วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2567

อาจารย์ “มจร” เผย “หลักสูตรบาลีคณะสงฆ์ไทย” เรียนพระไตรปิฏกแค่ 149 หน้าจาก 27,289 หน้า



วันที่ 31  มี.ค. 67    พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ป.ธ.9, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตร บาลีพุทธศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว “Wat Pan Ken” ตั้งคำถามว่า หลักสูตรบาลีสนามหลวง  เรียนพระไตรปิฎก เล่มไหน หน้าไหน ซึ่งสรุปความว่า  พระไตรปิฎก มี 27,289 หน้า  หลักสูตรบาลีสนามหลวง เรียน 149 หน้า  คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า  หรือ คิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม พร้อมฝาก “แม่กองบาลี” พิจารณา  โดยมีรายละเอียดดังนี้    หลักสูตรบาลีสนามหลวง  เรียนพระไตรปิฎก เล่มไหน หน้าไหน

ก.พระวินัยปิฎก เล่ม 8 เล่ม ไม่ได้เรียนแม้แต่เล่มเดียว

1.มหาวิภังค์ ภาค ๑  มี 484 หน้า  2.มหาวิภังค์ ภาค ๒ มี 737 หน้า  3.ภิกขุนีวิภังค์ 401 4.มหาวรรค ภาค ๑ 393

5.มหาวรรค ภาค ๒ 374 6.จุลวรรค ภาค ๑ 369 7.จุลวรรค ภาค ๒ 420 8.ปริวาร 721

รวม 3,899 หน้า (ไม่ได้เรียนสักหน้า)


ข. พระสุตตันตปิฎก มี 25 เล่ม 5 นิกาย (ที,ม,สํ,อํ,ขุ)  (เรียนเฉพาะ เล่ม 25 จำนวน 149 หน้า)

 ทีฆนิกาย 34 พระสูตรชนิดยาว  9.ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค 247  10.ทีฆนิกาย มหาวรรค 372  11.ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค 438

มี 1057 หน้า ไม่ได้เรียนแม้แต่หน้าเดียว สูตรเดียว

 มัชฌิมนิกาย มี 152 สูตรชนิดกลาง

12.มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ 554  13.มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ 614  14.มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ 510

มี 152 สูตร 1678 หน้า ไม่ได้เรียนสักหน้า

 สังยุตตนิกาย  รวมประเภทพระสูตร

15.สํ.สคาถวรรคสังยุต 396  16.สํ.นิทานวรรค 340 หน้า  17.สํ.ขันธวารวรรค 408 หน้า 18.สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค 496

19.สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค 658

มี 2,325 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

 อังคุตตรนิกาย แบบนับจำนวนชุด   มีพระสูตร ๙,๕๕๗ สูตร ไม่ได้เรียนสักสูตร

20.อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต 411  21. อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต 392  22. อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต 644

23.อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต 564  24.อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต 449

มี 2,289 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

 ขุททกนิกาย สูตรเนื้อหาเล็กสั้น

25.ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต 784 26.ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา 640

27.ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ 636  28.ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒ 560  29.ขุททกนิกาย มหานิทเทส 620  30.ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส 502  31.ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค 610  32.ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ 704  33.ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก 778

มี 5,834 หน้า เรียนเพียง 149 หน้า ธรรมบท 26 วรรค

ค. อภิธรรมปิฎก ไม่ได้เรียนแม้แต่หน้าเดียว

34.ธรรมสังคณีปกรณ์ 388  35.วิภังคปกรณ์ 690  36.ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์ 232  37.กถาวัตถุปกรณ์ 946

38.ยมกปกรณ์ ภาค ๑ 854  39.ยมกปกรณ์ ภาค ๒ 649  40.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑ 908  41.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ 668

42.มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓ 482  43.ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๔ 647  44. ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๕ 705 45.ปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๖ 731

มี 7,900 หน้า ไม่ได้เรียนแม้หน้าเดียว

รวมพระไตรปิฎก มี 27,289 หน้า  หลักสูตรบาลีสนามหลวง เรียน 149 หน้า คิดเป็น 0.54% ของจำนวนหน้า  หรือ คิดเป็น 0.44% ของจำนวน 45 เล่ม

ฝากแม่กองบาลี รองแม่กอง ผู้บริหารช่วยพิจารณาด้วย  งบประมาณแผ่นดินที่ใช้จัดการเรียนการสอนการสอบ ปีละร้อยล้าน  เรียนคำสอน แค่ 149 หน้า หรือ 0.44 % ของจำนวนเล่มพระไตรปิฎก มันคุ้มหรือไม่

ทางด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์หลักสูตรบัณฑิตศึกษา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  มองว่า พระไตรปิฎก  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๑๗ หมุดหมายสำคัญ. (SDGs ความยั่งยืนวิถีพุทธ).... โดยจัดการศึกษา  ดังนี้ 

๑)  เปรียญตรี  ศึกษาหลักธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต/สังคม ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ  ๕  หมุดหมาย ( ที  ม สํ องฺ  ขุ )หลักสูตร ๓ ปี     

๒) เปรียญโท ศึกษาการพัฒนาและการจัดระเบียบเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตตามหลักอริยวินัยและอภิสมาจาริยสิกขา  เพื่อการขัดเกลาตนเองและเคารพกติกาสังคมเพื่อชึวิตและสังคมสันติสุข ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๕ หมุดหมาย ( อา ปา ม จุ ป)   หลักสูตร ๓ ปี                                                                   

๓) เปรียญเอก ศึกษาการพัฒนาคุณภาพจิตและการยกระดับคุณภาพจิต ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๗ หมุดหมาย( สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)หลักสูตร ๓ ปี  ในมุมมองของกระผมนะครับ  ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ๑๗ หมุดหมายสำคัญ. (SDGs ความยั่งยืนวิถีพุทธ).... โดยจัดการศึกษา  ดังนี้        

๑)  เปรียญตรี  ศึกษาหลักธรรม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครองและการพัฒนาคุณภาพชีวิต/สังคม ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก  ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ  ๕ หมุดหมาย ( ที  ม สํ องฺ  ขุ )หลักสูตร ๓ ปี                                                                                                      

๒) เปรียญโท ศึกษาการพัฒนาและการจัดระเบียบเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตตามหลักอริยวินัยและอภิสมาจาริยสิกขา  เพื่อการขัดเกลาตนเองและเคารพกติกาสังคมเพื่อชึวิตและสังคมสันติสุข ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์  ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๕ หมุดหมาย ( อา ปา ม จุ ป) หลักสูตร ๓ ปี    

๓) เปรียญเอก ศึกษาการพัฒนาคุณภาพจิตและการยกระดับคุณภาพจิต ตามคัมภีร์พระไตรปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามกรอบหมุดหมายสำคัญ ๗ หมุดหมาย( สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)หลักสูตร ๓ ปี  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...