วันจันทร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2567

"สันติศึกษา มจร" เปิดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิต ยกระดับวิทยากรเป็นแบรนด์ออกไปขับเคลื่อนสังคมสันติสุข



วันที่ ๑๖  มกราคม ๒๕๖๗ พระปราโมทย์  วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า  ระหว่างวันที่  ๑๕ - ๑๖ มกราคม ๒๕๖๗  หลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้จัดพัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตร "สร้างแบรนด์วิทยากรมืออาชีพ" รุ่น ๑ โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน ๒๐ รูปคนจากทั่วประเทศ  ถือว่าหลักสูตรสันติศึกษาเปิดหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตเหมาะกับทุกวัยที่จะนำไปใช้งานได้เลย ทั้งเด็ก เยาวชน นิสิต คนทำงาน รวมถึงผู้เกษียณอายุการทำงานแต่ต้องการทำงานเพื่อสังคม  

เป็นหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงพัฒนาคนพัฒนางานพัฒนาองค์กร  โดยมุ่งเรียนรู้ผ่านการฝึกภาคปฏิบัติในการยกระดับเป็นวิทยากรมืออาชีพที่ใช้เครื่องมือที่หลากหลาย เช่น การเป็น Fa การเป็นโค้ช การออกแบบกิจกรรม โดยกระบวนการฝึกอบรมและกิจกรรมฝึกอบรมทุกกิจกรรมมีการบูรณาการทั้งสองศาสตร์ ปรักอบด้วย  "ศาสตร์สมัยใหม่และพุทธศาสตร์" ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความสุขเป็นฐาน สามารถตอบโจทย์สำคัญ ๑๐  ประเด็น  ประกอบด้วย 

๑)การเป็นวิทยากรกระบวนการที่ดีตามแนวทางโลกและทางธรรมควรมีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะอย่างไร จึงจะตอบโจทย์องค์กรในยุคปัจจุบัน 

๒)การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายที่มีความแตกต่างหลากหลายตามแนวทางของอริยสัจโมเดลและ Need ควรมีการวิเคราะห์อย่างไร ? 

๓)การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่วัยทำงานและระดับผู้บริหาร มีการเรียนรู้อย่างไร ควรออกแบบการเรียนรู้อย่างไร จึงสามารถตอบโจทย์ ? 

๔)การทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายให้มีความลื่นไหล เรียบง่าย นุ่มนวล งดงาม ทรงคุณค่า เกิดการตระหนักรู้จากภายใน ควรมีเทคนิคและทักษะอย่างไร ? 

๕)กระบวนการโค้ชตามแนวทางสากลและการโค้ชตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ควรมีเทคนิคและกระบวนการโค้ชอย่างไร ? 

๖)การออกแบบกิจกรรมให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย วิทยากรกระบวนการควรมีวิธีการออกแบบกิจกรรมอย่างไร ? ให้บรรลุนิโรธคือเป้าหมายที่ต้องการ 

๗)วิธีการสื่อสารอย่างมืออาชีพและการใช้เครื่องมือของวิทยากรกระบวนการควรมีเทคนิคและวิธีการสื่อสารอย่างมืออาชีพในการใช้เครื่องมืออย่างไร ? จึงจะได้ผล 

๘)การพัฒนาทีมงานในองค์กรด้านความสัมพันธ์ของบุคลากร "รู้จัก รู้สึก รู้ใจ" วิทยากรกระบวนการจะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร ? 

๙)การเป็นวิทยากรด้านพุทธสันติวิธีวิธี ควรพัฒนาทักษะภายในและทักษะภายนอกอย่างไร และแนวทางการพัฒนาด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ ด้านปัญญาภาพ และอนาคตภาพ ควรออกแบบและวัดผลอย่างไร? 

๑๐)เครื่องมือที่มีความจำเป็นของวิทยากรกระบวนการในยุคปัจจุบัน เช่น การไกล่เกลี่ยที่เน้นความต้องการที่แท้จริง มีวิธีการอย่างไร ? กรณีองค์กรที่มีความขัดแย้งหาทางออกไม่ได้ จะออกแบบกิจกรรมเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งได้อย่างไร ?  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือนิยายอิงธรรมะ: แสงสงฆ์ปี67

  แก่นเรื่อง (Theme) การสะท้อนภาพความเป็นจริงของพระสงฆ์ในยุคปัจจุบันผ่านมุมมองของนักเขียนสองวัย เพื่อแสดงให้เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบของพระสง...