วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

"มจร"สุดล้ำ! ผุดหลักสูตรโลกศึกษา เสริมทักษะการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้ายูเอ็น



เมื่อวันที่ 8  มีนาคม 2567  พระสุธีรัตนบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดสุทธิวราราม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Suthito Aphakaro  ความว่า   หลักสูตรแห่งยุคสมัยใหม่ของมหาจุฬา : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศึกษา     

วันที่ 7 มีนาคม 2567 สภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติเห็นชอบอนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศึกษา (Global Studies) ก่อนจะเสนอให้สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้เปิดการเรียนการสอนต่อไป  

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศึกษา มีความมุ่งหมายให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโลกทัศน์และปรัชญาของมนุษยชาติ กระบวนการพัฒนาในกระแสโลกาภิวัตน์ และมีทักษะในการคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์ตามหลักปรัชญาบูรณาการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ โดยมีปรัชญาของหลักสูตรว่า “โลกทัศน์และพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาชีวิต ชุมชน และสังคมโลกอย่างสร้างสรรค์”        

ขอบคุณคณะกรรมการร่างหลักสูตรทุกท่าน ผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการสภาวิชาการที่วิพากษ์ให้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาหลักสูตร โดยสาขาวิชานี้จะรับนิสิตรุ่นแรกจำนวน 25 รูป/คน โดยรูปแบบการเรียนการสอนจะเป็นลักษณะการสองภาษา (ไทยและอังกฤษ) ทั้งระบบออนไลน์และออนไซต์ โดยมีนิสิตนานาชาติจากจีน อาเซียน สนใจติดต่อมาศึกษาแล้ว 15 ราย

สาขาวิชาโลกศึกษา :  ทุกที่ ทุกเวลา และทุกความคิดเพื่อโลกของเรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...