คณะสงฆ์อำเภอนางรอง บุรีรัมย์ สานพลัง "บวร" ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะ ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่ พัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) ในหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ตามนโยบายมหาเถรสมาคมและนโยบายสังฆาภิบาลเพื่อพระสงฆ์อาพาธ ของรัฐบาล (เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567)
ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2567 พระครูปริยัติภัทรคุณ เจ้าคณะอำเภอนางรอง ในฐานะประธานอำนวยการคณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ในระดับพื้นที่และประธานอำนวยการศาสนกิจคณะสงฆ์อำเภอ ประธานคณะกรรมการอำนวยการอบรมประชาชนประจำอำเภอ (อ.ป.อ.) อำเภอนางรอง กล่าวว่า คณะสงฆ์อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ คณะสงฆ์ภาค 11 ผนึกพลังสังฆะบูรณาการศาสนกิจ/ภารกิจทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย ปกครอง ศาสนศึกษา ศึกษาสงเคราะห์ เผยแผ่ สาธารณูปการและสาธารณสงเคราะห์ โดยมี พระครูประสิทธิ์ธรรมวัฒน์ รองเจ้าคณะอำเภอ ประธานคณะทำงานด้านการเผยแผ่และสาธารณสงเคราะห์ พระครูศรีปริยัติวิบูลย์ รองเจ้าคณะอำเภอ ประธานคณะทำงานด้านการศาสนศึกษาและศึกษาสงเคราะห์ พระครูสุวรรณธรรมาภิราม ประธานสมัชชาตำบลสุขภาวะ ประธานพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.คณะสงฆ์อำเภอนางรอง) พร้อมด้วย เจ้าคณะตำบล ประธานกรรมการหน่วยอบรมประชาชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) 17 ตำบล พระสังฆาธิการทุกระดับในเขตพื้นที่อำเภอนางรอง ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาวะ ประกอบด้วย หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ โรงพยาบาลนางรอง และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) โดยจัดอบรมพระคิลานุปัฎฐาก (พระอสว.) เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่ความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับพระคิลานุปัฏฐาก ในหลักสูตรพระผู้ดูแลผู้สูงอายุ 15ชั่วโมง (Caregiver : CG ภาคทฤษฎี 15 ชั่วโมง ปฏิบัติ 5 ชั่วโมง) ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 256 ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลนางรอง และวัดใหม่เรไรทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระสงฆ์กลุ่มเป้าหมายหลัก ตามโครงสร้างหลักสูตรและกลุ่มพระสงฆ์ที่มีความสนใจซึ่งปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ ประโคนชัย กระสัง บ้านด่าน คูเมือง พุทไธสง และอำเภอนางรอง เข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จำนวน 40 รูป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ ในฐานะผู้ประสานงานโครงการ กล่าวว่า การอบรมในครั้งนี้ เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพระศิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจําวัด - อสว.) ในหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ จํานวน 15 ชั่วโมง
ที่อนุมัติหลักสูตรโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้พระศิลานุปัฏฐาก มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยและปฏิบัติต่อพระสงฆ์อาพาธภายในวัด อย่างมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อเตรียมการรองรับระบบการดูแลพระสงฆ์และการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ซึ่งพระสงฆ์ส่วนใหญ่
เป็นผู้สูงอายุ 3) เพื่อพัฒนาศักยภาพพระศิลานุปัฏฐาก ในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาพาธระยะยาว
ทั้งนี้ ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายคณะสงฆ์อำเภอ เจ้าคณะพระสังฆาธิการ ทุกระดับ โดยวัดใหม่เรไรทอง เกื้อกูลสถานที่สำหรับถอดบทเรียน คณะผู้บริหารโรงพยาบาลนางรอง สนับสนุนแหล่งเรียนรู้สถานการณ์จริงทั้งด้านสถานที่พร้อมทีมวิทยากร ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนางรอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่และดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งต่างตระหนักร่วมกันว่า วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ที่มีบทบาทสําคัญในการส่งเสริมสุขภาพประชาชน และธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ คือข้อตกลงร่วมหรือพันธะร่วมของพระสงฆ์ คณะสงฆ์ ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ในทุกระดับและส่งเสริมพระสงฆ์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน การปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทั้งสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพให้กับบุคคลอื่นได้ เป็นผู้นําด้านสุขภาวะและ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพพระสงฆ์อาพาธพระสงฆ์ที่อาพาธติดเตียงหรือมีภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลแบบประคับประคองจากพระสงฆ์ด้วยกันเอง จากพระสงฆ์ที่ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้ ตามโครงสร้างหลักสูตรฯ ดังกล่าวในครั้งนี้ โดยสานพลัง บวร ร่วมกันสื่อสาร สนับสนุนส่งเสริมให้พระสงฆ์มีบทบาทต่อการดูแลสุขภาพตนเอง ชุมชน สังคม และส่งเสริมการดูแลสุขภาวะพระสงฆ์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคม ตลอดจนการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการเชื่อมโยงวัดกับชุมชน ภายใต้แนวคิด“พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุข”ตามวิถีชีวิตและบริบทสังคมไทย ทั้งในวงกว้างและในระดับพื้นที่สืบต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น