วันเสาร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2567

"หลักสูตรสันติศึกษา มจร" จับมือสถาบันสอนการโค้ช เปิดการพัฒนาโค้ชมืออาชีพตามแนวพุทธสันติวิธี




เมื่อวันที่ ๑๔  มกราคม  ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ( มจร) เป็นประธานเปิดการพัฒนาโค้ชมืออาชีพและสร้างกระบวนการเรียนรู้สติเชิงรับสติเชิงรุกสำหรับโค้ช ภายใต้หลักสูตรการเป็นโค้ชมืออาชีพโดยพุทธสันติวิธี ณ  สถาบันสอนการโค้ช Thailand Coaching Academy เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาโค้ชสู่การการเป็นมืออาชีพโดยพุทธสันติวิธี” ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำพาหาตนเองเป็นการรู้จักตนเอง ซึ่งการโค้ชที่ดีที่สุดคือการโค้ชตนเอง ผู้จะพาตนเองออกจากกับดักจากความทุกข์คือ ตัวเราเอง ในการเข้าถึงโยนิโสมนสิการโดยอาศัยกัลยาณมิตร ซึ่งให้กำลังใจในการพัฒนางานวิจัยให้สำเร็จ ซึ่งมีนางพจนารถ ซีบังเกิด (โค้ชจิมมี่) เป็นผู้วิจัยผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach Group และ Thailand Coaching Academy

โดยแนวทางการโค้ชในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าได้นำเสนอกระบวนการโค้ชไว้หลายจุด โดยการโค้ชถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาในมิติต่างๆ เป็นการทำงานร่วมกันกับลูกค้าในกระบวนการที่กระตุ้นความคิดและสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการใช้ศักยภาพสูงสุดทั้งในด้านส่วนตัวและการทำงาน จึงมีการเปลี่ยนบทบาทของผู้สอนเป็นโค้ช โดยบทบาทของโค้ชมีบทบาทในการสนับสนุนการค้นพบตัวตนด้วยตนเอง “รับผิดชอบความสำเร็จของตนเอง”  

แนวทางหลักการโค้ชในพระไตรปิฎกจึงควรใช้หลักธรรมการพัฒนาโค้ช ประกอบด้วย ๑)คุณลักษณะและคุณธรรมของการเป็นโค้ชที่ดี มุ่งใช้หลักกัลยาณมิตร ๗ ประกอบด้วย “น่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง มีวาทศิลป์ อดทนต่อคำพูด อธิบายเรื่องยกให้เข้าใจง่าย ไม่นำพาไปสู่ทางเสื่อม” เป็นฐานของการเป็นโค้ช ๒)กระบวนการพัฒนาโค้ชใช้หลักไตรสิกขา ปรับวิธีคิด มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการโค้ช และความมีจิตใจดีของโค้ช ๓)การวิเคราะห์โค้ชซี่ มุ่งใช้หลักอริยสัจโมเดล ประกอบด้วย ขั้นทุกข์ ขั้นสาเหตุ ขั้นเป้าหมาย ขั้นวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า “กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์” โค้ชต้องเป็นกัลยาณมิตรเป็นฐานสำคัญเพราะถ้าได้กัลยาณมิตรที่ดีจะสามารถเดินไปถึงเป้าหมายได้       โดยมองหลักการโค้ชตามแนวทางของอริยสัจโมเดลโดยเข้าใจปัญหา เข้าใจสาเหตุ เป้าหมายในการโค้ช และวิธีการโค้ช แต่ต้องเข้าบุคคลตามแนวทางบัว ๔ เหล่า โค้ชต้องทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร

โดยการออกแบบหลักสูตรการโค้ชในสภาวะปัจจุบันประกอบด้วย ๑)สงครามอาวุธ ๒)การไม่นับถือศาสนา ๓)การเคารพสภาวะเพศสภาพ ๔)อิทธิพลข้อมูลข่าวสารจากเทคโนโลยี  ๕)ความกดดันจากปัจจัยภายนอก โดยมองว่ารูปแบบของการโค้ช ประกอบด้วย ๑)กรอบความคิด ๒)กระบวนการโค้ช ๓)เครื่องมือการโค้ช ๔)ทักษะการโค้ช โดยโค้ชที่สุดยอดจะต้องมีสติเป็นฐาน  

การสร้างสันติภายในของการโค้ชพุทธธรรม ถือว่ามีความสำคัญเพราะผู้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก ซึ่งการโค้ชถือว่าช่วยได้  ซึ่งเรียนรู้กฎของไตรลักษณ์ความไม่แน่นอนของชีวิต เมื่อเผชิญกับความทุกข์จึงต้องใช้เครื่องมือวิปัสสนากรรมฐานผ่านการรักตนเอง จะต้อง “ยอมรับตนเองด้วยเป็นที่ว่างของการเป็นไปได้” เป็นการยอมรับตนเองด้วยการโค้ชตนเองก่อน ยอมรับว่าทุกคนไม่ต่างจากเราได้ “เห็นความเหมือนของคำว่าเพื่อนกัน” การโค้ชจึงมีวิธีการที่หลากหลาย จึงต้องปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความนุ่มนวล โค้ชจึงเป็นเพื่อนร่วมทางของเพื่อนมนุษย์ ไม่มีเส้นแบ่งของศาสนา สีผิว เพศ มีแต่ความเป็นมนุษย์  

โดยเราทุกคนล้วนมีความทุกข์ด้วยกัน โดยโค้ชจะมาพาคนที่เป็นมิจฉาทิฐิเป็นสัมมาทิฐิ เป็นการพาคนหลงทางกลับบ้าน “จากที่มืดสู่ที่สว่าง จากหนักหน่วงสู่บางเบา จากที่หนึ่งสู่อีกที่หนึ่ง และจากมิจฉาทิฐิสู่สัมมาทิฐิ” โดยความสำเร็จมองถึงสัมมาทิฐิ เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดสัมมาทิฐิ คือ ปรโตโฆสะ และ โยนิโสมนสิการ จะต้องฝึกฝันพัฒนาของตนเองอย่างยาวนานต่อเนื่อง จึงขออนุโมทนากับโค้ชจิมมี่ ในฐานะนิสิตระดับปริญญาเอก รุ่น ๖ สันติศึกษา มจร ในการพัฒนาหลักสูตรการโค้ชสู่การเป็นมืออาชีพโดยพุทธสันติวิธีถือว่าเป็นสันตินวัตกรรม  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: หนุ่มมหานักข่าว

 ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่  (Verse 1)   บวชเป็นมหา ศึกษาธรรมะนานปี ร่ำเรียนบาลี ด้วยใจที่มุ่งมั่นกล้า...