วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567

วธ.ร่วมสืบสานพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง



เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับคณะสงฆ์ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ จัดพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทย เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ศึกษา ฝึกฝนอบรมหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้เกิดค่านิยมเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย จิตสาธารณะ มีความกตัญญู ส่งผลให้มีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ 

การจัดพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ในส่วนกลาง จัดพิธีบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในส่วนภูมิภาคมีการจัดกิจกรรมใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเพณีแห่ลูกแก้ว , จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเพณีงานเดือน 5 , จังหวัดนครศรีธรรมราช ประเพณีทำขวัญนาค และจังหวัดอุดรธานี ประเพณีแห่นาคม้าย่อง นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับคณะสงฆ์ จังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และสถานศึกษา รวมทั้งหน่วยงาน 72 จังหวัดทั่วประเทศ ดำเนินการจัดกิจกรรมแบบบูรณาการ โดยคาดว่าจะมีเด็กและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมทั่วประเทศรวมกว่า 100,000 คน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสร่วมพิธีเฉลิมพระเกียรติฯ บำเพ็ญความดีถวายเป็นพระราชกุศล แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุพการีและผู้มีอุปการคุณอย่างสูง นอกจากนี้ผู้ที่บวชยังจะได้ใช้เวลาในฝึกฝนอบรม ศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่มีความเหมาะสมกับวัย และนำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งการพัฒนาตนเองของเยาวชนถือได้ว่าเป็นการสร้างและเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติด้วย

 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทย ถือว่าการบรรพชาสามเณร เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบุพการีและผู้มีอุปการคุณอย่างสูง ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อร่วมสืบสานประเพณีการบรรพชาให้คงอยู่คู่สังคมไทย ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ได้ศึกษาและฝึกฝนอบรมหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะ มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ส่งผลให้เด็กเยาวชนมีจิตใจที่เข้มแข็งเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ ซึ่งนอกจากนี้เยาวชนจะได้เข้าร่วมบรรพชาสามเณรแล้ว ยังได้เรียนรู้ภาควิชาการทางพระพุทธศาสนา ภาคปฏิบัติและการทำกิจกรรมร่วมกันของสามเณร ซึ่งการศึกษาเรียนรู้หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามีความเหมาะสมกับวัย เพื่อให้นำหลักธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นพลเมืองดี ซึ่งจะช่วยให้เกิดค่านิยมเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะ รวมทั้งมีความกตัญญู ส่งผลให้มีจิตใจที่เข้มแข็งเป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ และนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...