วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567

ลำพูนลงนามร่วมคณะสงฆ์ เดินหน้าหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติ



ลำพูนลงนามร่วมคณะสงฆ์ เดินหน้าหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมตั้งเป้าบรรลุ 8 ตัวชี้วัดหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน

วันพุธที่ 27 มีนาคม 2567  ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน พระเทพรัตนนายก เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ประธานฝ่ายสงฆ์ นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานฝ่ายฆราวาส ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างอย่างยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายบุญส่ง ไชยมณี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดลำพูน นายสมาน กองแก้ว ปลัดจังหวัดลำพูน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ เจ้าคณะอำเภอ ปลัดอำเภอ หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลและกำนัน 50 ชุมชน เข้าร่วมลงนามฯ

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้มีนโยบายสำคัญ ที่เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยขยายผลการดำเนินงานโครงการให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน ประกอบกับกระทรวงมหาดไทยได้จัดทำโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชน ให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ประกอบกับมหาเถรสมาคมได้รับทราบว่ากระทรวงมหาดไทยมีนโยบายสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ซึ่งในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 8/2567 มีมติการประชุมให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล 1 พระ 1 ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหมู่บ้านยั่งยืน



นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวต่อว่า จังหวัดลำพูนจึงจัดทำบันทึกข้อตกลง ระหว่าง ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล คณะสงฆ์ และกำนันในพื้นที่ เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ให้บรรลุตัวชี้วัด 8 เรื่อง คือ 1) ด้านที่อยู่อาศัย โดยต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ครัวเรือนมีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยใช้ประโยชน์ของพื้นที่ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร ตามโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” 3) ความสะอาด โดยบ้านเรือน หมู่บ้าน ชุมชน สะอาด มีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน มีการคัดแยกขยะต้นทาง (3R) และมีการจัดการขยะหมู่บ้าน/ชุมชน เช่น ตลาดนัดขยะ ธนาคารขยะ จุดทิ้งขยะอันตราย เป็นต้น 4) ความสามัคคี โดยมีการรวมตัวกันเป็นคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ฯลฯ เพื่อดูแลช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยกัน 5) ความร่วมมือ โดยมีการประชุม พบปะกันเป็นประจำในระดับคุ้มบ้าน หย่อมบ้าน ป๊อกบ้าน ในลักษณะ “ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์” 6) การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการจัดกิจกรรมทางศาสนาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นประจำตามความศรัทธา ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม ของคนในหมู่บ้าน 7) ความมั่นคงปลอดภัย หมู่บ้าน/ชุมชน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีการช่วยเหลือคนในครัวเรือน หมู่บ้าน/ชุมชน ไม่ให้ติดยาเสพติดลดความเสี่ยงด้านกายภาพ (ไฟฟ้า, ถนน, ภัยพิบัติ, อุบัติเหตุ) และปลอดอาชญากรรม 8) การมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคเพียงพอตลอดทั้งปี โดยมีภาชนะกักเก็บน้ำรูปแบบต่าง ๆ มีการบำรุงรักษาฟื้นฟูแหล่งกักเก็บน้ำเดิมหรือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำใหม่

นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินการขับเคลื่อนตามตัวชี้วัดหมู่บ้านยั่งยืนทั้ง 8 ตัวชี้วัด ทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย ความมั่นคงทางอาหาร ความสะอาด ความสามัคคี ความร่วมมือ การปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ความมั่งคงปลอดภัย และการมีน้ำสะอาดสำหรับในการอุปโภคและบริโภค โดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และผู้นำศาสนา โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โครงการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอดพียง ควบคู่กับหลักทางศาสนาและนำมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต 

"เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดองสมานฉันท์ก่อให้เกิดสันติสุขในหมู่บ้านอย่างยั่งยืน สร้างความมั่นคงในระดับชุมชน มีการดูแลกันและกันแบบคุ้ม ป๊อก หย่อมบ้าน และเกิดภูมิคุ้มกันต่อการรองรับความเปลี่ยนเเปลงทุกรูปแบบ ฝ่ายปกครอง นำโดยนายอำเภอในฐานะผู้นำในระดับพื้นที่ จะต้องให้ความสำคัญกับการบูรณาการร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย และกลไก 3 5 7 นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้หมู่บ้านยั่งยืนเกิดขึ้นได้อย่างเเท้จริง จะต้องนำหลัก เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา เพื่อร่วมคิด ร่วมวางเเผน ร่วมทำ เเละร่วมรับประโยชน์ สร้างความยั่งยืนด้วยการบูรณาการเคียงข้างกัน เพื่อให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ในระดับพื้นที่อย่างเเท้จริง" นายสันติธรฯ กล่าวปิดท้าย


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...