วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567

"กมธ.ศาสนาฯสภาฯ" ลงพื้นที่เมืองคอน พร้อมหนุนวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก

 



เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567  เวลา 09.30 น. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบสักการะพระธรรมวชิรกร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 (ธรรมยุต) พระธรรมวชิรกรได้ให้โอวาทและฝากผลักดันให้วัดพระมหาธาตุ ที่มีการผลักดันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาเป็นเวลานาน  ให้ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการได้ลงพื้นที่เข้าชมบริเวณโดยรอบของวัดพระมหาธาตุ พร้อมทำพิธีห่มผ้าพระธาตุฯ สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย





1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ  2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง  3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ  4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ  5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ  6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ  7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ  8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  


9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ  13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ 14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ  15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ  16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ 17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ  18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ 20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ

จากนั้น คณะกรรมาธิการเข้ารับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนให้พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลกจากผู้แทนส่วนราชการ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 1.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช 2.) ผู้อำนวยการกองโบราณคดี นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน 3.) ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช 4.) วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช 5.) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในจุดเด่นของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือพระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งมีความสูง 37 วา 2 ศอก 1 คืบ (55.99 เมตร) นอกจากนี้ยังมีวิหารสำคัญหลายหลัง เช่น 1.) พระวิหารหลวง สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม กษัตริย์แห่งอยุธยา ต่อมาวิหารทรุดโทรมลง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช สมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ใน พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2382 วิหารหลังนี้จึงมีคุณค่าในแง่ของการ สืบทอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์จากสมัยอยุธยา 2.) วิหารธรรมศาลาและวิหารพระด้าน สันนิษฐานว่าวิหาร สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1919 เพื่อทำหน้าที่เป็นวิหารทิศตะวันออก และทำหน้าที่เป็นศาลาอเนกประสงค์ และการเทศนาธรรม ส่วนวิหารคดสร้างขึ้นภายหลังเพื่อล้อมรอบผังทำให้เกิดพื้นที่เขต พุทธาวาส และเป็นขอบเขตของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ 3.) พระมหาธาตุเจดีย์และเจดีย์ราย เป็นการสถาปนา พระมหาธาตุเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเจดีย์รายทรง ระฆังที่มีจำนวนมากที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ที่ฐานเจดีย์มีวิหาร ทับเกษตรซึ่งมีช้างล้อม ถือเป็นมหาสถูปที่สร้างตามคติพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ 4.) วิหารพระทรงม้าและวิหารเขียน วิหารพระทรงม้า เป็นวิหารที่อยู่ต่อจากวิหารเขียน มีหลังคาคลุมบันไดขึ้นสู่ลาน ประทักษิณขององค์พระมหาธาตุเจดีย์ ภายในมีประติมากรรม ปูนปั้นตอนออกบรรพชาอุปสมบท (มหาภิเนษกรมณ์) ที่งดงามยิ่ง 5.) วิหารโพธิ์ลังกา เป็นสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยนำหน่อต้น พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้มาปลูกไว้กลางวิหาร

คุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร Outstanding Universal Value (OUV) of Wat Phra Mahathat Woramahawihan วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารมีคุณค่าอันโดดเด่นสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ศูนย์มรดกโลกกำหนดไว้ในเกณฑ์ข้อ i และ vi ดังนี้ เกณฑ์ข้อ (i) แสดงออกถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่า ของมนุษย์ตามกาลเวลาในพื้นที่วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง ของโลกในแง่สถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี ศิลปะที่คงทน ถาวร ผังเมืองและการออกแบบภูมิทัศน์ และเกณฑ์ข้อ (vi) มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือเห็นสัมพันธ์เชิง รูปธรรม กับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ กับความคิด หรือความเชื่อ หรืองานศิลปะและวรรณกรรมที่มีความสำคัญและ มีความโดดเด่นเป็นสากล

สำหรับกรอบเวลาที่คาดว่าจัดทำเอกสารนำเสนอเป็นมรดกโลก (Nomination Dossier) มีดังนี้   5 ม.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dossier ถึงอธิบดีกรม (เพื่อเสนอต่อคณะทำงานของกระทรวงวัฒนธรรม)  1 ก.พ. 2567 รับผลการตรวจแก้แนะนำเอกสาร Nomination Dossier  1 มี.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dosser (ฉบับภาษาไทย) ที่แก้ไขแล้ว ถึงคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาความถูกต้อง  1 เม.ย. 2567 แปลและพิมพ์ต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) + ภาคผนวก  1 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณาอนุมัติ  15 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ และลงนามใน ฐานะผู้แทนรัฐภาคี  30 ก.ย.2567 รัฐบาลไทยส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังองค์การยูเนสโกเพื่อรับการพิจารณา 15 พ.ย. 2567 สำนักเลขานุการศูนย์มรดกโลกตอบรัฐภาคีในเรื่องข้อคิดเห็นและการพิจารณาทบทวนร่าง แฟ้มเอกสารนำเสนอ โดยระบุถึงข้อมูลที่ยังขาดตกบกพร่องและจุดผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข ให้ถูกต้อง  1 ก.พ. 2568 วันสุดท้ายของการได้รับแฟ้มเอกสารนำเสนอ (Nomination Dossier) ที่สมบูรณ์ใน การพิมพ์ตามรูปแบบ เพื่อส่งต่อไปยังองค์กรที่ปรึกษา (Advisory Bodies) ที่เกี่ยวข้องทำการประเมิน

อย่างไรก็ตามนางเทียบจุฑา กล่าวว่า กรรมาธิการใน รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา129 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ รวมถึงการสอบหาข้อเท็จจริงนั้น ตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นเป็นมรดกโลก(World Heritage) ของ UNESCO ในประเทศไทย อันจะเป็น Soft power ของไทยต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...