เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า จากกระแสเร่งด่วนทางจิตใจ โดยไม่น่าเชื่อว่าเหงาจะส่งผลขนาดนี้ ล่าสุดโดย WHO ประกาศให้ “ความเหงา” เป็นภัยคุกคามสุขภาพทั่วโลกเร่งด่วน โดยอันตรายของความเหงาต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วันละ ๑๕ มวน
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งคณะกรรมาธิการนานาชาติเกี่ยวกับปัญหา “ความเหงา” นำโดยนพ.วิเวก มูรธี ศัลยแพทย์ใหญ่สหรัฐฯ และชิโด เอ็มเปมบา ทูตด้านเยาวชนของสหภาพแอฟริกา รวมถึงนักเคลื่อนไหวและรัฐมนตรีอีก ๑๑ คน เช่น ราล์ฟ เรเกนวานู รัฐมนตรีกระทรวงการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของวานูอาตู และอายูโกะ คาโต้ รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมาตรการเกี่ยวกับความเหงาและการแยกตัวจากสังคมของญี่ปุ่น
การตั้งคณะกรรมาธิการนี้มีขึ้นหลังจากที่การระบาดของโรคโควิด-๑๙ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมหยุดชะงัก ส่งผลให้ระดับความเหงาเพิ่มสูงขึ้น แต่รวมถึงกระแสตื่นตัวที่เกิดขึ้นใหม่เกี่ยวกับความสำคัญของปัญหาดังกล่าว โดยคณะกรรมาธิการชุดนี้จะปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา ๓ ปี
เอ็มเปมบาระบุว่า “ความเหงาไม่มีพรมแดน และกำลังเป็นความกังวลด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สวัสดิภาพ และพัฒนาการในทุกด้าน การแยกตัวจากสังคมไม่แบ่งอายุหรือพรมแดน” ขณะที่มูรธีบอกว่า อันตรายของความเหงาที่มีต่อสุขภาพเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่วัยละ ๑๕ มวน และยิ่งร้ายแรงกว่านั้นเมื่อเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและการขาดกิจกรรมทางกาย
มูรธีเสริมว่า แม้ว่าความเหงามักจะถูกมองว่าเป็นปัญหาของประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ทั่วโลกมีผู้ใหญ่ ๑ ใน ๔ ที่มีปัญหาแยกตัวจากสังคม เหมือนๆ กันในทุกภูมิภาค ในผู้ใหญ่ ความเหงามีส่วนทำให้ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น ๕๐% และโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น ๓๐% แต่ความเหงาส่งผลต่อชีวิตของคนหนุ่มสาวเช่นกัน โดยงานวิจัยเมื่อปี ๒๐๒๒ ระบุว่า วัยรุ่น ๕-๑๕ % มีภาวะเหงา ซึ่งตัวเลขที่แท้จริงอาจสูงกว่านี้ ขณะที่ในแอฟริกา มีวัยรุ่น ๑๒.๗ % มีปัญหาเรื่องความเหงา เทียบกับ ๕.๓% ในยุโรป
คนหนุ่มสาวที่มีปัญหาความเหงาที่โรงเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย ความเหงายังนำมาซึ่งผลผลิตทางเศรษฐกิจที่ลดลง ความรู้สึกแปลกแยกและไม่ได้รับการสนับสนุนในงานอาจนำไปสู่กับความพอใจและประสิทธิภาพในการทำงานที่แย่ลง
เอ็มเปมบาระบุว่า ทั่วทวีปแอฟริกา ที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ปัญหาเรื่องความสงบ ความมั่นคง และวิกฤตด้านสภาพอากาศ รวมถึงการว่างงานที่สูง ล้วนมีผลต่อการแยกตัวจากสังคม ในขณะที่มูรธีเสริมว่า “ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ความเหงาคือภัยคุกคามด้านสาธารณสุขที่ได้รับตระหนักถึงน้อยเกินไป”
จากสะท้อนมิติของความเหงาดังกล่าวถึงได้มุ่งเตรียมออกแบบหลักสูตรระยะสั้นเพื่อป้องกันความเหงา ผ่านพุทธสันติวิธีเครื่องมือการป้องกันแก้ไขเยียวยารักษาความเหงา ภายใต้หลักสูตร "ป้องกันใจเหงาตามแนวพุทธสันติวธี" เพร่ะมองว่า ปัจจุบันคนใจเปราะบางซึ่งในสภาวะจิตหนึ่งทุกคนสามารถฆ่าคนอื่นและตนเองได้ โดยเป็นภาวะที่เจ็บปวดการบีบบังคับกดทับนำซึ่งการใช้ความรุนแรง จึงต้องมุ่งเชิงนโยบายพัฒนาจิตใจอย่างจริงจังเมื่อโดนดิ้นดันดับ
การดูแลจิตใจของตนเองให้บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะเอาใจตนเองอยู่ก็เอาทุกอย่างอยู่ สามารถควบคุมได้เมื่อเจอสิ่งที่มากระทบ การฝึกภายในคือพัฒนาจิตใจจึงมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่อะไรก็เกิดขึ้นได้
จึงมีคำกล่าวว่า "ในสภาวะจิตหนึ่งทุกคนสามารถฆ่าคนอื่นและฆ่าตนเองได้" เมื่อเจอสภาวะที่มีความเปราะบาง เช่น เหงา หิว เหนื่อย ง่วง ขัดแย้ง กลัว โกรธแค้น ล้วนนำมาซึ่งการใช้ความรุนแรง จึงทำให้เห็นว่า จิตใจมีความสำคัญมาก ควรได้รับการเยียวยาและการบำบัดความรู้สึกด้วยความเข้าอกเข้าใจ ใครที่สามารถหัวเราะเรื่องคนอื่นถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ ถ้าใครที่สามารถหัวเราะเรื่องของตนเองได้ นับว่าสุดยอดที่สุด แสดงถึงสุขภาพจิตดี
เราไม่อาจทราบว่าแต่ละคนเจอเรื่องราวอะไรมาบ้าง (ทุกคนล้วนเคยเจอเรื่องราวที่เจ็บปวด) จึงรอวันระเบิดเหมือนภูเขาไฟรอวันระเบิดนำไปสู่การทำลายล้าง ทุกพฤติกรรมของมนุษย์ทุกคนที่แสดงออกทางกายภาพ พฤติภาพ จิตตภาพ ปัญญาภาพ ล้วนมีสาเหตุเสมอ โดยจิตที่ไม่ได้รับการพัฒนาถือว่าเป็นจิตมนุษย์หยาบที่สุด เวลาทำงานนอกจะต้องพัฒนางานในควบคู่ไปด้วย จึงต้องหมั่นเจริญสติภาวนาเพื่อสร้างสันติภายใน ด้วยวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการปฏิบัติตามคำสอนพระพุทธเจ้าอันเป็นหัวใจสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ การทำจิตใจให้สงบบริสุทธิ์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ป้องกันความเหงาทางจิตใจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น