วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ดูงานวัด “ไอ้ไข่” แนะผลักดันวัดสู่ “Soft Power” ด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7



เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 15.30 น. ที่วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบ พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ หรือ อาจารย์แว่น เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เพื่อรับฟังเกี่ยวกับแนวทาง การส่งเสริมศาสนา

พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ กล่าวว่าวัดนี้ในอดีตเกือบเป็นวัดร้าง อาตมามาเป็นลูกวัด ด้วยเพราะสมัยเด็กมีฐานะยากจนบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ เมื่อมาบวชแล้วก็ได้เข้ามา จำพรรษาที่วัดเจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2542 สมัยนั้นต้องบอกว่าวัดเจดีย์เป็นวัดร้าง ไม่มีโบสถ์ ไม่มีพระอุโบสถ ภายหลังจำพรรษาเป็นเวลา 4 ปีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส หลักการของที่นี่ก็คือเอาชาวบ้านเป็นหลัก ตอนเย็นตนมักไปคุยกับชาวบ้าน เพื่อศึกษาความเป็นมา ซึ่งจุดเด่นของวัดนี้หากจะดำเนินการเรื่องวิปัสสนา เรื่องสวดมนต์ หรือเรื่องอื่นๆ ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก จุดเด่นของวัดคือ “ไอ้ไข่” ที่มีคนศรัทธาและมาจุดประทัดมาตั้งแต่โบราณ จึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัด ได้ให้ชาวบ้านตั้งกลุ่มกันเป็นกลุ่ม 42 กลุ่มละ 4 คน หมุนกัน ดูแลด้านดอกไม้ จุดประทัด การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งก็จะมีรายได้จากการบริการและขายอาหาร ในวัดไม่มีขาย เครื่องรางของขลังหรือของเซ่นไหว้ต่างๆ หากจะซื้อต้องไปซื้อข้างนอก ด้วยการบริหารเช่นนี้จึงไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างภายนอกและภายใน ปัจจุบันได้ตั้งทุนมีเงินทุนถึง 2-3 ล้าน โดยกลุ่มชาวบ้านที่เริ่มต้นอายุมากแล้ว ตอนนี้เริ่มรุ่นหลาน ในช่วงที่รายได้ดี คนมาช่วยงานวัด อาจได้รายได้ต่อคนถึง 20,000 บาทต่อเดือนในเวลาที่เหลือก็สามารถไปทำงานทำไร่ทำสวนปาล์มชาวบ้านก็มีความสุข อาตมาอยู่มา 25 ปี ทุกที่มีปัญหา ต้องช่วยกันแก้ ในอดีตตอนจัดบวชไม่มีคนบวชก็ขอทหารมาบวช



นางเทียบจุฑา กล่าวว่าตนและคณะหลังจากที่ได้ทราบข้อมูล โดยท่านเจ้าอาวาสท่านได้นำชมวัด สาระสำคัญคือที่นี่เน้นชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง โดยมีการปรึกษาหารือมีการประชุมกันอย่างเนืองนิจตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ธรรมสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการความเจริญรุ่งเรืองแก่องค์กรที่ตนเองปกครองมี 7 ประการคือ  1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์  2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ  3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม)  4. ท่านเหล่าใดเป็นใหญ่ ให้เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง  5. บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่โดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ  6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป  7. จัดให้ความอารักขาคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้หมายความรวมถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนทั่วไปด้วย) โดยตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้นที่มาแล้ว ขอให้โดยผาสุกด้วยการมีความสะอาดสะอ้าน บูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง หาจุดเด่นของวัดและสร้างจุดเด่นเพื่อเป็นจุดขาย ส่งผลให้เป็น Soft Power ของพื้นที่ จนในที่สุดถือว่าเป็น Soft Power ของประเทศเลยทีเดียว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาพัฒนามาเป็นต้นแบบ ทั้งการพัฒนา การเป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา เมื่อเชื่อมั่นว่าการพัฒนารูปแบบนี้จะทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองอย่างไร้ขีดจำกัด



สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย


1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ

2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง

3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ

4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ

5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ

6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ

7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ

8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ

20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...