วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2567

ราคายางพาราขยับถึง 90 บาท ไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล แต่มาจาก “ยางผลัดใบ-โรคใบร่วง”



รัฐบาล ทั้งนายกฯ รมว.เกษตรฯ โฆษกรัฐบาล โฆษณาจังว่ายางพาราราคาพุ่งถึง 90 บาท/กก.เป็นผลงานรัฐบาล อยากให้พูดไปตลอดทั้งปีนะ ถ้ายางพาราราคาตก อย่าบอกนะว่าเป็นกลไกการตลาด เป็นเรื่องของ demand/subply หรือตลาดโลก

นำเรียนว่าช่วงนี้น้ำยางพาราออกสู่ตลาดน้อย ความต้องการยางพาราสูงขึ้นจากหลายปัจจัย ทั้งการเติมโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมการบิน เป็นต้น ล้วนต้องการยางพารา

ส่วนสาเหตุน้ำยางพาราออกสู่ตลาดน้อย มาจาก

-ยางผลัดใบ ช่วงต้นปีของทุกปีจะเป็นช่วงยางผลัดใบ ชาวสวนไม่สามารถกรีดยางได้

-ตั้งแต่ปลายปี 66 มาจนถึงมกราคมปี 67 ภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางพารามีฝนตกต่อเนื่อง ยาวนาน ขาวสวนไม่สามารถออกไปกรีดยางได้

-โรคใบร่วงระบาดในสวนยางพารา โดยระบาดหนักใน 3-4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และลามมาอีกหลายจังหวัด

-โรคใบร่วงยังระบาดไปอีกหลายจังหวัดที่มีการปลูกยางพารา การกรีดยางทำให้น้ำยางลดลง 30-40% และทำให้ต้นยางพาราอ่อนแอลง

-โรคใบร่วงในยางพารา มีมาตั้งแต่ปี 2562 โดยเริ่มระบาดที่อินโดนีเซีย มาถึงมาเลเซีย และเข้ามายังประเทศไทย

-รัฐบาลยังตื่นตัวน้อยกับการแก้ไขปัญหาโรคใบร่วงในยางพารา และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาโรคใบร่วงด้วยซ้ำ       

รัฐบาลอย่าเพิ่งตีปีกดีอกดีใจ โฆษณาว่า การที่ยางพาราราคาขยับตัวขึ้นไปสูงถึง 90 บาท/กก.ว่าเป็นผลงานของรัฐบาล เพราะยังไม่เห็นวิธีการที่ชัดเจนของรัฐบาลในเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาราคายางพารา มีแต่เห็นว่า เร่งปราบปรามการลักลอบนำเข้ายางพาราจากประเทศเพื่อนบ้าน (ยางพาราเถื่อน) ซึ่งยางพาราในประเทศเพื่อนบ้านเรา ยังราคาถูกมาก แต่ 20-30 บาท/กก.เท่านั้นเอง จึงมีการลักลอบนำเข้ามาขายในบ้านเรา      

อยากให้รัฐบาลเอาจริงเอาจังมากกว่านี้ในการปราบปรามการลักลอบนำเข้ายางพาราเถื่อน หรือแม้กระทั่้งยางพาราทรานซิส (ผ่านทาง) ไปยังมาเลเซีย ที่อาจจะตกหล่นขายอยู่ในตลาดบ้านเราก็เป็นไปได้      

ถ้ารัฐบาลเอาจริงเอาจังกับการปราบปราบทั้งยางพาราเถื่อน และยางพาราทรานซิส สาวให้ลึกถึงผู้อยู่เบื้องหลัง แล้วนายกฯเศรษฐา ทวีสิน อาจจะถึงกับร้อง “อัยหย่า ซี้เลี่ยวฮ่า” เพราะอาจจะเป็นคนที่อยู่ไม่ไกลตัวนายกฯก็เป็นได้ 

ยังไม่เห็นรัฐบาลคิดออกมาเป็นนโยบายในการดำเนินการเกี่ยวกีบยางพารา เช่น ที่เคยเป็นนโยบายก่อนหน้านี้ ให้ทุกกระทรวงที่สร้างถนน ต้องวางงบประมาณให้มีส่วนผสมของยางพารา 10% แม้ต้นทุนจะสูงขึ้นบ้าง แต่เป็นการช่วยเหลือเกษตรกร หรือการแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เช่น ที่นอน หมอน ร้องเท้า ตีนกบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำยางพาราไปทำแท่งแบริเอ่อร์ ที่ช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เพราะยางพารามีความยืดหยุ่น ลดการสูญเสีย หรือยาวสะพานตรงถนนโค้ง ก็ห่อหุ้มด้วยยางพารา จะลดการสูญเสียลงไปได้มาก 

กระทรวงกลาโหม แทนที่จะใช้กระสอบทรายทำบังเกอร์ก็ใช้ยางพารา น่าจะได้ผลดี

ทั้งหมดนี้อยากจะฝากไปยังรัฐบาล ให้ศึกษาเรียนรู้ให้ดีก่อนออกมาตีกิน กลัวว่าสุดท้ายแล้ว จะหาทางลงไม่ได้เหมือนดิจิทัล วอลเล็ด ตายคานโยบาย


 #นายหัวไทร

 #ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน

 #ราคายางพารา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรมพัฒน์ ร่วม NECTEC ดันแผนพัฒนาแรงงานด้าน AI เป้า 3 ปี 10,000 คน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดันแผนพัฒนากำลังคนด้านปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมาย 10,000 คน ในระยะ...