วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

แนะพระฝึกทักษะการสื่อสารดูงานสำนักพิมพ์






ยกพระพุทธเจ้าต้นแบบนักวิจัยระดับโลก ส่งผลฐานวิถีพุทธสู่มาตรฐานการศึกษาสากล  นักวิชาการอิสระแนะวงการคณะสงฆ์ยกระดับสากลด้านภาษาอังกฤษ ฝึกทักษะการฟังและการอ่านรวมถึงการสื่อสาร ควรดูงานสำนักพิมพ์ทีวีต่างๆ


วันที่ 2 ก.ย.2560 พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า จากการสัมมนาวิชาการหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภายใต้หัวข้อ " การบริหารการศึกษาวิถีพุทธสู่มาตรฐานการศึกษาระดับสากล" บรรยายโดย ศ.ดร.อุทิส ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระ แบ่งปันการทำงานวิจัยการทำงานวิชาการอย่างไร? จะสู่มาตรฐานการศึกษาระดับสากล ถือว่าเป็นมิติใหม่ของครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ ในการเข้าสู่การศึกษาระดับสากล ประเด็นสำคัญจากการรับฟัง คือ เมื่อเราฝึกตนเองให้เป็นทองแท้ไม่ต้องกลัวไฟ


คนแท้ไม่ต้องกลัวอุปสรรคเหมือนกัน แต่จงเรียนศึกษาให้มากๆ ต้องให้มีปริญญาซ่อนอยู่ในปริญญา หมายถึงมีความหลากหลายด้านการศึกษาทุกศาสตร์ เหมือนเราอยากจะเก่งภาษาอังกฤษต้องไปฝังตัว ภาษาอังกฤษเป็นทักษะ เน้นทักษะการฟังและพูดจะทำให้เราสื่อสารได้ ฝึกทำอะไรยากๆ สูงๆ เข้าไว้ก่อนเพื่อการเติบโตในอนาคต การเรียนด้านการศึกษาทำให้เรามีเสน่ห์



การเลือกทำงานวิจัยจึงต้องที่มีคุณค่าและคุณภาพต่อตนเอง ชุมชน สังคม ประเทศ และนานาชาติ การเลือกจะทำงานวิจัยต้องมองให้รอบด้าน ฝึกเป็นคนมีเครือข่ายมาก ๆ สร้างเครือข่ายในการทำงานวิจัย ใครที่มีเครือข่ายจะชนะทุกอย่าง เพราะพลังเครือข่ายมีความยิ่งใหญ่ งานวิจัยวิถีพุทธจะสู่มาตรฐานสากลจะต้องลงสนามในประเทศก่อน เป็นการลองผิดลองถูกก่อน เราต้องอ่านหนังสือเยอะๆ เพราะเป็นฐานสำคัญ จึงยกสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เป็นต้นแบบนักอ่านอย่างแท้จริง ยิ่งอ่านมากยิ่งแตกฉาน เราต้องพยายามคุยหรืออ่านงานของบุคคลต้นแบบ เช่น งานของอธิการบดี มจร งานของอาจารย์บรรจบ บรรณรุจิ  งานอาจารย์สมภาร พรมทา เป็นต้น


เราต้องเป็นนักอ่าน เพราะการอ่านเป็นการเปิดดวงตาแห่งปัญญา ต้องเป็นนักเรียนรู้ บำเพ็ญตนแห่งการเรียนรู้ทุกรูปแบบ แนะนำให้นิสิตใช้ภาษาอังกฤษเป็นวิถีชีวิต ลงทุนจ้างเจ้าของภาษาฝึกทักษะภาษาอย่างต่อเนื่อง เราต้องไปดูงานหลากหลายมิติเช่น ไทยรัฐ อมรินทร์ทีวี อื่นๆ มากมาย ไปเรียนรู้จากบุคคลในระดับสากล ต้องให้นิสิตมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติใหม่ๆ แต่เรามีฐานพุทธเป็นราก


"ฉะนั้น พระพุทธเจ้ามีงานวิจัยกี่ชิ้น? พระพุทธเจ้าใช้อริยสัจเป็นเครื่องมือการวิจัย จนคำสอนมาถึงพวกเราในปัจจุบันนี้ จึงเห็นมิติของการศึกษาในระดับครุศาสตร์สู่สากล โดย รศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ รองคณบดีครุศาสตร์ หลักสูตรพุทธบริหารการศึกษา มีวิสัยทัศน์ในการเปิดโลกกว้างด้วยกระบวนการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับนานาชาติ ถือว่าเป็นมิติใหม่ด้านการศึกษากระบวนการวิถีพุทธสู่ระดับสากล ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำวิจัย" พระอาจารย์ปราโมทย์  กล่าว


..................................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...