วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561
"ผอ.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร" แนะ"บัณฑิตมจร"ใช้สันติวิธีทำงานร่วมกับชาวโลก
"ผอ.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร" แนะบัณฑิตมหาจุฬาฯพัฒนาตนให้เปรี่ยมด้วยนวลักษณ์ผู้นำเชิงพุทธ เปลี่ยนแปลงตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก ก่อนออกไปทำงานร่วมกับชาวโลกโดยใช้สันติวิธี
วันที่ 21 มี.ค.2561ที่ผ่านมา พระสุธีรัตนบัณฑิต,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) บรรยายเรื่อง "Mindset บัณฑิตมหาจุฬาเพื่อพระพุทธศาสนา" ในงานสัมมนานิสิตปฎิบัติศาสนกิจ รุ่นที่ 63 ประจำภาคกลาง ระหว่างวันที่ 21 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ กล่าวว่า มุมมองหรือวิธีจะเป็นสิ่งสำคัญให้เราทำงานกับผู้คนในสังคม โดยมีมุมมองของโลกและชีวิต เรามีการสื่อสารระหว่างกันของคนในโลก มนุษย์เริ่มอยู่ในลุ่มน้ำต่างๆ จะเกิดอารยธรรมขึ้นมา มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์อื่นเพราะความโลภ โกรธ หลง วันใดสิ่งเหล่านี้ครอบงำเราสามารถฆ่าใครก็ได้ ทำร้ายใครก็ได้ แต่ครึ่งหนึ่งของมนุษย์เป็นบุคคลที่สามารถฝึกได้ "ผู้ที่ฝึกดีแล้วเป็นผู้ประเสริฐ" สามารถคิดได้ เราจึงเรียกบัณฑิตได้ว่า เป็นผู้ฝึกตน เราผ่านการฝึกตนมาแล้ว มนุษย์จึงเป็นผู้ฝึกฝน วันใดมนุษย์มีเมตตาต่อกันโลกจะน่าอยู่ หรือ วันใดเราโหดร้ายเราไม่ต่างจากสัตว์
เราในฐานะบัณฑิต มจร จะต้องไปพัฒนาผู้คนให้มีความเป็นมนุษยที่สมบูรณ์มากขึ้น หลวงพ่อพุทธทาสพูดว่า "ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่แท้" ในอดีตมนุษย์กลุ่มหนึ่งในอัคคัญญสูตร มนุษย์มีความละเมิดต่อกัน จึงเริ่มมีกฏกติกาเพื่อการอยู่ร่วมกัน ในปราชญ์จึงเกิดเมื่อ 2,600 ปีที่เเล้วเป็นจำนวนมาก ในสมัยพระพุทธเจ้า เป็นยุคที่สร้างอารยธรรมให้กับโลก ต่อมามีการปฏิวัติทางเทคโนโลยีผ่านกระบวนการวิทยาศาสตร์ โลกจึงมาเปลี่ยนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว มีเจ้าของเฟชบุค เจ้าของสมาทโฟน ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของโลก เพราะแอปเปิ้ลตกใส่หัวไอแชกนิวตันและออปเปิ้ลของสติปจ๊อป เกิดการปฏิบัติการสื่อสาร สอดรับกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่มีการทำสังคายนาสืบต่อกันมาตามยุคต่างๆ จนถึงประเทศไทยเป็นการแต่งเรื่อง ไตรภูมิพระร่วง จนมาถึงรัชกาลที่ 5 สถาปนามหาจุฬาให้พระสงฆ์และบุคคลทั่วไปได้ศึกษาเล่าเรียน เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของโลกและพระพุทธศาสนา Mindset ของเราจะเป็นอย่างไร?
บัณฑิตของมหาจุฬาควรจะมี Mindset อย่างไร? เราควรเชื่อมโยงไปถึงความสุข เพราะเราเป็นผู้นำเชิงพุทธ มี 9 ประการ คือ 1)เราต้องเชื่อมโยงคนความรู้และ กระบวนการไปสู่เป้าหมายของการฝึกคนการมีชีวิตที่ดีร่วมกัน สร้างประโยชน์และความสุข เราในฐานะบัณฑิตมหาจุฬา เราเป็นผู้นำแล้ว สังคมคาดหวังจากเรา เราต้องพัฒนาความรู้และสติปัญญาของบุคคล หรือเรียนรู้ร่วมกัน เราจะไปไหนขอให้เราไปเพื่อเรียนรู้ในการพัฒนาสติปัญญา
2)เราต้องร่วมสร้างสรรค์จิตสาธารณะให้เข้าถึงความดีงาม สังคมต้องการคนจิตสาธารณะ เวลาไปเราไหนเราเกี่ยวกับ I คือฉัน ฉันจะได้อะไร ใครคิดแค่ I นึกถึงแต่ตนเองจะได้แค่เสื้อผ้าสิ่งภายนอก มีนั่นนี่ สวยรวย ถือว่าคับเเคบ We คือ พวกเรา เริ่มขยายวงกว้างนึกถึงพวกตนเอง All of us พวกเราทั้งหมด ทั้งองค์กรทั้งวัด ชุมชนได้ด้วยกัน เราต้องออกจากวงในไปสู่วงนอกให้ได้ แบบนั้นเราจะได้แค่หยาบๆ กินทุกอย่าง ขยับมาแบบละเอียดอ่อน คนไทยด้วยกันเรารักกัน หรือวงออกภายนอกคือความเป็นเหตุและเป็นผล ถ้าเรานึกแคบเราจะได้แค่พวกพ้องของเราเอง เสื้อเหลือง เสื้อแดง แต้ถ้าเรานึกถึงประเทศชาติเลยกลุ่มตนเองเราจะได้ความเป็นชาติ เช่น เนลสันลุกขึ้นสู้คนผิวดำผิวขาวทะเลาะกันนานมาก เนลสันติดคุกจึงคิดได้ เพราะนึกถึงแต่ I กลุ่มของตนเอง นึกได้ว่า คนยาวก็คน คนดำก็คน จะฆ่ากันทำไม เพื่ออะไร เนลสันนึกถึงว่าโลกทั้งใบเราเป็นพวกเดียวกัน นึกถึงความเป็นจิตวิญญาณ เราคิดแคบเราจะไม่ได้อะไร เราต้องคิดกว้าง
3)ความรักความเมตตาสันติภาพ เมื่อขาดเมตตากับปัญญาโลกจึงวุ่นวาย เราบกพร่องเรื่องเมตตาและปัญญา สังคมจึงเป็นแบบนี้ 4)ความเสมอภาคและความยุติธรรม มีการแบ่งปันอย่างเสมอภาค เราต้องนำไปสู่สันติสุขในการอยู่ร่วมกัน 5)ขอให้มีความสุขและความยั่งยืน สหประชาชาติประกาศเป้าหมายสุดท้ายคือ ความยั่งยืน เช่น ภูฏานคนอยากไปดู เพราะมีความสุข 6)เคารพในสิทธิและความหลากหลายทางวัฒนธรรม เราไปที่ใดที่นับถือศาสนาใดเราต้องเคารพ อย่าไปโจมตีใคร เราสามารถทำงานได้กับทุกวัฒนธรรม อินเดียเป็นเมืองที่มีปรัชญาลึกซึ้งมาก เราควรไปศึกษาอินเดีย
7)ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม เวลาเราไปทำงานกับผู้คนจะต้องสร้างการมีส่วนร่วม 8)อย่ากลัวงานและความลำบาก ขงจื้อกล่าวว่า"ผู้รู้ผู้อื่นนั้นฉลาด รู้ตนเองฉลาดกว่า ชนะผู้อื่นเป็นผู้เข้มแข็ง ชนะตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่" บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมิใช่ท่องได้มาก แต่คนเป็นบัณฑิตไปอยู่ที่ใดก็สามารถพัฒนาได้ในเขตชนบท เราต้องไม่กลัว ใครส่งเราไปที่ใดไปเลย สมเด็จวัดสระเกศกล่าวว่า "ปลูกบัวท่ามกลางหิมะ" เผยแผ่ธรรมะท่ามกลางหิมะในต่างประเทศ ตอนนี้กำลังวางแผนสร้างวัดไทยในญี่ปุ่นและเยอรมัน
9)เปลี่ยนแปลงตนเองท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลก เราต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตน ตอนนี้ที่เชียงรายใช้เราใช้ศิลปะในการพัฒนาที่ยั่งยืน เราจะเปลี่ยนแปลงโลกเราต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน เช่น พระพุทธเจ้า มหาตมะคานธี เปลี่ยนแปลงจากภายในเราถึงจะทำทำงานกับคนทั้งโลก เราต้องคิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง ชอบธรรม อย่าคิดแคบ มองใกล้ ใฝ่ต่ำ ไม่มีความชอบธรรม
...............
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนวทางส่งเสริม Soft Power ของไทยภายใต้นโยบาย 5Fs "นายกฯอิ๊งค์"กลางงานเลี้ยงอาหารค่ำผู้นำ APEC
การส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทยภายใต้นโยบาย 5Fs (อาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น เทศกาล และมวยไทย) มุ่งเน้นการใช้มรดกทางวัฒนธรรมและศักยภาพของประ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น