ปัตตานีผู้เข้าร่วมมีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุขในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.82
เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้รับรายงานว่า เนื่องจากความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้นำกิจกรรม โครงการต่างๆในมิติวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข็มแข็ง พัฒนา แก้ไขปัญหาในพื้นที่อย่างยั่งยืน สำหรับการดำเนินงานโครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข้มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ต.ค. 2565 - ก.ย. 2566) นั้นได้ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (จะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) อย่างเป็นรูปธรรม สามารถบูรณาการทุกภาคส่วนสร้างความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม ความยั่งยืนให้กับพื้นที่ทุกระดับ ส่วนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการรับรู้ เข้าใจ และยอมรับการอยู่ร่วมกันในสังคม รวมทั้งเอื้อต่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับผลการดำเนินกิจกรรม โครงการสำคัญๆ เช่น กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส อาทิ จัดทำองค์ความรู้ อนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ขับเคลื่อนพิพิธภัณฑ์เมืองนราธิวาส จัดแสดงเรื่องความจงรักภักดีของชาวนราธิวาสที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย วิถีชีวิต ภาษาวรรณกรรม ห้องศิลปะการแสดงและดนตรีพื้นบ้าน เป็นต้น มีคนร่วม 16,951 คน และผ่านสื่อออนไลน์ 22,610 คน กิจกรรมส่งเสริมค่านิยม ความจงรักภักดีให้เด็กและเยาวชน 14 แห่ง 25 ชุมชน กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม 25 ชุมชน การจัดกิจกรรมสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมคนแหลงเจ๊ะเห เนื่องในการจัดงานฉลองอายุวัฒมงคลครบ 85 ปี ของพระเทพศีลวิสุทธิ์ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 18 ในวันที่ 6 มกราคม 2566
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี อาทิ กิจกรรมตามรอยเส้นทางอา-รมย์-ดี พัฒนาแหล่งศิลปวัฒนธรรม เพื่อการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม (ถนนอาเนาะรู - ปัตตานีรมย์ - ฤาดี) ผ่านอำนาจละมุน (Soft Power) สร้างความรู้ ความเข้าใจไปจนถึงการอนุรักษ์และส่งต่อศิลปวัฒนธรรมไปยังคนรุ่นต่อไป ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สร้างงาน สร้างรายได้ พบว่า ผู้เข้าร่วมได้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุขในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.82 ,นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมโขนเยาวชนชายแดนใต้ ยังสถานศึกษา จำนวน 10 แห่งเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติและมีโอกาสนำมิติทางวัฒนธรรมสร้างความสมานฉันท์ ตลอดจนร่วมสืบสานงานศิลป์ให้คงอยู่คู่แผ่นดิน การอบรมอัลกุรอาน อบรมกีรออาตี สอนทำอาชีพ กีฬา บรรยายธรรม
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา อาทิ กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ และกิจกรรมเสวนา 3 ศาสนา หัวข้อ “พหุวัฒนธรรมนำสันติสุข” การศึกษาเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ตามรอยพ่อและโครงการฟาร์ม กิจกรรมโครงการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมที่เข็มแข็งและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กิจกรรมจิตอาสา/กิจกรรมทางศาสนา /กิจกรรมสืบสานประเพณีวัฒนธรรม ประกวดทดสอบการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านและการท่องจำอัลกุรอานระดับอาเซียน การจัดแสดงผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญา อาหารพื้นถิ่น การออกร้านจำหน่ายสินค้า
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา อาทิ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ การแสดงทางวัฒนธรรม การสาธิตภูมิปัญญามีเด็กเยาวชน นักเรียน/นักศึกษา จากสถานศึกษาในพื้นที่เป้าหมาย กิจกรรมสืบสานวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประชุมติดตาม ระดมความคิด ปัญหาอุปสรรค และการแก้ปัญหาของชุมชน ภายใต้แผนบูรณาการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผลิตภัณฑ์จากผ้าพื้นถิ่น กิจกรรมประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผ้า (กระเป๋าผ้าปาเต๊ะและกระเป๋าดาวผ้าปาเต๊ะ)
ทั้งนี้ ทาง วธ.ได้มีการติดตามและประเมินผลกิจกรรม โครงการต่างๆ เป็นระยะ รวมไปถึงมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรขับเคลื่อนงานส่งเสริมพหุวัฒนธรรมบุคลากรในพื้นที่ได้รับการพัฒนาทักษะในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม จำนวน 37 คน (อำเภอละ 1 คน) เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของ วธ. ในการนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยวันที่ 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 วธ. ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำมิติทางศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย จำนวน 50 ชุมชน และประชาชนกลุ่มเป้าหมายในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม จำนวน 125,247 คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น