วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567

มิตรภาพสันติภาพสองศาสนา ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ หยุดเพิ่มคนไม่มีศาสนา



เมื่อวันที่ ๔  มีนาคม  ๒๕๖๗ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสาขาวิชาสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และพระอาจารย์วีระศักดิ์ ชยธมฺโม ร่วมสันติสนทนาและถอดบทเรียนมิติของศาสนาคริสต์ในโลกยุคใหม่ที่มีการปรับตัวให้สอดรับกับโลกที่มีความเปราะบางผ่านการสังเคราะห์คนในชุมชนและสังคมอย่างเป็นระบบ ณ The Salvation Army Kroc Center Dayton  เมืองเดย์ตัน รัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา โดยได้รับการต้อนรับและสันติสนทนาพร้อมเดินชมกิจกรรมผ่านศาสนาคริสต์ที่เป็นวิถีชีวิต ซึ่งสอดรับกับรายวิชาในระดับปริญญาโท ประกอบด้วย ขันติธรรมทางศาสนา การสื่อสารอย่างสันติ สุนทรียเสวนา ฐานสำคัญคือเคารพกันแม้จะมีความแตกต่างกัน เห็นต่างกันในบางเรื่องจะต้อง "เคารพกัน"

จากการสันติสนทนา เป็นการนำเสนอของศาสนาคริสต์มีความเป็นวิถีชีวิตผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้านศิลปะ การเล่นดนตรี  การร้องเพลง  กิจกรรมเคลื่อนไหว การกีฬา การออกกำลังกาย การฝึกสติแบบเคลื่อนไหว ด้านการศึกษา ด้านการช่วยเหลือคนไร้บ้าน มีห้องที่มีความเป็นสัปปายะที่เหมาะแต่ละช่วงวัย มีห้องสมุดให้ศึกษาค้นคว้าตามความต้องการในการเรียนรู้ โดยเคารพในการตัดสินใจของบุคคล โดยเป้าหมายสูงสุดคือสันติภาพในการอยู่ร่วมกัน นับว่าเป็นการออกแบบการนำเสนอศาสนาในรูปแบบใหม่ที่ทุกคนมองว่าเป็นวิถีชีวิต โดยมุ่งไปที่ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ 

จึงมองว่ายิ่งแตกต่างยิ่งต้องมีสันติเพราะพุทธคริสต์มิตรภาพมายาวนาน  จึงต้อง Interfaith for Peace เพราโลกนี้มีศาสนาเดียวไม่ได้ จึงสร้างมิตรภาพสันติภาพสองศาสนา โดยมีสมณะกระทรวงศาสนสัมพันธ์แห่งนครรัฐวาติกัน โดยสมณะกระทรวงศาสนสัมพันธ์แห่งนครรัฐวาติกันเพื่อการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างทางศาสนา เคยกล่าวตอนที่วาติกันว่า "เราจะสร้างสันติภาพระหว่างศาสนา และมุ่งสันติภาพในศาสนาแต่ละศาสนา ศาสนาสร้างสันติภาพจึงเป็นมิตรที่แท้จริง"  โดยสันติภาพมิตรภาพระหว่างสองศาสนามีความเข้มแข็งอย่างยิ่งยาวนาน  จึงมุ่งการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างจึงต้องทำความเข้าใจระหว่างศาสนา 

ศาสนาพุทธกับศาสนาคริสต์สามารถอยู่ร่วมกันได้แม้จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะทำร่วมกันในการสร้างสันติภาพร่วมกัน โดยมอง คำว่า Interfaith for Peace จึงมีความสำคัญ โดยปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ผ่านแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างใจกว้าง โดยปฏิเสธการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ในฐานะทำงานเกี่ยวกับสันติศึกษา จึงมุ่ง  Interfaith for Peace เป็นการแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง ทุกศาสนาควรเป็นผนึกกำลังเพื่อป้องกันการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ซึ่งรูปแบบของ Interfaith for Peace ควรเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้จะทำงานด้านสันติภาพจะต้องเข้าใจในInterfaith อย่างลึกซึ้งจึงมีวิชาหนึ่งของผู้เรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มจร 

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มจร เสนอมุมมองกระบวนการพัฒนาขันติธรรมทางศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะขันติธรรมเป็นฐานของการสร้างความเข้าใจกัน ถือว่าเป็นกระบวนการในการสันติสนทนาผ่าน Interfaith for Peace ระหว่างศาสนา ซึ่งใช้ฐานขันติธรรมทางศาสนา คือ เคารพ เรียนรู้ ยอมรับ ให้เกียรติ ท่ามกลางความแต่งต่าง

ถือว่าเป็นการป้องกันความขัดแย้งที่ดีที่สุด สิ่งหนึ่งในการทำงานด้านสันติภาพจะต้องมีความอดทน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Tolerance หมายถึง “ความอดทน การยอมรับความแตกต่าง ขันติธรรม การทนกันได้” การยอมรับความแตกต่างของแต่ละบุคคลเป็นพื้นฐานของการป้องกันความขัดแย้งและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ พระพุทธเจ้าทรงยึดอุดมการณ์ของการเผยแผ่ด้วยการมีขันติธรรมซึ่งพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งขันติวาทีจึงต้องศึกษา“ขันติธรรมทางศาสนากรณีพุทธศาสนา:Religious Tolerance A Case of Buddhism”  ให้ความหมายของขันติธรรม (Tolerance) หมายถึง “The ability or willingness to tolerate something,in particular, the  existence of opinions or behavior that one does not necessarily agree with.” และ “a fair and permissive  attitude toward  those  whose opinions, practices,race,religion,nationality,etc., differ from one’s own.” ส่วนความหมายของขันติธรรมทางศาสนา (Religious Tolerance) หมายถึง Religious tolerance is the willingness to accept and permit religious beliefs and  practices which disagree with one’s own. For individuals, religious tolerance generally means acceptance of other people’s religions. It does not mean believing that other religions are equally true, but that others have the right to hold and practice their beliefs. With a nation or ethnic  group, it is acceptance  of the right to hold  beliefs  that  differ  from  the  dominant religion, worship freely according to these  beliefs and attempt to peacefully convince  others to convert  to that faith.  

โดยองค์ประกอบสำคัญของขันติธรรมทางศาสนาประกอบด้วย ๑)การอนุญาต (Permission) ๒)การอยู่ร่วม (Coexistence) ๓)การเคารพ (Respect)๔)การยอมรับ (Appreciation/Acceptance)”

ขันติธรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับทางแห่งความหลุดพ้น เพราะความใจแคบทางศาสนาขัดขวางหนทางแห่งความหลุดพ้น การเบียดเบียนทางศาสนาขัดขวางหนทางแห่งความหลุดพ้น ซึ่งหากไร้ขันติธรรมทางศาสนาย่อมไร้ความหลุดพ้นแต่ถ้ามีความหลุดพ้นก็มีขันติธรรมทางศาสนาเป็นของคู่กัน ความเป็นชาวพุทธวัดกันที่ขันติธรรมตามหลักโอวาทปาติโมกข์

กล่าวว่า “ขันติคือความอดได้ทนได้เป็นตบะอย่างยิ่ง นิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ” ขันติธรรมจึงเป็นความใจกว้างทางศาสนาพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา กล่าวติเตียนพระธรรม กล่าวติเตียนพระสงฆ์ พวกเธอไม่ควรผูกอาฆาตแค้นเคืองขุ่นใจคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอโกรธเคืองหรือไม่พอใจพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตรายเพราะความโกรธเคืองนั้น”  

ขันติธรรมทางศาสนาจึงไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลายเขาด่า ก็ไม่ด่าตอบ เขาเสียดสี ก็ไม่เสียดสีตอบ เขาประหาร ก็ไม่ประหารตอบอย่างนี้แหละสมณะจึงจะชื่อว่าตั้งอยู่ในสมณธรรม” 

โดยพระพุทธเจ้าตรัสกับพระปุณณะว่า“ปุณณะมนุษย์ชาวสุนาปรันตะนั้น มีความดุร้าย รุนแรง เมื่อท่านไปอยู่ถ้าเขาจะด่าจะบริภาษท่าน ท่านจะทำอย่างไร พระปุณณะตอบว่า ถ้าเขาด่า ข้าพระองค์จะคิดว่าก็ยังดีที่เขาด่า ไม่ถึงกับเอามือทุบตี”และความใจกว้างทางศาสนากรณีพระเจ้าอโศกมหาราช ข้อความว่า “บุคคลผู้กระทำการเคารพบูชาลัทธิศาสนาอื่นด้วยเช่นนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ส่งเสริมลัทธิศาสนาของตนให้เจริญด้วย และทั้งในเวลาเดียวกันก็เป็นการเอื้อเฟื้อต่อลัทธิศาสนาอื่นด้วย แต่เมื่อกระทำด้วยวิธีตรงกันข้าม ย่อมชื่อว่าเป็นการทำลายลัทธิศาสนาของตนเองด้วยและเป็นการทำร้ายแก่ลัทธิศาสนาของคนอื่นด้วย”

หลักขันติธรรมทางพระพุทธศาสนายึดความเป็นสากล ๓ อย่าง ประกอบด้วย ๑) ความจริงสากล (Universal Reality) ๒) ความเป็นมนุษย์สากล (Universal Man) ๓) ความรักสากล (Universal Love) ถือว่าเป็นสันติสนทนา หรือ Peace Dialogue หมายถึง การสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมานั่งคุยและฟังกันจริงจังว่าอีกฝ่ายคิดและรู้สึกอย่างไร และเพราะเหตุใดจึงคิดและรู้สึกเช่นนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆต่อไป อาจจะเรียกต่างกันคือ สุนทรียสนทนา การสนทนาชำระใจ การสื่อสารภายใต้การกำกับควบคุม การแก้ไขความขัดแย้งโดยมีผู้อำนวยการพูดคุย การแก้ไขปัญหาด้วยการสื่อสารระหว่างกัน สานเสวนา เป็นการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ในสันติสนทนาเจตนาไม่ใช่เอาชนะ  แต่เพื่อสอบถาม ไม่ใช่โต้แย้ง แต่เพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่ให้คนอื่นเห็นตามเรา 

แต่เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ซึ่ง Dialogue สามารถแบ่งออก ๔ ประการ คือ ๑)Dialogue of Action ๒)Dialogue of Theological  Exchange ๓)Dialogue of Religious Experience ๔)Dialogue of Life ซึ่ง Dialogue สามารถทำให้เราพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนที่มีความเชื่อทางศาสนาที่แตกต่างกัน ด้วยการใส่ใจซึ่งกันและกัน หัวใจของสันติสนทนา คือ การสะท้อนสิ่งที่อยู่ในใจของตนและรับฟังสิ่งที่อยู่ในใจของผู้อื่น "ด้วยการฟังด้วยหัวใจ" ถือว่าเป็นมิติอันดีในการเสริมสร้างสังคมสันติสุขต่อไป   

ดังนั้น การเดินทางมาThe Salvation Army Kroc Center Dayton  ในครั้งนี้ถือว่าเป็นการถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้มิติการนำเสนอของศาสนาคริสต์ยุคใหม่สำหรับคนรุ่นใหม่ โดยมุ่งกิจกรรมที่สอดรับกับวิถีชีวิตโดยไม่แยกศาสนาออกจากวิถีชีวิต สอดรับกับคำว่า  "ศาสนาคือชีวิต ชีวิตคือศาสนา" จะทำให้คนยังมีศาสนาต่อไป  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...