วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

ป.ป.ช. ตั้งนักวิชาการศาสนาชื่อดัง เป็นอนุกรรมการฯ กำหนดแนวปฎิบัติข้อกล่าวหาพระภิกษุ



เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567    มีเผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. เรื่อง การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดแนวทางปฎิบัติเกี่ยวกับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนภิกษุ ลงนาม พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งมีชื่อของ ดร.เสถียร วิพรมหา นักวิชาการพระพุทธศาสนาและนายกสมาคมนักวิชาการเพื่อพระพุทธศาสนา (สนพ.)  ชื่อดัง ในฐานะที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ร่วมคณะด้วย  ดังนี้



ด้วยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกร เป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ภิกษุผู้ดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ จึงถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 28 (2)

เพื่อให้การไต่สวนข้อเท็จจริง หรือการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนภิกษุเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับบริบทของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจความในข้อ 4 ของระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการแต่งตั้ง และเบี้ยประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะบุคคลเพื่อช่วยเหลือ คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงานในการปฎิบัติหน้าที่ที่ไม่ใช่การไต่สวน พ.ศ. 2561 ประกอบมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. (ด้านกฎหมาย) ในการประชุมเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2566 ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากำหนดแนวทางปฎิบัติเกียวกับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนภิกษุ ประกอบด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...