วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

"อับราฮัมลินคอล์น" ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่๑๖ ผู้เข้าใจคนจน



วันที่ ๗  กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท, ดร. โค้ชสันติ และ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)   ถอดบทเรียนAbraham Lincoln Birthplace National Historical Park ถือว่าเป็นบ้านเกิดของท่านอับราฮัม ลินคอล์นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ ในบรรดาผู้นำประเทศที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ “สหรัฐอเมริกา” ต้องมีชื่อ อับราฮัม ลินคอล์น ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ ๑๖ ผู้มีส่วนสูง ๑๙๓ เซนติเมตร เจ้าของวลี "รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน" รวมอยู่ด้วย

ท่านลินคอล์น เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๐๙  ณ เมืองฮ็อดเจนวิลล์ (Hodgenville) รัฐเคนทักกี ชีวิตในวัยเด็กเขาอาศัยอยู่ในรัฐเคนทักกี อินเดียนาและอิลลินอยส์ พ่อและแม่ของเขามีฐานะยากจน ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากการอ่านหนังสือเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อในปี ๑๘๓๖ เขาได้เป็นทนายความประจำอยู่ที่เมืองสปริงฟิลด์ รัฐอิลลินอยส์ ด้วยคุณสมบัติที่เขาเป็นนักกฏหมาย ทำให้ลินคอล์นได้เข้าไปนั่งอยู่ในสภานิติบัญญัติแห่งรัฐตั้งแต่ปี ๑๘๓๔  ถึง ๑๘๔๒ 

ในปี ๑๘๔๖ ลินคอล์นได้เข้าสู่สภาคองเกรส ๑๐ ปีต่อมา เขาได้เข้าร่วมพรรครีพับลิกัน และในปี ๑๘๖๐  เขาถูกเสนอชื่อเป็นผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ในช่วงการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ลินคอล์น มีนโยบายคัดค้านเรื่องทาสที่ชัดเจน นั่นทำให้ความนิยมของทางอเมริกาตอนใต้ที่มีต่อลินคอล์น แทบจะไม่มีให้แม้แต่รัฐเดียว แตกต่างกับอเมริกาทางตอนเหนือที่นิยมชมชอบในตัวของลินคอล์น

เขาได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งในปีเดียวกัน แม้ว่าจะได้รับคะแนนความนิยมแค่ร้อยละ ๔๐ ทั่วประเทศ แต่ก็ถือว่าเป็นผู้สมัครจากพรรครีพับลิกันคนแรกที่ขึ้นถึงตำแหน่งประธานาธิบดี และชัยชนะของเขาทำให้เกิดวิกฤตอันเนื่องจากชาวอเมริกันตอนใต้หลายส่วนกังวลว่าเขาจะยกเลิกทาสในตอนใต้ ๗ รัฐทางตอนใต้แยกตัวมาตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) จนต่อมาเกิดสงครามกลางเมืองขึ้น

ลินคอล์น เข้าสาบานตนรับตำแหน่ง ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ ๑๖ ในวันที่ ๔ มีนาคม ๑๘๖๑  และในวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๑๘๖๓ ลินคอล์น กล่าวสุนทรพจน์ใกล้กับสมรภูมิเกตตีสเบิร์ก (Gettysberg) ใจความตอนหนึ่งว่า

"THAT THESE DEAD SHALL NOT HAVE DIED IN VAIN - THAT THIS NATION, UNDER GOD, SHALL HAVE A NEW BIRTH OF FREEDOM - AND THAT GOVERNMENT OF THE PEOPLE, BY THE PEOPLE, FOR THE PEOPLE, SHALL NOT PERISH FROM THE EARTH.”

“เราจะไม่ให้การตายของพวกเขาสูญเปล่า ที่ประเทศนี้ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระเจ้าจะมีอิสรภาพที่เกิดใหม่ และที่รัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะยังคงอยู่บนโลกต่อไป

จึงรับแรงบันดาลใจกับท่านอับราฮัม ลินคอล์น เป็นบุรุษทางการเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของโลก เขาได้รับการยกย่องเป็นต้นแบบของการเลิกทาส ขณะที่ช่วงการดำรงตำแหน่งของเขา สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับสงครามกลางเมืองระหว่างรัฐฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้

ในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๑๘๖๓  เกิดการรบกันขึ้น ณ เมืองเล็กๆ ชื่อเกตตีสเบิร์ก ทั้งสองฝ่ายมีกำลังพลรวมกัน ๑๗๐,๐๐๐ คน นับเป็นการรบครั้งใหญ่ที่สุดในสงครามกลางเมืองอเมริกัน และนับเป็นการรบที่นองเลือดที่สุด ผลของการรบนี้ เป็นครั้งแรกที่ฝ่ายใต้ประสบความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ และต้องล่าถอยทัพไปยังเขตตน

“ประเทศนี้ ภายใต้พระผู้เป็นเจ้า จักได้เสรีภาพที่เกิดใหม่ และรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะไม่มลายไปจากโลก” ถือว่าเป็นวรรคทองจากคำปราศรัยเกตตีสเบิร์กความยาว ๒ นาทีของลินคอล์นยังดังกึกก้องมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาสงครามกลางเมืองสหรัฐฯ ยุติลง เมื่อกองกำลังฝ่ายใต้ยอมแพ้ให้กับกองกำลังฝ่ายเหนืออย่างไม่มีเงื่อนไข เมื่อวันที่ ๙ เมษายน ๑๘๖๔  หลังจากยืดเยื้อมาเป็นเวลา ๔ ปีเต็มโดยลินคอล์นถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๑๘๖๕  ขณะที่เขาพาภรรยาไปชมละคร ณ โรงละครฟอร์ด และสิ้นใจในวันรุ่งขึ้น ซึ่งท่านลินคอล์นเป็น ๑ ใน ๔ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติเขารัชมอร์ ใบหน้าของเขาปรากฏอยู่บนธนบัตรราคา ๕ ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญราคา ๑  เซนต์

ย้อนไปในวัยเด็กน้อยคนหนึ่งมีความฝันอยากจะเป็นประธานาธิบดี เพราะเกิดจากแรงบันดาลใจจากการอ่าน ผู้คนต่างหัวเราะว่าจะเป็นไปได้อย่างไร ? เป็นความฝันที่เป็นไปไม่ได้   แทนที่เด็กน้อยคนนั้นจะล้มเลิกกลับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาเป็นนักอ่าน ศึกษาหาความรู้  อ่านจนประสบความสำเร็จ  เด็กน้อยคนนี้ " เรียนรู้ความล้มเหลวที่เกิดความผิดพลาด หรือ คำดูถูกต่างๆ แต่นั่นคือ ศาสตร์แห่งความสำเร็จที่ต้องทำด้วยความพยายามให้ถึงที่สุด " เด็กน้อยคนนั้น คือ ลินคอล์น 

ซึ่งท่านอับบราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า "สิ่งที่ข้าพเจ้าควรรู้ ล้วนมีอยู่ในหนังสือทั้งสิ้น" เพราะตัวอักษรในหนังสือเปรียบดั่งสมบัติล้ำค่า องค์ความรู้ที่ถ่ายทอดผ่านการบันทึกชนิดหนึ่งที่เรานิยามว่า "หนังสือ"  หนังสือไม่มีเส้นแบ่ง ไม่มีประเทศ  ไม่มีพรมแดน  ไม่มีเชื้อชาติ  ไม่มีฉลาดหรืออ่อนด้อย ไม่มีรักหรือชัง ไม่มีรวยหรือจน มีแค่จะเปิดอ่านหรือไม่เปิดแค่นั้นเอง  ท่านจึงกล่าวว่า “บรรดาสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการรู้ล้วนมีอยู่ในหนังสือทั้งสิ้น”  นี่คือคำกล่าวที่ทรงคุณค่าและมีความหมายของ "ฮับราฮัม ลิงคอล์น" ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง จากผู้มีต้นทุนชีวิตติดลบ ผลักดันตัวเองจนก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ โดยการเลือกหนังสือ ให้มาเป็นเพื่อนสนิท ใช้อักษรเป็นเครื่องมือพาตัวเองไปสู่จุดหมาย

การอ่านผลักดันให้เด็กชายจนๆ กลายมาเป็นปูชนียบุคคลที่คนทั้งโลกรู้จักและจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ ถือว่าเป็นบุคคลของระดับโลกที่ "สร้างตัวเองด้วยการรักการอ่าน" จึงมีประโยคสำคัญชวนให้คิดมากมายของท่าน คือ "ข้าพเจ้าเป็นคนเดินช้า แต่ไม่เคยเดินถอยหลัง" "การเงียบแล้วปล่อยให้ใครๆ คิดว่าเราโง่ ดีกว่าเปิดปากแล้วข้อสงสัยกระจ่าง" "เมื่อข้าพเจ้าทำดี ข้าพเจ้าจะรู้สึกดี เมื่อทำเลว ก็รู้สึกไม่ดี นั่นแหละ ศาสนาของข้าพเจ้า" "กระสุนไม่ได้ฆ่าใคร ความเกลียดชังต่างหากที่ฆ่าเขา" "จงทำลายศัตรูของท่าน ด้วยการทำให้เขาเป็นมิตร" "ใครก็ตามที่ปฏิเสธเสรีภาพของผู้อื่น ก็ไม่ควรที่จะมีเสรีภาพของตัวเอง" "ข้าพเจ้ายินดีที่จะเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก ดีกว่าจะเป็นปีศาจที่มีชื่อเสียง" "เพื่อนที่ดีที่สุดของข้าพเจ้า ก็คือ คนที่เอาหนังสือที่ข้าพเจ้ายังไม่เคยอ่านมาฝาก" "อย่าทิ้งสิ่งใดในวันพรุ่งนี้ หากเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในวันนี้" "ไม่มีใครดีพอที่จะปกครองใคร ถ้าผู้ถูกปกครองไม่ยินยอมที่จะให้ปกครอง"

การเลิกทาสที่เรารู้จักในสมัยท่านฮับราฮัมลิงคอล์นนั้น  อิทธิพลการเลิกทาสส่งผลถึงรัชากาลที่ ๕ ทำให้ประเทศไทยหมดจากความเป็นทาส ซึ่งต่างกันตรงที่ฮับราฮัมลิงคอล์นอาจใช้ความรุนแรง แต่รัชกาลที่ ๕ ใช้วิธีนุ่มนวลในการเลิกทาสใช้เวลาอย่างยาวนาน ซึ่งพระองค์ทรงใช้กระบวนการสันติวิธี คือ  " นุ่มนวลกับคน แต่จริงจังกับปัญหา " 

สอดรับกับคำว่า จัณฑาล (Dalit) แปลว่า มืดมน  สิ้นหวัง ไร้อนาคต  หรือหนักกว่านั้น เรียกว่า มหาจัณฑาล เรียกในภาษาฮินดีว่า Mahadalit ซึ่งคนนอกวรรณะเหล่านี้ยังแยกออกเป็นกลุ่มย่อยอีก คือ " พวกที่แตะต้องไม่ได้  พวกที่เข้าใกล้ไม่ได้  พวกที่มองดูไม่ได้ "  เหตุมาจากพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะต่างๆ 

จึงมีการแบ่งประชาชนออกเป็น ๔ วรรณะตามศาสนาพราหมณ์ฮินดู ประกอบด้วย ๑) วรรณะพราหมณ์ มีหน้าที่ ติดต่อกับเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรม สั่งสอนด้านศาสนา เป็นครูอาจารย์  ๒) วรรณะกษัตริย์ มีหน้าที่ปกครอง ปกป้องบ้านเมือง เป็นนักรบ ๓) วรรณะแพศย์ มีหน้าที่ประกอบอาชีพค้าขาย หรือ เกษตรกรรม  ๔) วรรณะศูทร มีหน้าที่ กรรมกร ผู้ใช้แรงงาน ทักษะฝีมือต่างๆ   วรรณะทั้ง ๔ เรียกว่า เป็นพวก " สวรรรณะ " คือ คนมีวรรณะ  นับว่าเป็นเกียรติมีฐานะในสังคมอินเดีย แต่ยังมีพวก " อวรรณะ คือ คนนอกวรรณะ " ซึ่งมีชื่อว่า " จัณฑาล หริชน หินชาติ  ปาริหะ  ปัญจมะ  มาหาร์  อธิศูทร"  ซึ่งหมายถึง บุคคลที่เป็นกาลกิณี  ถือว่าเป็นผู้ไม่มีวรรณะ มาจากบิดามารดามีการแต่งงานกันข้ามวรรณะ  เช่น ภรรยาวรรณะพราหมณ์  สามีวรรณะศูทร จะมีลูกเป็นวรรณะจัณฑาล ถือว่าเลวร้ายที่สุด เพราะมีหน้าที่เป็นแค่ ข้าช่วงใช้ หรือ แรงงานทาส อาชีพที่เหมาะคือ กวาดถนน ขนขยะ ล้างท่อ กรรมกร  จึงมีคำกล่าวประชดประชันในสังคมว่า "...แม้ประเทศอินเดียจะมีโครงการส่งยานอวกาศไปยังดวงจันทร์ แต่คนจัณฑาลก็ยังถูกกดให้จมปลักอยู่กับอาชีพที่ใช้แรงงาน..."

ถ้าวิเคราะห์แบบลึกๆ การที่ศาสนาพรหมณ์ฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ เป็นการแบ่งตามหน้าที่ให้ความสำคัญลำดับศักดิ์ศรีสูงต่ำทางสังคม  แต่บางมุมวิเคราะห์ว่า " เรื่องระบบวรรณะจริงๆ แล้วเป็นแผนการของวรรณะกษัตริย์และพราหมณ์สมคิดกันโดยใช้หลักศาสนามาอ้าง เพื่อกดหัวประชาชน ไม่ให้กล้าคิดแข็งข้อขึ้นมาชิงอำนาจและล้มล้างราชวงศ์ของวรรณะกษัตริย์ เพราะวิธีการกดหัวด้วยวิธีกำลังทหารก็อาจไม่เข้มแข็งพอ หรือไม่ยั่งยืน เพราะประชาชนมีจำนวนมหาศาล ดังนั้น วิธีการกดหัวให้ปกครองง่าย คือ ใช้หลักศาสนาควบคุมจิตใจประชาชนไว้"  จึงมองว่า ประเด็นระบบวรรณะ คือ "การใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมแบบระยะยาวนานไม่รู้ตัว"

เรื่องของวรรณะเป็นเรื่องของการเหยียดหยาม  กดขี่   ย่ำยี  ดูหมิ่นเรื่องสีผิว  ผิวดำผิวขาว สอดรับกับเนลสัน แมนเดลา บุคคลผู้ทำวิจัยในคุก จนได้คำตอบของชีวิตและสังคม  ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า " คนเราไม่ใช่ดีเพราะโคตร  ไม่ใช่ดีเพราะตระกูล  ไม่ฝช่ดีเพราะทรัพย์ แต่จะดีหรือจะชั่วอยู่ที่การกระทำของบุคคลนั้นๆ " ทำให้พระพุทธเจ้าเป็นนักปฎิเสธระบบวรรณะ เพราะทุกคนต้องมีความเท่าเทียมกัน เพื่อสันติสุขในสังคม แต่มหาตมะคานธีมองว่า.... " ระบบวรรณะเป็นเอกลักษณ์ของประเทศอินเดีย เป็นระบบอันชาญฉลาดของสังคมอินเดีย ซึ่งภายในระบบวรรณะมีความเท่าเทียมกันภายในวรรณะ "  

จึงขอย้ำว่า วรรณะถ้าแบ่งตามหน้าที่ถือเป็นสิ่งที่ดีงามเพื่อความชัดเจนของหน้าที่  แต่ถ้าแบ่งวรรณะแล้วเพื่อกดขี่ ข่มเหงกันอาจจะนำมาซึ่งความขัดแย้งในสังคม  "ตโปธาราม"  คือ ธารน้ำร้อนที่ไหลผ่านมาและไหลอยู่อย่างนี้ไม่เคยหยุด เป็นการอาบน้ำตามชั้นวรรณะ ถือว่าชัดเจนเรื่องระบบวรรณะในสังคมอินเดีย เพราะระบบวรรณะที่ทำให้อินเดียพัฒนาประเทศยากแม้นายกคนปัจจุบันจะมุ่งกำลังการพัฒนาก็ตาม   เหตุผลคือ  ระบบวรรณะนั่นเองเป็นเงื่อนไขสำคัญ  แต่แววตาของคนอินเดียช่างเป็นแววตาที่มีความสุข มีมนุษยสัมพันธ์ดีนัก เพียงแค่เราสบตาก็เดินตามอารักขาตลอดเส้นทาง แต่ถึงจะวรรณะใด เรามีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เหมือนกันทุกชีวิต



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"วราวุธ" เผย พม.จับมือ พศ.- กรมการศาสนา ตั้งศูนย์คุ้มครองเด็กและสามเณร สร้างพื้นที่ปลอดภัยแก่เด็กและเยาวชนหากถูกละเมิด

เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมยุษย์ (รมว.พม.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเด็ก ...