วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

ชี้ศาสนาสั่นคลอนเหตุพระไม่นำธรรมมาใช้ได้จริง




หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเตรียมพร้อมปฏิบัติการงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแดนพุทธภูมิ รุ่นที่ 3 ชี้เหตุศาสนาสั่นคลอนเพราะพระไม่สามารถนำคำสอนมาใช้ได้



วันที่ 18  กันยายน 2560  ที่อาคารสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย วัดไทยพุทธคยา พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล เมตตาเป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเตรียมพร้อมปฏิบัติการงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในแดนพุทธภูมิ รุ่นที่ 3  น้อมเกล้าญ ถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูล รัชกาลที่ 10



หัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาลได้ให้โอวาทธรรมแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนามีใจความสำคัญดังนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาความว่า พวกเราเป็นบุคคลผู้ฝึกฝนอบรมตนย่อมเป็นผู้นำตนเอง การที่เราจะตั้งไม้ตั้งมืออย่างเดียวย่อมไม่ประสบความสำเร็จได้ จะต้องตั้งอกตั้งใจจึงจะสำเร็จได้ งานของพระธรรมทูตเป็นงานของพระอรหันต์ เป็นคำพูดที่บริสุทธิ์ จะต้องมีการเตรียมความพร้อมด้วยการฝึกตน



การบรรยายของพระวิทยากรจะต้องตั้งอกตั้งใจ เพราะเป็นงานของพระอรหันต์เป็นงานศักดิ์สิทธิ์ ในการที่ประกาศศาสนาหากปากไม่ดีจริง พระธรรมจะกลายเป็นหลักกรรม อุปมาเหมือนขนไก่ถูกไฟ ดึงเข้ามาเมื่อไหร่ถือว่าเป็นกรรมขอผู้ประกาศ เพราะฉะนั้นจึงต้องฝึกตน ผู้สอนธรรมจึงเป็นธรรมมาจารย์ คือปั้นพระด้วยหลักธรรม



โครงการสัมมนานี้เป็นการปรารภของหลวงพ่อพระสุเมธาธิบดี อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์เป็นผู้จุดประกาย ประเทศชาติต้องมีความมั่นคง พระศาสนาต้องมั่นความมั่นใจ สถาบันต้องมีความมั่นหมาย ทรงความมั่นหมายไว้ในดวงใจให้พสกนิกร งานของพวกเราเกี่ยวเนื่องกับความศักดิสิทธิ์มีฤทธิ์ให้เขาได้อย่างไร บางคนท่องมาอย่างไรพูดได้อย่างนั้น บางคนท่องมาแต่นำมาใช้ไม่ได้ ที่ศาสนาเราสั่นคลอนทุกวันนี้เพราะเราไม่สามารถนำคำสอนมาใช้ได้ เพราะคำสอนนั่นเป็นของพระอริยเจ้าที่นำมาใช้เพื่อปฏิบัติจริง


ดังนั้นเราจึงพลาดไม่สามารถนำมารักษาศรัทธาโยมไว้ได้เพราะปฏิบัติไม่จริง ดังนั้นเราจึงต้องฝึกตน พูดให้เขาฟังพูดอย่างไรก็ได้ แต่พูดให้เขาเชื่อต้องพูดจากการปฏิบัติจริง พระที่จะทำการเผยแผ่ได้ดีต้องมีหลัก มีกรรมฐาน นำมาใช้ การที่จะเผยแผ่ศาสนานั้นจิตที่คิดจะให้จึงเบา หากคิดจะเอาหนัก พระธรรมวิทยากรที่ดีเพราะมีแบบแผนทางเดิน จึงขออนุโมทนาแด่ ดร.สุรวงค์ วัฒนกูล และคณาจารย์พระธรรมวิทยากรทุกรูป/คน


พร้อมกันนี้พระครูนิโครธบุญญากร (พระมหา ดร.ปรีชา กตปุญฺโญ , ป.ธ.๕ , ศน.บ. , M.A. , Ph.D) เป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อ "ถอดรหัสสารพัดปัญหา" มีใจความสำคัญดังนี้ คือถอดรหัส คือการแปลความหมายได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ตรงประเด็น ตามเป้าหมายที่วางไว้สารพัด คือทุกสิ่งทุกอย่างที่ผสมผสานมากมายหลายอย่างเข้าด้วยกัน ปัญหา คืออุปสรรคสิ่งขัดขวางระหว่างการทำงานทั้งที่เป็นหลักการ วิธีการ เหตุการณ์ สถานการณ์ รวมถึงตัวบุคคล อันเป็นเหตุขัดข้อง อึดอัดใจ ให้แก่พระธรรมวิทยากร ถอดรหัสสารพัดปัญหา คือ อุบายแก้ไขอุปสรรคให้ทุเลาเบาลง หรือขจัดให้หมดสิ้นไป เพื่อให้งานการเผยแผ่ดำเนินการไปได้ด้วยดีมีคุณค่า


การบริหารจัดการเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อวางงานอย่างเป็นระบบ ครบถ้วนสมควรด้วยเหตุผล ทั้งบุคคล เวลา และสถานที่ จำแนกเป็น 4 คือ 1.บริหารตน คือการวางตนในฐานใด กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ 2.บริหารคนที่มา คือรู้ว่า ใคร จากไหน ตำแหน่งอะไร เหมาะสมไหม 3.บริหารเวลา คือรู้กาล กี่ชั่วโมง ทำอะไร เรื่องอะไร เวลาเท่าใด "เวลาน้อยนิด แต่ตรึมใจ ติดใจนาน เวลาเนิ่นนาน แต่เบิกบานสำราญใจ" 4.บริหารอารมณ์ คือหมั่นสังเกตบรรยากาศรอบด้าน "บรรยากาศดี เติมสีสันให้บันเทิงจิต บรรยากาศหงุดหงิด หมั่นสะกิดใจให้บรรเทา


พิธีการในการที่พระธรรมวิทยากรนพลงพื้นที่ อย่างมีขั้นตอน เป็นระเบียบ "เริ่มต้นมีมนต์ขลัง ตอนกลางน่าเลื่อมใส ตบท้ายมั่นใจในบุญ อบอุ่นด้วยเสียงธรรม ดื่มด่ำด้วยเสียงมนต์ ท่วมท้นด้วยปีติ สุดยอดในพิธีกรรม และพระธรรมวิทยากรต้องมีจิตวิญญาณแห่งนักเผยแผ่ มีสุขภาพที่ดี มีการประสานงาน มีจรรยาบรรณ มีเทคนิคในการนำเสนอ เป็นต้น


พระครูปลัดเฉลิมชาติ ชาติวโร เจ้าอาวาสวัดสิทธารถราชมณเฑียร เลขานุการหัวหน้าพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย-เนปาล บรรยายในหัวข้อ "พระธรรมทูตพุทธองค์" พระธรรมทูตพุทธองค์ โดยท่านได้นำเสนอในการบรรยายในวันนี้ ไว้ ๕ ประเด็นสำคัญ ในการเป็นนักเผยแผ่ พระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ
1. ลึกซึ้งในพุทธคุณ 2. รู้ให้ลึก รู้ให้ถึงจริง  3 . หลักการแสดงธรรม 5 ต้องมาให้ครบ 4. วางตนให้เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา 5. อย่าหาเรื่องให้อินเดีย เป็นต้น




...............

(หมายเหตุ : ข้อมูลจากเฟซบุ๊กวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...