสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้น "การพัฒนาคนทางกาย พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา "งานวิจัยของเราจะไปอย่างไรในยุทธศาสตร์ชาติและกระบวนการของพระพุทธศาสนา สอดรับกับเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ 17 ประการ โดยยึดคุณภาพสังคม ความสุข ความยั่งยืน แล้วกระบวนการวิจัยของเราจะไปอย่างไร " เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพื่อตอบโจทย์องค์การสหประชาชาติ และตอบโจทย์แนวพุทธ " สิ่งสำคัญคือ การพัฒนาคน มหาจุฬาฯ

เราถนัดงานวิจัยเอกสารถือว่าเชี่ยวชาญมาก ซึ่งการวิจัยระดับยุทธศาสตร์ 3 ประการ คือ
1) " ศึกษาวิจัยจากเอกสาร ศึกษาวิจัยโดยการสอบถามความคิดเห็นเชิงสำรวจ สามารถตอบ What R from Data "
2) " ศึกษาวิจัยโดยการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สนทนากลุ่มวิพากษ์เชิงลึก วิจัยโดยการลงมือทดลองกับกลุ่ม ตัวอย่าง บางกลุ่มโดยใช้ความรู้และเทคนิคบางอย่าง กึ่งทดลอง ตอบ What Why R with Demo "
3) "ศึกษาด้วยการลงมือปฏิบัติร่วมกับผู้เกี่ยวข้องโดยการใช้ความรู้และเทคนิคบางอย่าง เป็นการวิจัยเชิงทดลอง และการลงมือการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเชิงปฏิบัติการ ตอบ R and Development "


การวิจัยของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาจุฬาฯ มี 11  รูปแบบ ผู้อำนวยการวิจัยพุทธศาสตร์เสนอว่าควร "ใช้การวิจัยแบบทดลองและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ " ในฐานะพระปราโมทย์ วาทโกวิโท เป็นนิสิตปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา เป็นความหวังของสังคมเมื่อเกิดความขัดแย้ง โดยสร้างการวิจัยเชิงทดลองและปฏิบัติการคือการนำสามเณร 4 รูป เด็กปอเนาะ 5 คน เด็กคริสต์ 5 คน มาเรียนรู้ร่วมกันในท่ามกลางความแตกต่าง วันแรกให้เด็กพูดหรือเขียนว่า อยากเห็นสันติภาพเกิดขึ้นในสังคมอย่างไร ? ฟังนักสันติภาพแนวกลาง เช่น พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร  พระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผอ.หลักสูตรสันติศึกษา  นายย์โคทม อารียา  ดร.สุรินทร์  พิษสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน พาไปดูงานกุฏีจีน การอยู่ร่วมกันระหว่างพุทธ คริสต์ อิสลาม แล้วนำมาสรุปร่วมกัน ว่าอยากเห็นความสงบเกิดขึ้นอย่างไร ? ให้เด็กเขียนโครงการที่อยากจะทำ แล้วมีการติดตามนี่คือ "นวัตกรรมของสันติศึกษา " จะเกิดความยั่งยืนเพราะเห็นมุมมองของกันและกัน เพราะเรียนรู้กันและกัน สร้างความเข้าใจกัน


เราจะต้องไปเรียนรู้จากภายนอกคือ ศาสตร์สมัยใหม่ จะเห็นมิติความแตกต่าง เช่น ครูอาจารย์มหาจุฬาฯจบจากภายนอกแล้วมาพัฒนามหาจุฬาเช่น หลายรูปจบปริญญาโทจากมหาวิทยาธรรมศาสตร์ อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐก็จบมาจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การวิจัยหมายถึงกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อความรู้และนวัตกรรม มี 5  ขั้นตอน เช่น ศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารแล้วสรุปองค์ความรู้เท่านั้น   การวิเคราะห์จากเอกสาร ค้นหาข้อเท็จจริง ข้อมูลความคิดเห็น ปริมาณหรือคุณภาพ สร้างความรู้+กระบวนการ ทดลองทดสอบ สรุปเป็นองค์ความรู้แนวปฏิบัติที่เหมาะสม ซึ่งอยากจะให้มหาจุฬาพัฒนามาถึงขั้นที่ ๕ การวิจัยกระบวนการ คือ " คุณธรรม ความสุข ความรู้ การเรียนรู้ ทักษะ ความเสมอภาค "สู่การพัฒนาแบบยั่งยืน กระบวนการ LIST MODEL มี 3 ประการ


1) "Learning การเรียนรู้" เราจะเรียนอะไร? เรียนรู้กับใคร ? เรียนรู้อย่างไร ? ผลของการเรียนคืออะไร ? เพราะปัจจุบันสังคมไทยเราเรียนรู้แล้วจบ แล้วจะทำอย่างไร ? เช่น งานวิสาขบูชาจัดมา 14 ครั้ง เกิดการเรียนรู้มิติร่วมกันกันนานาชาติสร้างเครือข่าย  2) "Innovation นวัตกรรมและการสร้างสรรค์" จึงมีการผลิตพระไตรปิฏกฉบับสากลมหายาน วัชรยาน เถรวาท ทำพระไตรปิฏกร่วมกัน เกิดนวัตกรรม ร่วมถึงการสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ Ibsc ก็เกิดมาจากวิสาขบูชาโลก 3) "Sustainable action ความยั่งยืน" ด้วยการเกิดความยั่งยืนในสิ่งที่ทำร่วมกัน 4) "Transformation การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการอยู่ร่วมกัน


ฉะนั้น ในการวิจัยเราต้องสามารถตอบโจทย์ 4 ประการ คือ 1) เรียนรู้เรื่องอะไร  2) เรียนรู้กับใคร 3) กระบวนการเรียนรู้เป็นอย่างไร 4) ผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร


ฉะนั้น ถ้าเราจะพัฒนาวิทยากรต้นแบบถือว่าเป็นนวัตกรรมบริการ สร้างความยั่งยืนด้วยศาสตร์สมัยใหม่ จึงมีการเปลี่ยนแปลงสู่การบูรณาการ สรุป คือ การพัฒนาคน ปัจจุบันเราแค่เรียนรู้จำนวนมากงานวิจัยแบบนี้ แต่เราไม่สร้างความยั่งยืนจึงไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันสังคมเรามีการเปลี่ยนแปลงเราต้องตามให้ทัน แต่ต้องมีฐานพุทธ ท่านอธิการบดีมหาจุฬา กล่าวว่า สร้างมหาจุฬาวังน้อย คือ "  10 ปีแรก สร้าง ฮาดแวร์ เป็นอาคารสถานที่ ส่วน 10  ปีหลัง จากพ.ศ.2560  ต่อจากนี้ไปเราจะสร้างซอฟแวร์ คือ สร้างองค์ความรู้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์สังคม "

...................................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...