วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

นายกรัฐมนตรีภูฏานหนุนงานด้านพระพุทธศาสนา



นายกรัฐมนตรีภูฏานหนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ร่วมประชุมสัมมนาวิชาการพระพุทธศาสนาวัชรยานร่วมกับ "มจร"  ต่างมีมุมมอง "ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนาแต่ควรหาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติ" 


วันที่ 27 มี.ค.2561 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ตามที่ได้ร่วมการประชุมพระพุทธศาสนาวัชรยาน ณ ประเทศภูฏาน จึงถือโอกาสร่วมถ่ายภาพกับนายกรัฐมนตรีภูฏานซึ่งมีความเป็นกันเองมากและให้ความใส่ใจสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาเป็นฐานสร้างความสุขให้คนภูฏาน 




ในงานมีการนำเสนองานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาจากนักวิชาการทั่วโลกจึงมีประเด็นความหลากหลายในการมองแต่มีการพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องระหว่างพระพุทธศาสนาเพราะมีการแบ่งออกหลากหลายนิกายตามบริบทของประเทศและภูมิภาคนั้นๆ ในอดีตซึ่งศาสนาเปรียบเทียบก่อตั้งขึ้นในทางตะวันตก เพราะมีความขัดแย้งทางศาสนาในยุโรปและอเมริกาโดยท่านศาสตราจารย์แมต มิลเลอร์ได้เขียนหนังสือศาสนาเปรียบเทียบ ด้วยการใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์ในการเรียนศาสนา ซึ่งอดีตเราใช้ศรัทธาในการเรียนศาสนา แต่ศาสตราจารย์ใช้กระบวนการเรียนศาสนาเพื่อลดความขัดแย้งทางศาสนา การศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ มี 2 ประเด็น คือ "ศึกษาเพื่อถกเถียงโต้เถียงว่าใครผิดถูก และศึกษาเพื่อการแสวงหาความรู้อะไรควรอะไรไม่ควร" เราจึงควรศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ การศึกษาเรื่องศาสนาเปรียบเทียบได้รับความนิยมจากนักศึกษาเป็นอย่างยิ่ง




ศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบันมีการพัฒนาการ เราจะมีการชี้นำอย่างไรเมื่อศาสนามีการกระทบกระทั่งกัน บางครั้งเราชี้นำให้เกิดการทะเลาะกันบางครั้งเราชี้นำให้เกิดสันติสุข สถาบันการศึกษามีนักวิชาการทางด้านศาสนาเราควรจะมีนักวิชาการทางด้านศาสนาทุกศาสนา ด้วยการไม่สร้างความขัดแย้งในศาสนา แต่มุ่งให้ศาสนาอยู่ร่วมกันได้ คุณสมบัติของนักวิชาการศาสนาควรจะเป็นอย่างไร ? เราต้องพัฒนาเหมือนนักวิทยาศาสตร์ พยายามจะศึกษาความจริงด้วยการผ่านการทดลอง นักวิทยาศาสตร์ต้องศึกษาที่ปราศจากอคติ นักวิทยาศาสตร์ " ต้องศึกษาธรรมชาติโลกอย่างเป็นกลาง " 




ดังนั้น นักการศาสนาต้องศึกษาอย่างเป็นกลางเหมือนกัน งานวิจัยของ ดร.ท่านหนึ่งกล่าวว่า "บุคคลที่ป่วยทางจิตมาจากการศึกษาศาสนาที่ไม่ครบสมบูรณ์" บุคคลจะเป็นนักวิชาการศาสนาที่ดีต้องตัดความชอบความชังออกไป ต้องสามารถเป็นคนกลาง โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกิดขึ้น จะเห็นว่า " ศาสนาทำให้เรามองว่าเป็นพวกเดียวกัน " ศาสนาอิสลามจะถูกปลูกฝังมาแบบเชิงลึกรักพวกพ้อง ในกรณีการเป็นพวกเดียว เช่น ศาสนาเดียวกัน ส่วนศาสนาพุทธถือว่าน้อยในเรื่องศาสนาเดียวกัน เพราะบางครั้งคนพุทธยังขัดแย้งกันเอง 



มองว่านักวิชาการศาสนาต้องไม่ไปเปลี่ยนวิถีชีวิตหรือศาสนา แต่เราควรจะหาวิธีในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากกว่า เพราะมีหนังสือเล่มหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า"สงครามกับศาสนาเป็นของคู่กัน" เพราะสามารถปลุกระดมคนง่ายเมื่อใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือ เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนาอย่างไร? รัฐควรจะสร้างการอยู่ร่วมกันหาจุดร่วม มากกว่าจุดต่าง อะไรคือจุดร่วมของศาสนา? ซึ่งเป็นเรื่องปกติศาสนามีความต่างอย่างแน่นอน นักวิชาการศาสนาต้องชี้นำเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ นักวิชาการต้องไม่ไปรบกับใคร นักวิชาการศาสนาบางครั้งเงียบ เพราะพูดแล้วจะโยงว่าอยู่ฝ่ายใด นักวิชาการจะชี้ว่า " ถ้าคุณเลือก A คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร ถ้าคุณเลือก B คุณจะได้อะไรคุณจะเสียอะไร นักวิชาการต้องชี้ให้เป็นกลางที่สุดด้วยการปราศจากอคติ 



พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา  มจร สรุปว่า ดังนั้น เวลาแต่ละศาสนาปะทะกันเราจะเห็นข้อดี เพราะเราได้เรียนรู้เห็นมิติต่างๆซึ่งผู้นำศาสนาจะต้องรู้ศาสนาอื่นให้มากเพื่อสร้างความเข้าใจ สิ่งสำคัญเราต้องศึกษากันและกันเพราะแต่ละศาสนามีกติกาของแต่ละศาสนา ซึ่งมีความชัดเจนที่หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า "จงทำความเข้าใจระหว่างศาสนา"ปัจจุบันเราทำความเข้าใจกันมากน้อยเพียงใด ? หรือเราจะโจมตีกันไปมาประเด็นนี้น่าสนใจมาก รวมถึงศาสนาเดียวกันก็ควรทำความเข้าใจกันให้ชัดเจนเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...