วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561
"มจร"ร่วมมือ"ม.พุทธภูฏาน"สร้างศาสตร์ความสุข
"มจร"ร่วมมือ"ม.พุทธภูฏาน"เปิดหลักสูตรศาสตร์แห่งความสุข นับเป็นประวัติศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศทั้งสองเชื่อมสมานพุทธเถรวาทและวัชรยาน
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2561ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกู ดอร์เดน ตาชิถาง ประเทศภูฏาน ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศภูฐาน คือ มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกู ตาชิถาง นำโดยพระซัมเทน ดอร์จี สังฆราชประเทศภูฏาน พระสาญเจ ดอร์จี รองสมเด็จพระสังฆราช ประเทศภูฐาน กับวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดยพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) โดยมีผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมเป็นพยานอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งนับเป็นวันแห่งประวัติศาสตร์ทางการศึกษาของประเทศทั้งสอง
พระมหาหรรษา กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ เกิดขึ้นมาจากการที่พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มจร ได้เดินทางมาเยือนประเทศภูฐาน ได้พบปะทั้งฝ่ายผู้นำพระสงฆ์และผู้นำทางการเมือง จึงทำให้พบว่า "การศึกษาด้านพระพุทธศาสนา" จะเป็นจุดแข็งสำคัญในการสร้างความร่วมมือซึ่งจะทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาของทั้งสองประเทศมีความเจริญก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำจุดแข็งของพระพุทธศาสนาวัชรยาน มาเชื่อมสมานและแลกเปลี่ยนกับพระพุทธศาสนาเถรวาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการดังกล่าว จึงสอดรับกับวิสัยทัศน์ในการสร้างวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติของพระเดชพระคุณอธิการบดีที่ว่า "เราสร้างมหาจุฬาฯ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของชาวมหาจุฬาฯ แต่เราสร้างมหาจุฬาฯ เพื่อประโยชน์ของชาวโลก" ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้มหาวิทยาลัย ได้มอบทุน "พระพรหมบัณฑิต" แก่พระภิกษุชาวภูฐานที่เป็นนิสิตปริญญาโท และเอก จำนวน 3 ทุน ให้เข้ามาศึกษาที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
พระสาญเจ ดอร์จี กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ อยากจะเห็นพลังการร่วมมือระหว่างพระพุทธศาสนาเถรวาท และพระพุทธศาสนาวัชรยาน ในฐานะที่ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก และมหาจุฬาฯ ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเวทีด้านการศึกษาในระดับนานาชาติ และมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกู ตระหนักรู้ถึงบทบาทของมหาจุฬาฯ และพระพรหมบัณฑิตที่เห็นความสำคัญของการศึกษา มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา ตองกูจะได้นำศักยภาพ และความเชี่ยวชาญดังกล่าว มาเป็นแนวทางในการศึกษาและพัฒนาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าต่อไป" พระสาญเจ ดอร์จี รองสมเด็จพระสังฆราชได้กล่าวสรุปที่มาของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้"
พระมหาหรรษา กล่าวเสริมว่า ขณะที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัล มัวเมากับวัตถุนิยม และบริโภคนิยมอย่างสุดโต่ง จนนำไปสู่สงครามและความขัดแย้งทั่วทั้งโลก คำถามที่กำลังท้าทายพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน คือ จะเข้าไปรักษา และดูแลสังคมโลกให้สามารถค้นพบความสุข และอยู่ร่วมกับกลุ่มคนต่างๆ ท่ามกลางความหลากหลายได้อย่างไร?!? การตอบคำถามเหล่านี้ จึงไม่ใช่หน้าที่ของพระพุทธศาสนานิกายใดนิกายหนึ่ง หากแต่เป็นหน้าที่ของศากยบุตรที่จะต้องจับมือ และผนึกกำลังเพื่อนำพลังแห่งความสุขไปสู่สังคมโลกต่อไป และนี่คือเหตุผลหลักที่ทำให้เป็นที่มาของการลงนามความร่วมมือครั้งนี้"
"งานแรกภายหลังการลงนามความร่วมมือ คือ การร่วมเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรเพื่อนำร่อง (Pilot Project) ในขั้นแรกคือ หลักสูตรวุฒิบัตรและประกาศนียบัตร สาขาศาสตร์แห่งความสุข (Arts of Happiness) ในฐานะที่ประเทศภูฐานได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งความสุข" (Land of Happiness) โดยแบ่งการเรียนออกเป็น 2 เทอม คือ เทอมแรก 6 เดือน พัฒนาและฝึกอบรมที่เมืองไทย ในขณะที่เทอมสอง 6 เดือนหลัง ฝึกอบรมที่ประเทศภูฐาน นอกจากนี้แล้ว จะเป็นการแลกการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นิสิตนักศึกษา คัมภีร์สำคัญ สิ่งแวดล้อมในการฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียน การวิจัยร่วมระหว่างสองมหาวิทยาลัย" พระมหาหรรษากล่าวและว่า
ทั้งนี้ คณะสงฆ์ และนักวิชาการพระพุทธศาสตร์จากมหาจุฬาฯ จะเข้าร่วมประชุมนานาชาติ เรื่อง "พระพุทธศาสนาวัชรยาน" ครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 27-31 มีนาคม 2561 ณ โมติฮาง เมืองหลวงทิมพู ซึ่งการจัดงานครั้ง จะมีพิธีเปิดโดยนายกรัฐมนตรีภูฐาน นายลอนเชน เดโช เทอริง ทอบเกย (H.E. Lyonchhen Dasho Tsherting Tobgay) โดยมีนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านวัชรยานจำนวน 21 ประเทศกว่า 150 รูป/คน เข้านำเสนอบทความทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้และการปฏิบัติจริงจากทั่วโลก การร่วมประชุมครั้งนี้ จะนำไปสู่การออกแบบ และจัดการเรียนการสอนวิชาด้านวัชรยานให้มีประสิทธิผลที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น