วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567

สมเด็จพระพุทธโฆศษาจารย์เป็นประธานในพิธี อัญเชิญพุทธปฏิมา "พุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา" ประดิษฐานหน้า "มจร" วังน้อย



เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567  สมเด็จพระพุทธโฆศษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพุทธปฏิมา "พุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา"  ประดิษฐานหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 



 


 สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวสัมโมทนียกถา ตอนหนึ่งว่า ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์  ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เป็นปูชนียบุคคลของมหาจุฬา ฯ เป็นที่เคารพนับถือของลูกศิษย์ เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เฉพาะให้กับชาวมหาจุฬา ฯ ลูกศิษย์เท่านั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาวพุทธทั่วไปด้วย อาจารย์จำนงค์ เป็นผู้ทำให้มหาจุฬา ฯ มีชีวิต หากนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนามหาจุฬา ฯ เมื่อวันที่  13 กันยายน 2439 ตอนนั้นมหาจุฬา ฯมีแต่ชื่อและสถานที่  ยังไม่มีชีวิต 50 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม  ช้อย  ทานทตฺโต อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สังฆมนตรีฝ่ายปกครอง ประชุมร่วมกับพระสงฆ์จำนวน 37 รูป ต้องการฟื้นฟูมหาจุฬา ฯ เปิดการศึกษา อาจารย์จำนงค์ จึงสมัครเป็นพระนิสิตรุ่นแรก พร้อมกับพระนิสิตอีก 7  รูป ความเป็นมหาจุฬา ฯ จึงเกิดขึ้น มีชีวิต ผู้พูด (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เข้าเรียนปี พ.ศ.2499 ยุคนั้นฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่เอา ฝ่ายบ้านเมืองบางคนพูดจนกระทั้งว่า อย่าว่าแต่ฝ่ายบ้านเมืองไม่เอามหาจุฬาฯ เลย แม้แต่คณะสงฆ์ก็ไม่เอา  ซึ่งก็เป็นจริง เพราะเจ้าอาวาสบางวัดมีกฎเกณฑ์ว่าใครเรียนมหาจุฬา ฯ ต้องไล่ออกหรือห้ามอยู่วัดนี้ ชาวมหาจุฬา ฯ ก็ดิ้นรนจนปี พ.ศ. 2512 มหาเถรสมาคม จึงมีมติยอมรับว่า มหาจุฬา ฯ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของคณะสงฆ์ และก็มีพยายามเรื่อยมาอยากให้ฝ่ายบ้านเมืองรับรอง จนถึงปี 2540 รัฐบาลจึงรับรองให้มหาจุฬา ฯ เป็น มหาจุฬา ฯ โดยสมบูรณ์ ซึ่งก็มีอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ นี่แหละเป็นส่วนสำคัญผลักดันจนสำเร็จ

“เมื่อเราเอาปี 50 ปีเป็นตัวกำหนด ปี 2439 เป็นปีสถาปนา ปี 2590 มหาจุฬา ฯ เปิดเรียน ทำให้มีชีวิต นับต่ออีกมา 50 ปี คือ พ.ศ. 2540 มหาจุฬา ฯ ฝ่ายบ้านเมืองรับรองมีพระราชบัญญัติ หลังจากมีชีวิตแล้ว ก็ฝั่งรากฐาน และพัฒนาจนมั่นคงเจริญก้าวหน้า อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ จึงมีปณิธาน มีดำริคิดจะสร้างพระพุทธปฎิมา ประกาศให้ชาวโลกรู้ถึงความเจริญก้าวหน้าของมหาจุฬา ฯ จึงสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน”

ส่วนนางสาวเพ็ญศรี ชั้นบุญ  ประธานคณะทำงานสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา และสร้างฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กล่าวว่า “เจ้าประคุณประสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประทานนามพระพุทธปฏิมาองค์นี้ว่าพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินฺธรบวรศาสดา เป็นพระพุทธรูปมีขนาดหน้าตักความกว้าง 5 เมตร  ความสูง 6 เมตร 30 เซนติเมตร  มีน้ำหนัก 4.5  ตัน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาที่หล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์ฯ ดำเนินการในนามคณะศิษยานศิษย์ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต รับเป็นเจ้าภาพเงินจำนวนเงิน 40  ล้านบาท และอีกส่วนเป็นงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นรมณียพุทธอุทยานอีกจำนวนเงิน 30  ล้านบาท สิ้นงบประมาณในการสร้างทั้งหมด  รวมเป็นจำนวน 70 ล้านบาท”

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...