วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567

จังหวัดนครพนม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 


จังหวัดนครพนม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งมอบหน่อกล้วยตานี “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน ให้เรือนจำกลางนครพนม ด้านผู้ว่าฯ นครพนม เผยโครงการนี้จะช่วยสร้างรายได้และเงินออมให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้เปราะบาง และผู้ต้องขังภายหลังพ้นโทษจากเรือนจำไปแล้ว

 เมื่อวันที่ 25  มีนาคม 2567  นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า จังหวัดนครพนมได้จัดกิจกรรม ส่งมอบหน่อกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน ณ ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ส่งเสริมการยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิตพี่น้องประชาชน และสร้างความมั่นคงในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) รวมถึงการสร้างความรักความสามัคคีให้คนในชุมชน ตามการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ตามพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการตำบลเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า Change for Good โดยเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 67 ตนได้มอบหมายให้นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม และเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนม ร่วมส่งมอบหน่อกล้วยตานี ณ เรือนจำกลางนครพนม ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม 



นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า จังหวัดนครพนมได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีเป้าหมายคือ “สร้างรายได้ให้กับชุมชน เพื่อประชาชนมีความสุข” โดยบูรณาการภาคีการพัฒนาทั้ง 7 ภาคี โดยการพัฒนาศักยภาพกลไกในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างเครือข่ายกระจายรายได้สู่ชุมชนให้มีประสิทธิภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว โดยการส่งเสริมการปลูกกล้วยตานีแก่ครัวเรือนกลุ่มเปราะบาง และกลุ่มเกษตรกร โคก หนอง นา ที่มีความพร้อม และมีศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดของการใช้ใบตองกล้วยในการทำกาละแม พานบายศรี และผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้ต้นกล้วยหรือใบตองของจังหวัดนครพนม ซึ่งเมื่อวันที่ 15 มี.ค. 67 ตนเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมส่งมอบหน่อกล้วยตานี ตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม "จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ" ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้านต้นบำนาญในสวน ให้กับเรือนจำกลางนครพนม และคณะเกษตรและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนครพนม เพื่อเป็นแปลงสาธิตและเป็นแปลงขยายหน่อกล้วยตานี สำหรับใช้ในการขยายพันธุ์ และผลิตหน่อกล้วยตานี ให้กับประชาชนที่มีความต้องการในพื้นที่จังหวัดนครพนม 


นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยถึงการดำเนินการภายใต้แนวทางการส่งเสริมรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ว่า จังหวัดนครพนมรวมทั้งกลุ่มภาคีเครือข่ายโดยเฉพาะภาควิชาการและภาคเอกชนได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ Value chain ของวัตถุดิบสำคัญที่หลายคนมองข้าม แต่มีความสำคัญกับเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดนครพนมเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ "ใบตองกล้วย" เพราะสินค้า รวมถึงธุรกิจบริการหลายอย่างของจังหวัดนครพนม เช่น กาละแม หมูยอ แหนม ข้าวต้มมัด การทำพานบายศรี ขันหมากเบ็ง เศียรพญานาค บูชาองค์พระธาตุพนม และพระธาตุสำคัญประจำวันเกิด ทั้ง 7 พระธาตุในจังหวัดนครพนม รวมถึงการทำพานบายศรีบูชาพญาศรีสัตตนาคราช ให้นักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดนครพนมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จำเป็นต้องใช้ใบตองกล้วยเป็นวัตถุดิบในการทำทั้งสิ้น โดยจากข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมพบว่า จังหวัดนครพนมต้องสั่งใบตองกล้วยจากจังหวัดอื่นมาเพื่อเป็นวัตถุดิบในการดำเนินการดังกล่าว ปีละเกือบ 10 ล้านบาท ดังนั้น จังหวัดนครพนมจึงส่งเสริมสร้างรายได้ให้กับชุมชน นำประชาชนสู่ความสุข โดยการปลูกกล้วยตานีเพื่อตัดใบ และได้บูรณาการทุกภาคีเครือข่ายร่วมกันเป็นพลังในการขับเคลื่อนในรูปแบบประชารัฐ ใช้กลไกการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังในทุกมิติ รวมทั้งจัดหารายได้สมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม "ใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ" และนำไปจัดซื้อพันธุ์กล้วยตานีให้กับครัวเรือนกลุ่มเปราะบางที่มีศักยภาพในการทำการเกษตร และครัวเรือน โคก หนอง นา ที่มีความพร้อม และมีศักยภาพเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ดีคงอยู่กับเราทุกคนตราบนานเท่านาน ตามเจตนารมณ์ของกระทรวงมหาดไทยที่ขับเคลื่อนกิจกรรมวันดินโลก 2566 ภายใต้แนวคิด ดินดี น้ำดี ชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน “Sustainable soil and water for better life” ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ของทรัพยากรดินและน้ำ ที่จะเป็นพื้นฐานต่อยอดความยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน


ด้าน นายชัยณรงค์ กาญจะนะกันโห พัฒนาการจังหวัดนครพนม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 67 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครพนมได้จัดกิจกรรมพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุนส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “ใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ขึ้น ณ วัดสว่างสุวรรณาราม ตำบลหนองแสง อำเภอเมืองนครพนม เพื่อหารายได้สมทบกองทุนฯ และนำไปซื้อพันธุ์กล้วยตานีให้กับครัวเรือนยากจนและครัวเรือนโคก หนอง นา ที่มีความพร้อมและศักยภาพเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงทำให้เกิดแนวคิดการจัดกิจกรรมการส่งมอบกล้วยตานีตามแนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวนขึ้น เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผล ต่อยอดการดำเนินโครงการฯ โดยมีกิจกรรมมอบหน่อกล้วยตานี ให้กับเรือนจำกลางนครพนม ตำบลขามเฒ่า อำเภอเมืองนครพนม ในวันที่ 15 มี.ค. 67 จำนวน 100 ต้น และในวันที่ 22 มี.ค. 67ได้มอบหน่อกล้วยตานีเพิ่มเติมอีกจำนวน 100 ต้น รวมเป็น 200 ต้น และทางเรือนจำกลางนครพนม ได้จัดซื้อหน่อกล้วยตานีเพิ่มเติมอีก จำนวน 300 ต้น รวมจำนวนหน่อกล้วยตานีที่ปลูกในเรือนจำกลางนครพนม ทั้งสิ้น 500 ต้น ซึ่งคาดว่าในอนาคตอีก 7 เดือนข้างหน้าต้นกล้วยตานีที่ปลูกในรอบแรก จำนวน 500 ต้น จะออกหน่อเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าของที่ปลูกในครั้งแรก คือ ประมาณ 1,500 ต้น จะสามารถสร้างรายได้ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำจากการขายใบกล้วยตานี หน่อกล้วย ผลกล้วย ปลีกล้วย จะได้มีเงินออมเป็นเงินขวัญถุงติดตัวภายหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำไปแล้ว 


นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม กล่าวทิ้งท้ายว่า ภายใต้เป้าหมายการขับเคลื่อนประเทศไทยที่ยั่งยืนตามเจตนารมณ์ที่ได้ประกาศไว้ตามคำมั่น 1 จังหวัด 1 คำมั่นสัญญา จังหวัดนครพนมมุ่งหวังให้กิจกรรมส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน คนนครพนม “จากใบตองกล้วยธรรมดา สู่ มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ” ต้นเงิน (ATM) ข้างบ้าน ต้นบำนาญในสวน มีส่วนช่วยสร้างแนวคิดสำคัญในการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้อยู่ในเรือนจำ และทุกกลุ่มได้เรียนรู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาตามหลักบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง มาเป็นหลักในการสร้างความมั่นคงในชีวิต เริ่มต้นจาก พอกิน พอใช้ พออยู่ พอร่มเย็น เหลือแบ่งปัน ทำบุญทำทาน ถนอมอาหารเก็บไว้ใช้เมื่อขาดแคลน นำไปขาย และต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการรวมกลุ่มผู้ประกอบการหรือกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และขยายผล ตามหลัก สืบสาน รักษา และต่อยอด โดยในท้ายที่สุดจังหวัดนครพนมมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทำให้ "ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สร้างความภาคภูมิใจในฐานะราชสีห์ผู้ภักดีต่อแผ่นดิน ตามปณิธานการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของกระทรวงมหาดไทย


#WorldSoilDay #วันดินโลก 

#UN #FAO #GlobalSoilPartnership #MOI 

#กระทรวงมหาดไทย #บำบัดทุกข์บำรุงสุข

#SoilandWaterasourceoflife 

#SustainableSoilandWaterforbetterlife

#ดินดีน้ำดีชีวีมีสุขอย่างยั่งยืน  

#SDGsforAll #ChangeforGood


 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...