วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561
"มจร"แนะเทคนิคอบรม"เณร-เยาวชน"ศตวรรษที่21
"มจร"แนะเทคนิคอบรม"เณร-เยาวชน"ศตวรรษที่21 แก่หัวหน้าหน่วยโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนประจำปี2561
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระมหาวิชาญ สุวิชาโน ผู้อำนวยการส่วนวางแผนและพัฒนาการอบรม มจร บรรยายพิเศษ หัวข้อ เรื่อง"เทคนิคและวิธีการสอนเด็กและเยาวชน" แก่หัวหน้าหน่วยอบรมโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ประจำปี 2561 จำนวน 366 รูปทั่วประเทศ ความว่า เป้าหมายของการเรียนรู้ในศตวรรษนี้ต้องเป็นไปเพื่อสร้างศักยภาพของเยาวชน คืนความสุขสู่ห้องเรียน คืนความสัมพันธ์ครู-ศิษย์ การศึกษาที่ไม่แยกส่วนจากบริบททางวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาทั้งทางปัญญาและอารมณ์อย่างสมดุล ผู้ปกครองและทุกภาคส่วนสังคมต้องมีส่วนร่วม
"โดยประชากรในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีทักษะสำคัญ 3 ประการคือ 1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ คิดสร้างสรรค์ใส่ใจนวัตกรรม มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น สื่อสารดีเต็มใจร่วมมือ 2. ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี คือ อัพเดตทุกข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันสื่อ รอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทฉลาดสื่อสาร 3. ทักษะชีวิตและอาชีพ คือ มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัว ริเริ่มสิ่งใหม่ ใส่ใจดูแลตัวเอง รู้จักเข้าสังคม เรียนรู้วัฒนธรรม มีความเป็นผู้นำ รับผิดชอบหน้าที่ พัฒนาอาชีพ หมั่นหาความรู้รอบด้าน" พระมหาวิชาญ กล่าวและว่า
ดังนั้นการสอนสามเณรและเยาวชนให้มีทักษะการรู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบัน เป็นการเรียนรู้จากข้างใน เพราะเด็กเวลาคิดจะไม่รู้สึกตัว เวลารู้สึกตัวจะไม่คิด ทักษะการรู้สึกตัวจึงสำคัญสำกรับเด็กและเยาวชน ท่านยกตัวอย่าง การจัดการศึกษาแนวพุทธ: พุทธฉือจี้ เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ กล้าหาญ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตามท่านกล่าวเสริมว่า การเรียนรู้ที่สำคัญอยู่ที่กระบวนการ กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อสร้าง ESSENTIAL กระบวนการสำคัญ คือ เตรียมพระอาจารย์ พระอาจารย์ต้องสอนด้วยหัวใจ หน่วยอบรมควรมีพระอาจารย์ที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ต้องมีสำรวจชุมชนสร้างแรงบันดาลใจ ระดมความคิด เพื่อสร้างมโนทัศน์
"วันนี้หัวหน้าหน่วยโครงการทั้งหลายเป็นส่วนสำคัญในการช่วยงานพระศาสนา ท่านยกหนึ่งว่า "ถ้าอยากเปลี่ยนแปลงโลก จงเริ่มจากการเก็บที่นอน เพื่อทำเรื่องถัดไป เพราะเรื่องเล็กๆน้อยๆ สำคัญ ท่านทำเรื่องเล็กน้อยที่สำคัญได้เรื่องอื่นก็สำเร็จ ทำกิจกรรมไม่ว่า ทำวัตร บิณฑบาต หรือ ปัดกวาดเสนาสนะ ขอให้ท่านทำด้วยความรักความเมตตา และมีเป้าหมาย รอคอยดูความสำเร็จในวันข้างหน้าของลูกเณรและเยาวชนที่จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติและสังคม ธรรมะรักษา ชีวิตมีค่าศาสนามีคุณ" พระมหาวิชาญ กล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น