วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561
ฤาสยามจะกลายเป็นเมืองแห่งเสียงร้องไห้?
ระหว่างที่พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้นำผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ เดินทางไปประเทศภูฏาน เพื่อพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศภูฐาน คือ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกู ตาชิถาง ซึ่งนำโดยพระซัมเทน ดอร์จี สังฆราชประเทศภูฏาน พระสาญเจ ดอร์จี รองสมเด็จพระสังฆราช ประเทศภูฐาน กับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาวัชรยาน" ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นระหว่าง 27-31 มีนาคม 2561
พร้อมกันนี้พระมหาหรรษาได้นำสารจากพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. อธิการบดี มจร เชิญนายเชอริ่ง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรี ประเทศภูฏาน เพื่อเป็นองค์ปาฐกถาพิเศษ (Keynote Speaker) ภายใต้หัวข้อ "Buddhist Contribution for Human Development" ในวันวิสาขบูชาโลก 25 พฤษภาคม 2561 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ในโอกาสพระมหาหรรษาได้รายงานกิจกรรมที่กระทำที่ประเทศภูฏานผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว"Hansa Dhammahaso"อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง "From Land of Smile to Land of Happiness จากสยามเมืองยิ้มสู่ภูฐานเมืองแห่งความสุข" ความว่า
ในอดีต ประเทศไทยได้ชื่อว่า "ดินแดนสยามเมืองยิ้ม" (Land of Smile) สมัญญานามนี้ ไม่ได้เกิดการที่ประเทศไทยสถาปนาตัวเอง หากแต่เกิดจากกลุ่มคนมากมายเดินทางมาท่องเที่ยว และใช้ชีวิตในเมืองไทยแล้วเกิดความประทับใจ จึงได้พากันเรียกขานตามธรรมชาติ หรือลักษณ์ของคนไทยที่ปรากฏจากการได้พูดคุย การเข้าไปเกี่ยวข้องในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่ง พื้นฐานสำคัญซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "สยามเมืองยิ้ม" ย่อมเป็นอื่นไปไม่ได้ หากมิได้ถือกำเนิดจากพื้นฐานคำสอนขอบพระพุทธศาสนาที่เป็นศูนย์กลางของวิถีชีวิตและการปฏิบัติตนผ่านธรรมะ "เมตตา กรุณา รวมไปถึงการให้ การแบ่งปัน การเคารพ การจริงใจต่อกัน" เป็นต้น
ในขณะที่ประเทศภูฏาน ได้รับการชื่นชมจากผู้มาเยือนทั่วโลกว่า "ดินแดนแห่งความสุข" (Land of Happiness) ความสุขที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ทั้งการทำมาหากิน การเอื้อเฟื้อแบ่งบัน การดำเนินชีวิตบนวิถีพอเพียง เน้นการพัฒนาชาติบ้านเมืองโดยการเอาความสุขเป็นมาตรวัดที่สำคัญ เป้าหมายของการประกอบอาชีพ การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกันในชาติจึงอยู่ที่ "ความสุข" เป็นตัวตั้ง หากกระทำการหรือดำเนินการสิ่งใดแล้ว ออกนอกวงโคจรของความสุข สิ่งนั้น จึงเป็นสิ่งที่พลเมืองภูฏานมองว่า ผิดทิศทางในการพัฒนาชีวิตและสังคม
พื้นฐานสำคัญที่น้อมนำพลเมืองภูฏานได้รับการเรียนขานจนกลายเป็นจุดแข็งเช่นนี้ เกิดจากหลักการที่ก่อเกิดมาจากพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากการที่ชาวภูฏานให้ความเคารพ สักการะบูชา ตามที่ปรากฏในแท่นบูชาจะมี 3 ท่านหลักที่ชาวภูฐานใก้ความสำคัญ (1) พระศากยะมุนี (2) กูรู ปัทมสัมภวะ (3) ชัตตรุง นวัง นัมเกล ศากยะมุนีได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางความเชื่อ และเป็นที่พึ่งทางใจของชาวภูฏานให้เกิดความมั่นใจ และน้อมนำธรรมะไปสู่การประพฤติปฏิบัติในชีวิต ในขณะที่กูรู ปัทมสัมภวะ เป็นนักบวชชาวอินเดียที่จาริกธรรมไปถึงธิเบต มีองค์ความรู้และสมาธิญาณที่แก่กล้า ตัดสินใจเดินทางจาริกไปภูฏานและนำเอาวัฒนธรรม ศิลปะ ภาษา และความเชื่อที่ทรงคุณค่าผ่านการหลอมรวมธรรมะขอวพระพุทธเจ้าไปเผยแพร่ในภูฏานจนก่อให้เกิดอิทธิพลที่สำคัญและยิ่งใหญ่ของชาวภูฏาน ส่วนท่านชัตตรุง นวัง นัมเกล เป็นผู้ที่สามารถรวมชาติพันธุ์ต่างๆ ที่แก่งแย่งชิงดีชิงเด่นเข้าหากัน โดยนำเอาหลักทางพระพุทธศาสนามาเชื่อมสมานชนชั้นต่างๆ จนสามารถอยู่ร่วมกันอย่าางมีความสุขมาจนถึงปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่า ทั้งพระพุทธเจ้า กูรู ปัทมสัมภวะ และชัตตรุง นวัง นัมเกลนั้น มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ต่อชาวภูฏาน ธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงเป็นรากฐานสำคัญที่กลายเป็นชุดความคิดหลัก (Core Values) ให้ผู้นำทางศาสนา และชนชั้นนำทางการเมือง ได้นำมาวางรากฐานไปสู่การศึกษา และการดำเนินชีวิตโดยรวมของพลเมืองชาวภูฏานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รากฐานเหล่านั้น ยังเป็นหลักยึดที่พระมหากษัตริย์ ผู้นำทางการเมือง และผู้นำศาสนาได้พยายามเชื่อมกลุ่มคนต่างๆ เข้าด้วยกัน และประกาศธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่พลเมืองและชาวโลก
ทั้งสยามดินแดนแห่งรอยยิ้ม และภูฏาน ดินแดนแห่งความสุข ต่างก็ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึด ในการดำเนินชีวิต และเป็นหลักในการบริหารบ้านเมือง อย่างไรก็ตาม โจทย์สำคัญที่กำลังท้าทายชนชั้นนำของประเทศ รวมไปถึงพลเมือง ก็คือ เมื่อสังคมโลกกำลังก้าวไปสู่เทคโนโลยีดิจิทัล การถาโถมของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม การเผชิญหน้าของกลุ่มผลประโยชน์จนนำไปสู่ความขัดแย้งและความรุนแรง กลุ่มคนเหล่านั้น จะวางสถานะและบทบทบาทอย่างไร จึงจะสามารถนำประเทศไปสู่ดุลยภาพ ความมั่นคง และความยั่งยืนได้
โลกยุคปัจจุบันเป็นยุคที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การเคลื่อนย้ายของตลาดแรงงาน การอพยพของกลุ่มคนไปสู่สถานที่ใหม่ ย่อมนำไปสู่การผสมผสานวัฒนธรรม และมีความเชื่อที่หลากหลาย แทนที่จะมุ่งเน้นเพียงแค่วัฒนธรรมเดียว กลับต้องหันมาให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมอื่นๆ ด้วย ค่านิยมหลักแบบเดิมที่เคยมีและปฏิบัติมาตั้งแต่สร้างชาติ กลุ่มคนที่มาใหม่ย่อมตั้งคำถามต่อการสร้างค่านิยมร่วมใหม่ กลุ่มเก่าจะมีท่าทีอย่างไร จะตีความค่านิยมดั้งเดิมอย่างไร จึงจะไม่ทำให้คนอยู่เก่ากำลังรู้สึกว่ากำลังสูญเสียความเป็นตัวตนแบบเดิม คนมาใหม่จะยอมรับและอยู่ร่วมกับวัฒนธรรมเก่าอย่างไร จึงจะไม่ทำให้เกิดความหวาดระแวง รวมไปถึงผลประโยชน์ต่างๆ ระหว่างคนในชาติ ภายใต้กลไกทางการตลาดแบบใหม่ จะนำไปสู่การแบ่งปันกันอย่างไร จึงจะไม่ทำให้พลเมืองบางกลุ่มไม่รู้สึกว่า ทุนนิยมสามารถแบ่งสรรปันส่วนได้อย่างทั่วถึง เที่ยงธรรม และเท่าเทียม
มิฉะนั้นแล้ว สยามที่ได้ชื่อว่าดินแดนแห่งรอยยิ้ม จะกลายเป็นเมืองแห่งเสียงร้องไห้ (Land of Smile to Land of Crying) และภูฏานดินแดนแห่งความสุข จะกลายเป็นเมืองแห่งความทุกข์ เพราะกลุ่มคนต่างๆ พากันหลงลืมจุดแข็งของตัวเอง แล้วในที่สุดจุดแข็งก็จะกลายเป็นจุดอ่อน เพราะมุ่งเน้นไขว่คว้าและพัฒนาสิ่งที่ไม่สามารถสะท้อนตัวตนผ่านวัฒนธรรม สังคม และวิถีชีวิตที่เป็นรากเหง้า รวมไปถึงการยึดเอาค่านิยมจอมปลอมที่ฉายทาด้วยความโลภ ความโกรธ และความหลงมาเป็นหลักยึดเหนี่ยว เมื่อนั้น ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะไม่หลงเหลือค่านิยมอันเป็นความภาคภูมิใจที่สืบต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น ในที่สุด คนรุ่นต่อไปก็จะกลายเป็นคนไร้ราก ไร้ความทรงจำที่งดงาม ไร้วัฒนธรรมที่ทรงค่า ไร้ศาสนาให้ยึดเหนี่ยว และจะไม่หลงเหลือเศษเสี้ยวของความเป็นชาติอีกต่อไป
..........
(หมายเหตุ : ขอบคุณกราฟฟิกจาก Workpoint News- ข่าวเวิร์คพอยท์ ที่แสดงผลการทุจริตโครงการช่วยเหลือคนจน เงินสงเคราะห์ของศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่มีการตรวจสอบแล้ว 53 จังหวัด และภาพจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนวทางส่งเสริม Soft Power ของไทยภายใต้นโยบาย 5Fs "นายกฯอิ๊งค์" ชูกลางงานเลี้ยงอาหารค่ำผู้นำ APEC
การส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทยภายใต้นโยบาย 5Fs (อาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น เทศกาล และมวยไทย) มุ่งเน้นการใช้มรดกทางวัฒนธรรมและศักยภาพของประ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น