วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราคายางพาราพุ่งไม่หยุดทะลุ 90 บาท/กก. สูงสุดในรอบ 7 ปี

 


 เมื่อวันที่ 13  มีนาคม 2567 ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ กำชับให้ นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. มุ่งดำเนินงานสนับสนุนให้เกิดการสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา นอกเหนือจากการผลิตยางธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ไม้ยางพารา โดยสร้างแหล่งรายได้ให้กับเกษตรกร ผ่านกระบวนการซื้อ-ขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เป็นฐานการการดูดซับก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร

ทั้งนี้ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดไว้ ตามนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ.2050 เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ได้ในปี ค.ศ. 2065

โดยยางพาราที่เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสามารถช่วยลดการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจกได้ จึงเป็นแนวทางเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรจากการขายคาร์บอนเครดิตในสวนยาง โดยหากคำนวณจากพื้นที่สวนยางในประเทศที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ทั้งหมดกว่า 20 ล้านไร่ สามารถช่วยกักเก็บคาร์บอนได้ประมาณ 80 ล้านตัน โดยใช้สูตรการคำนวณแอลโลแมตรี ตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือกระจก (องค์การมหาชน) กำหนด คิดเป็นรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต รวมเป็นมูลค่ากว่า 24,000 ล้านบาท (ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิต เฉลี่ย 300 บาท/ตัน ) 

ทั้งนี้น.ส.อัยรินทร์ พันธุ์ฤทธิ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคายางพาราในปัจจุบันดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ราคายางที่ซื้อขายผ่านสำนักงานตลาดกลางยางพารา ของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พุ่งทะลุ 90 บาทไปแล้ว ซึ่งราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันอยู่ที่ 90.09 บาท/กก. ถือเป็นราคาสูงที่สุดในรอบ 85 เดือน (7 ปี 1 เดือน) โดยปรับตัวสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและคาดว่าจะยังคงอยู่ในทิศทางแนวโน้มขาขึ้นต่อไป

"ราคายางที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 7 ปี ถือเป็นการขับเคลื่อนแนวทางตามนโยบายของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถือเป็นผลงานในรอบ 6 เดือน ให้เกิดเป็นรูปธรรม ภายใต้นโยบาย "เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน" และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและประชาชนร่วมกันลดก๊าซเรือนกระจกสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี และเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อน อันจะนำประเทศมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ" น.ส.อัยรินทร์ กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...