วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2567

กมธ.ศาสนาฯสภาฯดูงาน ร.ร.ช่างถมเมืองคอน หวังชูเครื่องถมไทย เป็น Soft Power



เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. ที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช (โรงเรียนช่างถม) อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ ได้เข้าศึกษาดูงาน ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

นางเทียบจุฑา กล่าวว่า จากการมา จ.นครศรีธรรมราช ด้วยการแนะนำของ นายษฐา ขาวขำ ผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะกรรมาธิการ ซึ่งมีประเด็นสำคัญ 2 เรื่อง คือดูงานศิลปะ และวัด กรณีของศิลปะ วานนี้ได้ศึกษางานที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่จะผลักดันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากก่อนนี้ที่ผ่านไป 10 ปี ยังไม่คืบหน้า หลังจากกรรมาธิการฯมาผลักดันและประชุมจัดเสวนา ก็เริ่มมีความคืบหน้าทั้งด้านเอกสารและงบประมาณ คาดว่าจะทำให้เกิดความสำเร็จเร็วๆ นี้ 



ตนขอยกตัวอย่างประโยชน์การได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ที่ จ.อุดรธานี ในอดีต เมืองโบราณศรีเทพ มรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย อดีตมีคนมาท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศหลักร้อย ปัจจุบันมาขึ้นถึงหลักพัน ส่งผลถึงการสร้างงานสร้างอาชีพ ลูกหลานก็ไม่ต้องไปทำงานไกล สำหรับเครื่องถม นครศรีธรรมราช มีชื่อเสียง ทั้งนี้ปัญหาอุปสรรคอาจมีในการสนับสนุนจากภาครัฐ ตามที่ นายพิมนศิลป์ ทัพนันตกุล ผู้อำนวยการ ได้ชี้ถึงปัญหาอุปสรรคด้านงบประมาณ ท่าน กมธ. นั้นอยู่กันหลายพรรค นำไปศึกษาได้ข้อสรุปแล้วนำไปเสนอต่อสภา เสนอต่อรัฐบาล ต่อไป



อย่างไรก็ตาม นายพิมนศิลป์ กล่าวว่า การให้งบประมาณปัจจุบันมีการกำหนดระเบียบงบประมาณให้เด็กรายหัว ซึ่งไม่ยุติธรรม การใช้ครูเท่ากัน การสร้างพิพิธภัณฑ์จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ทำไมข้าราชจังหวัดชายแดนใต้เต็มอัตรา งานของเราเหมือนดูแลรากแก้ว ครูเกษียณแต่จ้างเพิ่มไม่ได้ งบรายหัว 5 คน แบกคุณค่าประเทศมากมาย น่าจะมีงบเพิ่มเฉพาะทางด้านศิลปะบ้าง การดูแลวิทยาลัยด้านศิลปะ นำไปสู่ soft power แต่ถูกขีดเส้นไว้ นักเรียนกว่า 80% ทำงานสายตรง ยกตัวอย่างที่ช่างสิบหมู่ แม้นักเรียนจบน้อย แต่คุณภาพมาก



สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 - 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย


1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ

2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง

3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ

4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ

5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ

6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ

7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ

8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ

14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ

18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ

20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร วัดไร่ขิง" เปิดหลักสูตรปั้น "มัคนายก" ต้นแบบ พร้อมใบรับรองเพิ่มความรู้สร้างอาชีพ

 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567   พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ รองผอ.วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ &q...