วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561
"จาตุรนต์"โพสต์!"ยุบคสช.แล้ว ใครจะดูแลความเรียบร้อย"
วันที่ 16 มี.ค.2561 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงกระแสเรียกร้องให้ยุบคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ความว่า "ยุบคสช.แล้ว ใครจะดูแลความเรียบร้อย"
"ประโยคทอง" จากอดีตนักวิชาการด้านความมั่นคงประโยคนี้ เป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ แต่เป็นการบ่งบอกถึงบทสรุปรวบยอดหรือผลึกของตรรกะเหตุผลที่คสช.ใช้อ้างถึงความจำเป็นในการยึดอำนาจและอยู่ในอำนาจมาตลอดเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่า จะใช้เพื่ออยู่ต่อไปอีกนาน
ถ้ามีแต่คสช.เท่านั้นที่ดูแลความเรียบร้อยได้ ก็คงต้องถามว่า คสช.จะต้องอยู่กับประเทศนี้ไปอีกนานเท่าไหร่ ชั่วนิจนิรันดรเลยหรืออย่างไร
ในเมื่อรัฐธรรมนูญก็มีแล้ว กฎหมายต่างๆก็ออกกันมามากมายแล้ว ปฏิรูปประเทศก็ทำกันมาเกือบ 4 ปีแล้ว เหตุใดกลไกต่างๆของบ้านเมืองก็ยังไม่สามารถดูแลความเรียบร้อยได้เสียที ยังต้องอาศัยคสช.แบบขาดไม่ได้อยู่อีก จากนี้ไปจนถึงวันเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ ยังจะมีการสร้างระบบกลไกอะไรที่เข้มแข็งทรงประสิทธิภาพอีกมากมายหรืออย่างไร พอบอกกันได้มั้ย ?
ถ้าไม่สามารถตอบได้ว่า จากนี้ไปจะมีทีเด็ดอะไรที่จะทำให้กลไกต่างๆของรัฐสามารถดูแลความเรียบร้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าที่เป็นอยู่ จะไม่หมายความว่า แม้มีรัฐบาลหลังการเลือกตั้งแล้ว ประเทศนี้ก็ยังอาจจำเป็นต้องมีคสช.อยู่ต่อไปอีกหรอกหรือ ?
ความจริงเรื่องจำเป็นต้องมีคสช.เพื่อดูแลความเรียบร้อยของบ้านเมืองนี้ ถูกใช้เป็นข้ออ้างมาตลอด ผู้ที่อ้างบ่อยที่สุดเป็นประจำ ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์กับพล.อ.ประวิตร แต่ความวุ่นวายไม่เรียบร้อยในอดีต เกิดขึ้นได้อย่างไร ?เหตุใดกลไกของรัฐ รวมทั้งกองทัพที่ตอนนั้นมีพล.อ.ประยุทธ์เป็นผบ.ทบ.จึงไม่สามารถทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้ ทำไมต้องเข้ายึดอำนาจเสียก่อนจึงจะทำให้เกิดความเรียบร้อยได้ ไม่ค่อยมีการพูดกัน
เมื่อยึดอำนาจแล้วบอกว่า จะมาทำให้บ้านเมืองสงบและจะมาปฏิรูปประเทศ ก็ควรจะหมายความว่า จะทำให้บ้านเมืองมีกฎกติกา มีระบบกลไกที่สามารถดูแลความสงบเรียบร้อยได้โดยไม่ต้องอาศัยกำลังกองทัพเข้ายึดอำนาจ เพื่อดูแลความเรียบร้อยอีก
แต่นี่กลายเป็นสร้างเงื่อนไขจนทำให้ประเทศเหมือนตกอยู่ในสภาพที่เสพติดคสช. เสพติดการใช้กำลังทหาร อาวุธและความรุนแรงในการดูแลความเรียบร้อย ชนิดที่ขาดไม่ได้ ซึ่งหมายความว่า บ้านเมืองเราจะต้องปกครองกันแบบอนารยะเรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด
ความวุ่นวายก่อนการรัฐประหารนั้น มีการสร้างเงื่อนไขให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร เมื่อรัฐประหารมาแล้วก็ยังใช้เป็นข้ออ้างในการอยู่ในอำนาจนานๆ และเมื่อบริหารปกครองมาเกือบ 4 ปีแล้ว ก็ยังไม่ได้ลดเงื่อนไขที่จะใช้เรื่องความวุ่นวายเป็นข้ออ้างที่คสช.จะอยู่ในอำนาจต่อไปอีก
ด้วยตรรกะเหตุผลที่คสช.และพวกใช้อยู่นี้ ตีความเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากสรุปว่า แม้มีเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่แล้ว ประเทศไทยก็จะยังอยู่ในสภาพที่มีการอ้างได้ต่อไปไม่สิ้นสุดว่า การจะดูแลความเรียบร้อยในบ้านเมืองยังจำเป็นต้องอาศัยอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของกองทัพ หรือผู้ที่สามารถสั่งกองทัพได้อย่างคสช.เท่านั้น
นี่หรือขอเวลาอีกไม่นาน ?
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น