วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567

"ผอ.สันติศึกษาป.โท มจร" ร่วมบวชเณรภาคภาคฤดูร้อน ๑๓๐ รูป เพื่อเรียนต่อทางธรรมบาลีและมหาจุฬาฯ



วันที่ ๓๑  มีนาคม ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนกับพระอาจารย์บุญชู พุทธิญาโณ, ดร. วัดป่าพรหมนิมิตร  อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งดูแลกระบวนการการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน จำนวน ๑๓๐ รูป  โดยมุ่งสร้างศาสทายาทรุ่นใหม่ปั้นดินให้เป็นดาวเปิดโอกาสเด็กรุ่นใหม่ในชนบทเข้าถึงระบบการศึกษา โดยท่านพระอาจารย์บุญชูเป็นพระสงฆ์ที่มีความมุ่งมั่นทำจริงมีศิลปะในการพัฒนาสามเณรอย่างดียิ่ง  โดยพระมหาเถระในคณะสงฆ์ได้ไว้วางใจให้ขับเคลื่อนการพัฒนาศาสนทายาท   

ถือว่าเป็นการพัฒนาเยาวชนตั้งแต่ต้นทาง ในการพัฒนาศาสนทายาท จึงสร้างแรงบันดาลศาสนทายาทเพื่อการรู้ตื่นและเบิกบาน ซึ่งหนทางเดียวจะเข้าใจการศึกษาจะต้องบวชเรียนเป็นสามเณร โดยโลกที่ปรับแบบหักศอกวิกฤตศาสนทายาทต้องช่วยกันสืบสานรักษาต่อยอด ในสภาพปัจจุบันศาสนทายาทถือว่าวิกฤตด้วยหลายสาเหตุปัจจัย ซึ่งศาสนทายาทในที่นี่คือ "น้องสามเณร" ผู้จะสืบสาน รักษา ต่อยอด พระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองมั่นคงต่อไป 

ส่วนตัวเคยเป็นสามเณรมา ๑๐ ปี ตั้งแต่ปี ๒๕๓๙  เข้าใจบริบทคำว่าสามเณรเป็นอย่างดียิ่ง ถึงกาลเวลาอาจจะต่างกันบ้างแต่ความเป็นสามเณรก็คือสามเณร จึงนิยามศัพท์ คำว่า "สามเณร" ว่า เป็นเด็กผู้ซึ่งอยากจะมีโอกาสทางการศึกษา หนทางเดียวที่จะได้เข้าถึงการศึกษาได้เรียนเขียนอ่านคือต้องบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อนเท่านั้น ซึ่งครูบาอาจารย์หลายรูปท่านล้วนเติบโตมาจากสามเณร เมื่อได้โอกาสจึงอยากให้โอกาสบ้างเช่นกัน สิ่งเดียวที่อยากย้ำเตือนสามเณรคือ "การศึกษาเท่านั้นพาชีวิตรอด" จะศึกษาอะไรก็ตามที่เป็นสัมมาทิฐิย่อมนำไปชีวิตรอด แต่ให้เชี่ยวชาญลงลึกรู้จริงอย่างลึกซึ้งในการศึกษานั้น   

การพัฒนาศาสนทายาทจึงมุ่งพัฒนาตามกรอบของการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืนตามแนวทางของพระพุทธเจ้า คือ หลักภาวนา ๔ อันประกอบด้วย 

๑)ด้านกายภาพ  มุ่งพัฒนาภายนอก ด้านบุคลิกภาพ ท่าทีที่มีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อม ยอดไม้อ่อนโยนยอดคนอ่อนน้อม มีการเข้าใจในด้านกาลเทศะ รู้จักชุมชนตามสัปปุริสธรรม   

๒)ด้านพฤติภาพ  มุ่งพัฒนาการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เคารพในความแตกต่าง เป็นสันติวัฒนธรรม มีฐานของศีลอันเป็นความปกติสุขในการอยู่ร่วมกัน มีพฤติกรรมเป็นต้นแบบที่ดี    

๓)ด้านจิตตภาพ มุ่งพัฒนาทางด้านจิตใจให้มีความเข้มแข็งรู้เท่าทันสิ่งที่เข้ามากระทบ เมื่อเจอสถานการณ์ใดๆ ก็สามารถผ่านพ้นอุปสรรคและสภาพปัญหาได้เป็นอย่างดี มีความสงบสุขเพราะสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี 

๔)ด้านปัญญาภาพ  มุ่งพัฒนาด้านปัญญาคือสามารถเลือกระหว่างสิ่งดีกับสิ่งไม่ดี มีปัญญากำกับชีวิตทุกลมหายใจ สามารถดำเนินชีวิตให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

จึงขออนุโมทนาบุญกับกัลยาณมิตรทุกท่านที่สนับสนุนอุปถัมภ์มีส่วนร่วมในครั้งนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศาสนทายาทให้รู้ตื่นและเบิกบาน เป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอด ศาสนบุคคลของพระพุทธศาสนา ขอบุญรักษาพระรัตนตรัยคุ้มครอง มีปัญญาบารมี มีทรัพย์ภายนอกทรัพย์ภายใน สืบไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์ “พระธรรมราชานุวัตร” ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ “พระพรหมวชิโรดม”

เมื่อวันที่  8 พฤษภาคม 2567    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ความว่า