วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

โซเชี่ยลแห่ชื่นชม!ผอ.สองแควใส่นาฬิกาพัง สายชำรุดใช้สายรัดซ่อมใส่ต่อได้



วันที่ 27 มี.ค.2561 ท่ามกลางกระแสข้าราชการทุจริตโดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทุนเสมาพัฒนาชีวิตกระทรวงศึกษาธิการและเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้น้อยและผู้ไร้ที่พึ่ง  ภายใต้การดำเนินงานโดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ปรากฏว่าสังคมออนไลน์ได้แห่ชื่นชมนายประพฤติ ยอดไพบูลย์ ผู้อำนวจการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก ที่ใส่นาฬิกาพังสายชำรุดใช้สายรัดซ่อม 



นายประพฤติ ด้วยวัย 54 ปี  ดำรงตำแหน่งสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และตลอดชีวิตของการรับราชการ ยึดมั่นในเรื่องของการทำงานเพื่อประชาชนอย่างเต็มกำลัง ทำหน้าที่ในการแจ้งข่าวสารพายุฝนให้กับประชาชนได้ทราบ  นอกจากนี้ยังทำตัวเป็นตัวอย่างเกษตรกรโดยทำการเกษตรตากข้าว ตากมัน หากได้รับข่าวสารให้รีบเก็บผลผลิต ก่อนพืชผลทางการเกษตรเสียหาย 

เรื่องราวของนายประพฤติที่มีหลายคนทราบเรื่องแล้วชื่นชมกันเป็นจำนวนมาก เริ่มจากมีคนถ่ายภาพนาฬิกาข้อมือ ซึ่งเป็นเพียงนาฬิการุ่นเก่า ราคาไม่แพง สภาพสายชำรุด ถูกซ่อมแซมอย่างง่าย ๆ ด้วยสายรัดเคเบิลไทร์  เมื่อมีการสอบถามก็ได้รับคำตอบว่า "มันยังใช้ได้" 

ผู้อำนวจการสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ปกติตนเองก็ไม่นิยมใช้ของที่มีราคาแพง อย่างนาฬิกาถ้าซื้อเองก็จะซื้อในราคาไม่เกินเรือนละ 200 บาท แต่เรือนที่ใส่อยู่นี้ เป็นเรือนที่ลูกสาวเก็บเงินค่าขนมซื้อให้ ตั้งแต่ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งตนเองก็ใช้อย่างทะนุถนอมมาโดยตลอด จนไม่กี่วันที่ผ่านมา สายขาดทีแรกก็คิดว่าจะนำไปซ่อม เปลี่ยนสายนาฬิกา แต่ด้วยว่าตนเองค่อนข้างจะติดนาฬิกาเรือนนี้ ใส่ทำงานตลอดเวลาจึงซ่อมเองแบบง่ายๆ 



"จนกระทั่งมีคนมาถ่ายภาพไปลงโซเชี่ยล และผู้สื่อข่าวได้ถามว่า เป็นถึง ผอ. แต่ใช้ของถูกๆ แบบนี้ ไม่ถูกมองว่าไม่สมศักดิ์ศรีบ้างหรืออย่างไร ก็ตอบไปว่า ถูกตำหนิจากคนในครอบครัวบ้าง แต่โดยส่วนตัวแล้วมองว่า ศักดิ์ศรีของการเป็นข้าราชการ คือการได้ทำงานให้เกิดกับพี่น้องประชาชนมากกว่า การใช้ของที่มีราคาแพง"นายประพฤติ กล่าว 

.......

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก พิษณุโลก ประชาสัมพันธ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...