เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาลอาญาพระโขนง ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๖๗ (ขึ้นศาล) ภายใต้ความร่วมมือ Mou ระหว่าง หลักสูตรสันติศึกษา มจร ร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม เป็นความร่วมมือเพื่อการป้องกันความขัดแย้ง แก้ไขความขัดแย้ง เยียวยาความขัดแย้ง ปัจจุบันศาลเป็นที่พึ่งแรกของประชาชนคือไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ไม่รอให้ฟ้องร้องกันแล้ว โดยมีคดีความเพื่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง เป็นการคุยกันก่อนฟ้อง หรือฟ้องแล้วก็สามารถคุยกันได้ ศาลอาญาจึงมุ่งไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยไม่อยากตัดสินให้ฝ่ายใดแพ้หรือชนะ เพราะตัดสินต้องตามหลักฐานแต่การไกล่เกลี่ยจะหาความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายร่วมกัน ประเด็นคือทำอย่างไรจะชนะไปด้วยกัน จึงต้องหาความต้องการที่แท้จริงเพื่อรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภายใต้คำว่า "ใจจบ ข้อพิพาทจบ คดีความยุติ สังคมสันติสุข" อย่างยั่งยืน
เพราะในเวลามนุษย์มีความขัดแย้ง มนุษย์มักจะบอกว่า #ปัญหาเกิดจากคนอื่น ทำอย่างไรเราจะทำให้ #ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เราจึงต้อง #เน้นการแก้ปัญหาร่วมกัน เน้นความสัมพันธ์เป็นการร่วมมือการแก้ปัญหาที่เน้นความสัมพันธ์ร่วมกัน จะต้องร่วมกันแก้ปัญหาจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ร่วมกัน ทำให้นึกถึงทฤษฏีการแบ่งเค้ก การที่เด็กต้องการเค้กความต้องการที่แท้จริงต้องการเค้กจริงหรือไม่ ถ้าเราแบ่งเค้กให้เด็ก ๒ คน ถือว่าเป็นการตัดสินไม่ถือว่าเป็นการประนีประนอม ควรจะให้เด็กมีสิทธิ์เลือกเคักด้วยเด็กเอง ให้มีความพึงพอใจ
จึงมีคำกล่าวว่า #ความยุติธรรมเท่านั้นที่จะแก้ไขความขัดแย้ง ถือว่าไม่เป็นความจริง จะมุ่งเน้นแต่แก้ปัญหาไม่ได้ จะต้องเน้นความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีความขัดแย้ง เราต้องเน้นความสัมพันธ์ให้จิตใจคู่ขัดแย้งได้ปลดปล่อยจากความทุกข์ การแก้ไขความขัดแย้งจึงอยู่ ๓ ภายใต้ ประกอบด้วย อำนาจ สิทธิ และความต้องการที่แท้จริง การจัดการความขัดแย้งจะต้อง #ให้สองฝ่ายร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเอง ผู้ประนีประนอมจะต้องทำหน้าที่เป็น Fa คือ ผู้อำนวยการให้เกิดการพูดคุยโดยให้คู่ขัดแย้งร่วมแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งเน้นการหาความต้องการที่แท้จริง ผลลัพธ์ของการแก้ไขความขัดแย้ง ประกอด้วย ๑)ไม่แพ้ก็ชนะ ๒)ได้อย่างเสียอย่าง ๓)ยังไม่สามารถยุติปัญหาได้ ๔)ไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาได้
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นการระงับข้อพิพาททางศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๐ ไม่ว่าการพิจารณาคดีจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ให้ศาลมีอำนาจไกล่เกลี่ยให้คู่ความได้ตกลงกันหรือ ประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจึงเป็นการยุติหรือระงับข้อพิพาท ด้วยความตกลงยินยอมของคู่พิพาทเอง โดยผู้ไกล่เกลี่ยเป็นคนกลางคอยช่วยเหลือ แนะนำ เสนอแนวทางในการยุติ การไกล่เกลี่ยจึง สะดวก รวดเร็ว ประหยัด เป็นธรรม
ผลของการประนีประนอมในวันนี้ถือว่า คู่กรณีสามารถหาทางออกร่วมกันอย่างพึงพอใจทั้งสองฝ่าย โดยวิเคราะห์ผ่านอริยสัจโมเดลประกอบด้วย ๑)มีความขัดแย้งถือว่ามีความทุกข์ภายในและทุกภายนอก (ทุกข์) ๒)ต้องวิเคราะห์เชิงลึกว่าขัดแย้งกันเพราะสาเหตุมาจากอะไร อะไรคือรากเหง้าที่แท้จริงของประเด็นความขัดแย้ง (สมุทัย) ๓)เป้าหมายของการประนีประนอมหรือพูดคุยกันในครั้งนี้คือต้องการยุติความขัดแย้งโดยเกิดความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย (นิโรธ) ๔)เป็นวิธีการเป็นกระบวนการเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่การยุติความขัดแย้ง โดยการไกล่เกลี่ยถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถยุติข้อพิพาทได้ ซึ่งในการไกล่เกลี่ยมีหลากหลายเทคนิคซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จ (มรรค) ซึ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมรรควิธีเป็นหัวใจสำคัญที่สุด "จงไกล่เกลี่ยแต่อย่าเกลี้ยงกลอม ตะล่อม ข่มขู่ บังคับ ใช้อำนาจเหนือให้ยอม"
โดยย้ำเสมอว่าไกล่เกลี่ยเป็นความสมัครใจทั้งสองฝ่าย ถ้าคู่กรณีรู้สึกว่าไม่เป็นกลางสามารถออกจากกระบวนการไกล่เกลี่ยได้ทันที ผู้ประนีประนอมประจำศาลจึงต้องมีความเป็นกลางมากที่สุด จึงขออนุโมทนาบุญกับท่านอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาพระโขนงและคณะทำงาน ในการขับเคลื่อนการประนีประนอมอย่างต่อเนื่อง เป็นที่พึ่งเป็นทางออกของประชาชนที่มีความทุกข์ความขัดแย้ง นับว่าเป็นนโยบายที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ล่าสุดศาลอาญาพระโขนงได้รับรางวัลศาลดีเด่นที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
มีโอกาสได้ร่วมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกับ ดร.คชาภรณ์ วรวงศ์พิสิฐกุล หัวหน้ากลุ่มงานเลขานุการคณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล และ จบ ดร.สันติศึกษารุ่นแรกรุ่นเดียวกัน โดยวันนี้ร่วมไกล่เกลี่ย ๓ ข้อพิพาท ประกอบด้วย ๑)คดีที่ฟ้องร้องกันแล้ว สามารถไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ ๒)ข้อพิพาทก่อนฟ้อง ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ นัดอีกครั้ง ๓)คดีฟ้องร้องกันแล้ว ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ นัดอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น