วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รัฐบาลญี่ปุ่นมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "ศาสตราจารย์กิตติคุณสุริชัย หวันแก้ว"



วันที่ 4  พฤศจิกายน 2566   เฟซบุ๊ก Chainarong Setthachua  ได้โพสต์ข้อความว่า  "ศาสตราจารย์กิตติคุณสุริชัย หวันแก้ว ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ "The Order of the Rising Sun, Gold Rays with Rosette" จากผลสำเร็จในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย อีกทั้งยังมีส่วนในการพัฒนาการวิจัยด้านญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย

ทั้งนี่เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน เพจสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศประจำฤดู ใบไม้ร่วง พ.ศ. 2566 ให้กับชาวต่างชาติผู้มีผลงานที่โดดเด่นในสาขาของตน สำหรับประเทศไทยได้มอบให้แก่ 4 ท่าน หนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุริชัย หวันแก้ว หรือท่านอาจารย์สุริชัยของพวกเรา โดยเพจของสถานทูตได้ระบุผลสำเร็จของอาจารย์สุริชัยโดยสังเขปว่า

"ศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ได้ให้ความรู้และคำปรึกษาแก่ประชาชนและสังคมทั้งสองประเทศในประเด็นปัญหา ต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์ โดยผ่านบทความ งานเขียนและโซเชียลมีเดียมาเป็นระยะเวลานานหลายปี นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาและสร้างเครือข่ายนักวิจัยรุ่นใหม่ มุ่งมั่นพยายามในการก่อตั้ง Japan Research Network Thailand (JSN-T) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะขยายเครือข่ายนักวิจัยเกี่ยวกับด้านญี่ปุ่นศึกษาใน ประเทศไทย"

ในฐานะลูกศิษย์ ขอแสดงมุทิตาสักการะกับท่านอาจารย์ด้วยครับ"

 ทั้งนี้ระหว่างวันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมอนุภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการเครือข่ายนักวิชาการอนุลุ่มแม่น้ำโขง ขึ้นที่โรงแรมอิมพิเรียล โกลเด้น ไทรแองเกิล รีสอร์ท อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยมี ผศ. ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนายดิ๊ก คัสติน (Dick Custin)ที่ปรึกษาฝ่ายสื่อมวลชนและวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ นักอนุรักษ์ ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมประมาณ 100 คน

เพื่อส่งเสริมให้นักวิชาการไทยได้มีส่วนร่วมและแบ่งปันข้อมูลงานวิจัยเรื่องการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่ และความท้าทายด้านการบริหารจัดการน้ำ-พลังงานและความมั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในลุ่มแม่น้ำโขง อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับนักวิชาการไทยหลากหลายสาขาวิชาได้ร่วมแก้ไขปัญหาและร่วมทำงานวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาข้อเสนอการวิจัยร่วมกันระหว่างไทย-สหรัฐฯ ในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาบนพื้นฐานความรู้และเป็นแนวทางให้แก่ Mekong Academic Consortium (MAC) และรัฐบาลในการวางนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ความร่วมมือในลุ่มแม่น้ำโขงหุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ (Mekong-U.S. Partnership) แสดงถึงแนวทางการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดการปัญหาความท้าทายข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีหน่วยงานและกระทรวงของสหรัฐฯ กว่า 14 หน่วยงาน รวมถึงโครงการต่างๆ กว่า 50 โครงการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความร่วมมือระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขงตั้งแต่ปี 2552 สหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในลุ่มน้ำโขงภายใต้หุ้นส่วนลุ่มน้ำโขง-สหรัฐฯ รวมมูลค่า 4,900 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่วนใหญ่ของเงินลงทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย

ศาสตราจารย์กิตติคุณสุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าบริบทแม่น้ำโขงในท่ามกลางวิกฤตภูมิรัฐศาสตร์ต้องเกี่ยวข้องกับหลายประเทศเ ดังนั้นการถกกันเรื่องภูมิรัฐศาสตร์อย่างเดียวไม่ได้ และมีวิธีการอย่างไรในการหารือกันสร้างความเข้มแข็งในพื้นที่ด้วย เพราะการเมืองระหว่างประเทศ บางทีก็ไม่เอื้อประโยชน์ข้ามพรมแดน

"ความทุกข์ข้ามพรมแดนประชิดตัวเข้ามาทุกทีในโลกร้อนโลกเดือดใบนี้ จึงต้องมีการคุยกันให้หัวใจข้ามพรมแดนคนในภูมิภาคเดือดต้อนกันมานาน ถ้าจะถกกันคือโจทย์ระหว่างประเทศ ทำอย่างไรเรื่องน้ำโขงเข้ากับคติชน อย่าปล่อยให้เกิดการละเลยประเพณีพื้นบ้าน และต้องช่วยกันทำให้แม่น้ำโขงเป็นลุ่มน้ำสาธารณะที่ใช้ร่วมกัน ตอนนี้การแก้ของฝ่ายนโยบายก็มักถูกบีบให้แก้ในสภาวะฉุกเฉิน"ศ.สุริชัย กล่าว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มนต์เพลงพุทโธจีพีที - เขมสูตร: ทางสายธรรมอาจขรุขระ

                     ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเสียงเพลงที่นี่ (Verse 1)  เมื่อโลกมีหลายเส้นทางให้เลือกเดิน มีทา...