วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

"หลักสูตรสันติศึกษา มจร" เปิดฝึกอบรม “ทักษะการจับประเด็นเพื่อการสื่อสารสร้างแบรนด์ กระบวนการคิดเชิงระบบตามแนวทางพุทธสันติวิธี”



วันที่ ๑๗ มกราคม  ๒๕๖๖  ห้องพุทธเมตตา หลักสูตรสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยขอพิพาทภาคประชาชน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ผู้อำนวยการหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมหลักสูตร “ทักษะการจับประเด็นเพื่อการสื่อสารสร้างแบรนด์ กระบวนการคิดเชิงระบบตามแนวทางพุทธสันติวิธี” พร้อมบรรยายพิเศษ “การเขียนเพื่อการสร้างแบรนด์และทักษะการจับประเด็นโดยพุทธสันติวิธี”  โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ ๒๐ รูป/คน   จึงมองประเด็นสำคัญว่า  

การเขียนจะต้องเริ่มจากเขียนเพื่อเป็นมากกว่าเขียนเพื่อเอา ซึ่งการเขียนเพื่อจะเอาจะมีเงื่อนไขบางอย่างที่คนอื่นกำหนดขึ้นหรือเราต้องการ แต่การเขียนเพื่อเป็นถือว่าเป็นการเขียนที่เกิดจากแรงบันดาลใจภายใน เขียนเพื่อการสร้างแบรนด์ของตนเองและภาพลักษณ์องค์กร จะต้องมองว่าตนเองมีCharacter อย่างไร จงฝึกเป็นคนกัดไม่ปล่อย เขียนเรื่องที่เราถนัด เรื่องที่ชอบ เรื่องที่ทำได้กว่าคนอื่น เรื่องที่สังคมต้องการ เรื่องที่สร้างคุณค่ามูลค่า เรื่องในสิ่งที่เป็นเรา จะต้องประดิษฐ์ตนเองใหม่ด้วยปรับตัว เรียงลำดับความสำคัญ การบริหารเวลาในการเขียนด้วยการเป้าหมายแล้วมีวิธีการที่นำไปสู่เป้าหมาย สิ่งสำคัญต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่าหงุดหงิดกับข้อมูล จึงต้องตระหนัก Nanodegree ศึกษาเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นและศึกษาข้อมูลที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ จึงต้องมีห้องสมุดส่วนตัวสอดรับ Oasis เป็นแหล่งน้ำกลางทะเลทรายแหล่งความสุข จึงต้อง SUMMARY เป็นการย่อ สั้น รวบรัด สุดสำคัญ สรุปโดยย่อ ใจความสรุป จึงต้องหาประเด็น มีประเด็น เป็นประเด็น จับประเด็น แตกประเด็น ตอบประเด็น โดยฝึกถอดบทเรียนหนังสือ “ฟังเยอะเป็นนักพูดที่เก่ง อ่านเยอะเป็นนักเขียนที่เก่ง” 

ทักษะการจับประเด็นเกิดจากการฟัง การการอ่าน จากการวิเคราะห์  จากการลงมือทำลงมือปฏิบัติ ผู้เขียนจึงต้องมีอารมณ์และความรู้สึก โดยเทคนิคการเขียนจับประเด็นจะต้องศรัทธาอย่างแรงกล้า  มีอิทธิบาทอย่างแรงกล้า มีสติสมาธิขั้นสูงพร้อมแนวทางการใช้เทคโนโลยี สามารถจับประเด็นเรียกว่า กระดาษหนึ่งใบเข้าใจประเด็น  โดยการจับประเด็นต้องใชสติสมาธิเป็นฐาน การเขียนจึงต้องสร้างแรงบันดาลใจมาจาก Spirare หมายถึงลมหายใจ ซึ่งปราศจากลมหายใจไม่มีชีวิต โดยชีวิตปราศจากแรงบันดาลใจลมหายใจไร้ความหมาย ซึ่งแรงบันดาลใจอาจจะเกิดจากสิ่งที่รักและหาสิ่งที่เกลียด จะต้องพัฒนาตนเองไปสู่หนึ่งที่ กับ  ที่หนึ่ง “จงเสพในสิ่งที่อยากสร้าง จงเสพในสิ่งที่อยากเขียน” ซึ่งระดับการเขียนจึง “เสพมาเขียน และ สร้างมาเขียน” ด้วยการเสพเรื่องราวสร้างงานเขียน เป็นการเขียนจนมีอารมณ์ งานเขียนจะต้องมี P ประกอบ Planning  Processing  Presenting  การเขียนจะต้อง “หลงใหล หมกหมุ่น  อธิษฐานบารมี อธิษฐานบารมี โฟกัสให้เวลา ปรารถนาแรงกล้า” การเขียนคือทักษะการเขียนคือผู้สร้างซึ่งอะไรที่เป็นทักษะทุกคนฝึกฝนได้ การเขียนถ่ายทอดคุณค่าผ่านอักษร จงเขียนหนังสือเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้ผู้คนแล้วผู้คนจะจ่ายเพื่อแก้ปัญหาพวกเขาเอง โดยผู้เสพ คือ ทักษะการฟัง  ทักษะการอ่าน ผู้สร้างคือ ทักษะการพูด ทักษะการเขียน ซึ่งกฎของผู้สร้างคือการลงมือปฏิบัติ ซึ่งโลกจดจำผู้สร้างมากกว่าเสพ เสพคือการรับการสร้างคือการให้ เพราะตามกฎของกฎของโลกแล้ว ทรัพย์จะไปหาผู้สร้างมากกว่าผู้เสพ โลกจ่ายเงินตามความสามารถในการตอบโจทย์ชีวิตผู้อื่น “จงเป็นเราในแบบของเรา ไม่ใช่แบบที่เขาอยากให้เป็น” การจะมีแรงบันดาลใจจะต้องเดินตามพละ ๕ ทางพระพุทธศาสนา คือ ศรัทธาพละ วิริยะพละ  สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ โดยนักเขียนที่ดีอย่าเป็นเพียง Control V  แต่ต้องพัฒนาไปสู่การลงมือปฏิบัติ การเขียนจะต้อง “ค้น คว้า คีย์ คลุก คิด คลุม คม คลอด” การเขียนจะต้องเขียนทางโลกบูรณาการเขียนทางธรรม โดยการเขียนจะต้องเขียนทั่วไป เขียนดราม่า และเขียนคุณค่า จงหาคุณค่าจากดราม่าให้เจอ 

การเขียนสร้างแบรนด์เป็นการสร้างภาพลักษณ์แต่ต้อง Momentum แรงเคลื่อนไหวจังหวะการเขียน โดยมีแรงปรารถนาอย่างแรงกล้า จากปัจเจกปัญญาไปสู่สาธารณ

ปัญญานำไปสู่การแบ่งปัน จะต้องขายตัวเองให้ได้ก่อนขายสินค้า จงสร้างการรับรู้อย่าเพียงให้เขารับรู้ว่าเราเป็นใครเท่านั้น แต่จงสร้างความรู้สึกว่าทำไมแบรนด์ของเราจึงสำคัญ ด้วยการสร้างความแตกต่าง สร้างคุณค่า สร้างอัตลักษณ์ สร้างแบรนด์ โดยนักเขียนวิถีใหม่จะต้องเขียนแบบUpload และเขียนแบบDownload ซึ่งสร้างแบรนด์สู่นวัตกรรมด้วย So what ซึ่งเกิดพุทธนวัตกรรม สันตินวัตกรรม และ Model งานเขียนเกิดคุณค่าและมูลค่า ซึ่ง Model ในการจับประเด็นแรงบันดาลใจการเขียน ๖ M ประกอบด้วย Mind  Mindfulness Mindset  Mind Map  Milestone จงให้การเขียนเป็นการสร้างแบรนด์ให้กับชีวิตและการทำงานของเรา 

โดยย้ำว่า ทุกครั้งที่เขียนจะต้องคำนึงว่า  ๑)ไม่เขียนว่าร้ายใคร โดยกระทบธรรม ไม่กระทบคน ๒)ศีลข้อที่ ๔ เคารพในการสื่อสาร เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่บลูลี่ ๓)มีปิยวาจา สัมมาวาจา วจีสามัคคีเป็นฐาน  ๔)ไม่ใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในการสื่อสารทุกช่องทาง ๕)จริง   ไพเราะ   เหมาะกาล   ประสานสามัคคี  มีประโยชน์  และประกอบด้วยเมตตา  เป็นวาจาสุภาษิต การเขียนเกิดพลังใจ โดยการเขียนจะต้องระวังการส่อเสียดบุคคล ประกอบด้วย  ๑)ชาติกำเนิด  ๒)ชื่อ  ๓)ตระกูล  ๔)หน้าที่การงาน   ๕)ศิลปวิทยา การศึกษา  ๖)ความเจ็บไข้  ๗)รูปลักษณ์  ๘)กิเลส  ๙)คดีความ  ๑๐คำด่า โดยการเขียนจะต้องมี ๓ P. เป็นฐานประกอบด้วย ๑)Planning  ประกอบด้วย วางแผนการเขียน มองภาพใหญ่ของงานเขียน มองภาพกว้างของงานเขียน งานเขียนนี้เขียนเพื่ออะไร อย่างไร ๒) Processing  ประกอบด้วย  ประมวลผล อะไรไข่แดงของงานเขียน  อะไรเป็นหัวใจสำคัญของงานเขียน เรียงลำดับความสำคัญในการเขียน เขียนต้นน้ำ เขียนกลางน้ำ เขียนปลายน้ำ ๓) Presenting  ประกอบด้วย  ทักษะการนำเสนอและทักษะการเขียน  มีความทันสมัย บูรณาการ จังหวะเขียน  ถูกต้องตามกระบวนการวารสารสันติ และส่งมอบให้ผู้อ่านสามารถนำไปต่อยอด จากนั้น ดร.จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร แลกเปลี่ยนทักษะการจับประเด็นขั้นฟรีเมี่ยม  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: หลักสูตรนักธรรมตรียุคเอไอ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ 1. คำนำ ความสำคัญของการศึกษานักธรรมในสังคมไทย ความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัลแ...