วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561
"มจร"จัดวันบูชาครู ชูศิษย์เก่าผลงานเด่น เติมรู้ยอดนวัตกรรม
วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เวลา ๙.๐๐ น. พระราชวรเมธี, รศ.ดร. รก.รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มจร, ประธาน คปพ., ผจล.วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นประธานกรรมการคณะจัดงาน "วันบุรพาจารย์ และการจัดการความรู้" ประจำปี ๒๕๖๑ จัดโดยมหาวิทยาลัย ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่า มจร ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ในการจัดงานครั้งนี้ มีพระเดชพระคุณพระธรรมปัญญาบดี นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นองค์ประธานในพิธีกล่าวเปิดงานและมอบโล่รางวัล โดยภาคเช้า มีการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่บุรพาจารย์ ภาคบ่าย มีการรดน้ำขอพรอาจารย์อาวุโส และมอบโล่รางวัล/เกียรติบัตรแก่ศิษย์เก่าดีเด่น หน่วยงานที่ส่งผลงาน KM และนักกีฬา ตามลำดับ
มหาจุฬาฯสอนให้พึ่งตนเองได้แล้วเป็นที่พึ่งของผู้อื่น
พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ได้ร่วมงานวันบุรพาจารย์และการจัดการความรู้ประจำปี ๒๕๖๑ ของมหาจุฬา ซึ่งเป็นการแสงความกตัญญูต่อบุรพาจารย์ของมหาจุฬา ที่พัฒนาสถาบันอันชื่อว่ามหาจุฬาจนเจริญก้าวหน้ามาถึงทุกวันนี้ เริ่มตั้งแต่ผู้สถาปนามหาจุฬาคือ สมเด็จพระปิยมหาราชรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศ ร่วมถึงทรงให้คณะสงฆ์ช่วยจัดการศึกษา ด้วยการเปิดโรงเรียนทั่วประเทศในวัด ให้พระสงฆ์ช่วยสอนหนังสือลูกหลาน เป็นระบบการศึกษามีการเชื่อมบ้านวัดโรงเรียน และมีการเกิดขึ้นของบุรพาจารย์มาตามลำดับในการพัฒนาของมหาจุฬา
ฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนิสิตมหาจุฬาตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มองว่ามหาจุฬาเป็นสถานศึกษาวิชาชั้นสูงยกระดับจิตใจให้สูง โดยการศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง เปิดโอกาสบุคคลทุกชนชั้นที่ใฝ่เรียนรู้แสวงหาความรู้ทางธรรมและทางโลก ด้วยการพุทธบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ "ทางโลกก็ไม่ช้ำ ทางธรรมก็ไม่เสีย" สิ่งที่ได้ศึกษาจากมหาจุฬา เป็นปริญญาวิชาชีวิต เรียนธรรมะของพระพุทธเจ้าเพื่อพัฒนาชีวิตมีการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อทำให้ศาสนามีชีวิตชีวาในการเรียนรู้มากขึ้น ทำให้เราได้ปริญญาวิชาชีวิต เรียกว่า " พึ่งตนเองได้ จนเป็นที่พึ่งของคนอื่น " จัดการบริหารจิตใจของตนเอง ก่อนจะออกไปช่วยเหลือคนอื่น นี่คือเสน่ห์ของบัณฑิตมหาบัณฑิตดุษฎีบัณฑิตของมหาจุฬา
โชว์"สุดยอดนวัตกรรมมหาจุฬา"
นอกจากนี้ได้เยี่ยมชมสุดยอดนวัตกรรมแห่งความรู้ของมหาจุฬา เสน่ห์ของงานในครั้งนี้คือ "การจัดความรู้" ของหน่วยงานต่างๆ เพื่อการเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานของมหาจุฬา เท่ากับเป็นวันการจัดการความรู้หรือเรียกว่า KM DAY ตลอดระยะยาวนานมหาจุฬาได้สะสมภูมิปัญญาขององค์กรสะท้อนวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง การจัดการความรู้จัดการปัญญาจึงมีความสำคัญ ทำไมต้องมีกระบวนการของ KM เพราะเป็นการรวบรวมจากตัวบุคคล แบบปัจเจกปัญญามาพัฒนาให้เป็นระบบสาธารณปัญญา นำความรู้จากตัวบุคคลมาถ่ายทอดเป็นเอกสารหนังสือตำรา สื่อต่างๆเพื่อบุคคลอื่นได้เรียนรู้
"ความรู้ (knowledge)กับปัญญา (Wisdom)นั้นมีความต่างกัน มหาจุฬาเป็นผู้นำด้านปัญญา ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ (Information plus experience to act upon) ส่วนปัญญา Wisdom คือความรอบรู้ ความรู้ลึก ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด (Ability to discern inner qualities and relationships -insigeht) เช่น ไตรลักษณ์ อริยสัจ แก้ปัญหาด้วยนวัตกรรม เป็นการนำมาแก้ปัญหาจริงๆ ปัญญาต้องนำมาแก้ปัญหาเป็นนวัตกรรม ซึ่งท่านพระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. รักษาการอธิการบดีมหาจุฬาเคยกล่าวว่า มหาจุฬาในปัจจุบันจึงเป็น ๔.๐ เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ กำเนิดวิสัยทัศน์และปรัชญา "ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนานานาชาติ " มีการก่อตั้ง IBSC จัดตั้งสถาบันภาษา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ศูนย์อาเซียนศึกษา วิทยาลัยพระธรรมทูต และมีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล เพื่อวางในโรงแรมทั่วโลก นานาชาติแปลเป็นภาษาแต่ละประเทศ มหาจุฬาพิมพ์เป็นภาษาไทย" พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวและว่า
ดังนั้น อะไรที่จะทำให้มหาจุฬาเจริญรุ่งเรืองก็เพราะความสามัคคีของบุรพาจารย์จึงมาถึงปัจจุบัน การจัดความรู้จึงเป็นโอกาสดีอันยิ่งที่จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาในฐานะนิสิตก็ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาตน เพราะ "คนฉลาดเรียนรู้จากความผิดพลาดของตน แล้วนำมาแก้ไข แต่คนฉลาดกว่า เรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่นแล้วนำมาแก้ไข โดยไม่ต้องรอให้ตัวเองผิดพลาด " จึงขอแสดงความยินดีกับครูอาจารย์ทุกรูปท่านที่ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นของมหาจุฬา ซึ่งจะแรงบันดาลใจให้รุ่นต่อไป
...............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=1849&cat=A&table=newsและเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"สมเด็จชิน" เปิดสอบนักธรรมชั้นโท-เอก ชี้ชาวพุทธต้องเข้าถึง "3 ป." ให้สมบูรณ์ - แนะปรับรูปแบบให้เข้ากับยุค AI
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เป็นวันแรกของการสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้น โท-เอก ประจำปีการศึกษา 2567 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมา...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น