วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567

สหพันธ์การโค้ชนานาชาติรับรอง พระสงฆ์รูปแรกของไทยเป็นโค้ชมืออาชีพ พร้อมยกระดับการโค้ชตามแนวพุทธสันติวิธี



วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) จัดพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตร "สร้างแบรนด์วิทยากรมืออาชีพ" รุ่น ๑ โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน ๒๐ รูป/คนจากทั่วประเทศ ระหว่างวันที่  ๑๕ - ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจด้านการสร้างแบรนด์วิทยากรมืออาชีพที่นำสันติสุขสู่สังคม วันอังคารที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗ ตรงกับวันครู (Teachers' Day) นับเป็นวันสำคัญที่ชวนให้ระลึกถึงบุคคล กลุ่มบุคคลที่เสียสละ ให้ความสำคัญกับผู้อื่นมากกว่าตนเอง ให้สมกับคำปฏิญาณตน ๓ ประการ ประกอบด้วย (๑) ข้าพเจ้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ชื่อว่าครู (๒) ข้าพเจ้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ (๓) ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งครูทั้งหลายนั้นมีส่วนสำคัญในการสรรสร้างพัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นปัจจุบันและอนาคตของโลก สอดคล้องกับที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้กล่าวไว้ว่า "ศีลธรรมของยุวชนคือสันติภาพของโลก"


หลักสูตรระยะสั้นดังกล่าว ได้นิมนต์พระวุทธ สุเมโธ (ทองมั่น) นิสิตระดับปริญญาเอก รุ่น ๕ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พระสงฆ์โค้ชมืออาชีพสากลของสหพันธ์การโค้ชนานาชาติระดับ PCC (Professional Certified Coach) รูปแรกของประเทศไทย เป็นผู้ช่วยวิทยากรหลักนำเสนอ "ทักษะการโค้ชสำหรับการเป็นวิทยากรมืออาชีพ" มีประเด็นนำเสนอที่ตอบโจทย์ความต้องการ ประกอบด้วย  


๑) การโค้ชตามแนวทางสากล และการโค้ชตามแนวทางของพระพุทธเจ้า มีเทคนิคและกระบวนการอย่างไร

๒) การโค้ชคืออะไร อะไรไม่ใช่การโค้ช อะไรคือทักษะอย่างไรที่เหมาะสมสำหรับการเป็นวิทยากรมืออาชีพ

๓) สร้างแบรนด์วิทยากรมืออาชีพผ่าน ๗ คำถาม

๔) การพัฒนาสายตาแห่งหัวใจที่ไวต่อความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์เป็นอย่างไร

๕) ทางเลือกยอดวิทยากร ๔ ประเภท เอื้อให้เปิดเผยตนเอง เอื้อให้มีปฏิสัมพันธ์ เอื้อให้เกิดความงอกงาม เอื้อให้เกิดการแก้ปัญหา เป็นอย่างไร

๖) เข้าใจความสุข ๔ ประเภท สุขเพราะมี สุขเพราะใช้ สุขเพราะไม่มี สุขเพราะทำ เป็นอย่างไร

๗) รู้จักการกำหนดเป้าหมายและการลงมือทำเพื่อสร้างผลลัพธ์ทรงพลัง

๘) ร่วมเป็นสักขีพยานการแปรเปลี่ยนความทุกข์สู่ความสุขอันเป็นอิสระปลอดโปร่งโล่งเบา ของผู้มาเข้ารับบริการการโค้ช

๙) ถอดบทเรียนความสำเร็จ ในการใช้ทักษะการโค้ชเพื่อดูแลและยกระดับจิตใจเพื่อนมนุษย์

๑๐) การออกแบบแบรนด์กิจกรรม "แบบเข้าใจ แบบเข้าไปในหัวใจ แบบดีต่อใจ" ต้องออกแบบ มีวิธีการวางจิตใจและท่าที มีวิธีการสื่อสาร และมีทักษะเครื่องมืออย่างไร


เพื่อระลึกถึงคุณครูภายนอก อันได้แก่ คุณบิดามารดา คุณครูอาจารย์ตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนครูภายในอันได้แก่ ครูทางธรรม ผู้แสดงความจริงของโลกและชีวิต บรมโค้ชผู้ยิ่งใหญ่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนสงฆ์สาวกจนถึงปัจจุบัน ผู้เป็นประจักษ์พยานสำคัญในการเคียงข้างแปรเปลี่ยนความทุกข์สู่ความสุขแท้ แปรเปลี่ยนผู้หลงทางให้พบบ้านที่แท้ แปรเปลี่ยนความลุ่มหลงสู่ความตื่น แปรเปลี่ยนการสับสนสู่ความชัดสว่างไสว แปรเปลี่ยนมิจฉาทิฐิสู่สัมมาทิฐิ แปรเปลี่ยนจิตใจที่ไม่สอดคล้องกลมกลืน สู่จิตใจที่สอดคล้องกลมกลืน

โดยมีการสาธิตการโค้ชอย่างมืออาชีพ มีการบูรณาการหลักพุทธสันติวิธีเข้ามาร่วมในการโค้ชด้วย จึงขออนุโมทนากับ พระวุทธ สุเมโธ (ทองมั่น) นิสิตระดับปริญญาเอก รุ่น ๕ หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) พระสงฆ์โค้ชมืออาชีพสากลของสหพันธ์การโค้ชนานาชาติระดับ PCC (Professional Certified Coach) รูปแรกของประเทศไทย ทำหน้าที่ได้ยอดเยี่ยมมาก ถือว่าเป็นเพชรเม็ดงามแห่งคณะสงฆ์และสังคม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 2. ทุติยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต

  วิเคราะห์ 2. ทุติยวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทคัดย่อ บทควา...