วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561
"มจร"จัดบวชเณรและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน366หน่วยทั่วไทย
"มจร"จัดบวชเณรและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน ประจำปี 2561 จำนวน 366 หน่วยทั่วประเทศ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตแนะเผยแผ่ธรรมะต้องเข้าใจคน Gen ต่างๆ ยุคนี้ท้าทาย"
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม2561 ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชวรมุนี,ดร.(พล อาภากโร ป.ธ.9) รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร และรองเจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานเปิดสัมมนาและบรรยายพิเศษ หัวข้อ เรื่อง"บทบาท มจร กับการพัฒนาเด็กและเยาวชน"แก่หัวหน้าหน่วยโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน จำนวน 366 หน่วยทั่วประเทศ ความว่า
การเผยแผ่ธรรมะกับเด็กและเยาวชนโดยการจัดโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนในยุคนี้ ท่านทั้งหลายต้องรู้และทำความเข้าใจ Generation ของคนแต่ละยุค ซึ่งเขาแบ่งออกเป็น 8 Generation ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งคนในแต่ละยุคก็มีลักษณะเฉพาะ เช่น คน Generation Y หรือยุค Millennials คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปีพ.ศ.2523-2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายาย กับ รุ่นพ่อแม่ แต่ก็รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ตเข้ามาแทรกอยู่ในการดำรงชีวิตประจำวัน เด็กยุคนี้จึงมักจะถูกตามใจตั้งแต่เด็กชอบการแสดงออก กล้าถาม กล้าแสดงออก
ส่วนคนที่ท่านทั้งหลายต้องเขาไปเกี่ยวข้องให้การอบรมเป็นสามเณร เด็ก หรือเยาวชน โดยส่วนใหญ่เป็นพวก Generation Z "Gen-Z" คนที่เกิดหลัง พ.ศ.2540 ขึ้นไป กลุ่ม Gen-Z นี้ จะเติบโตมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่อยู่แวดล้อม มีความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ และเรียนรู้ได้เร็ว ยังอาจหมายรวมถึงกลุ่ม "Gen-C" กลุ่มคนยุคใหม่ที่ไม่ได้แบ่งตามอายุเหมือน 7 เจเนอเรชั่นก่อนหน้านี้ แต่จัดกลุ่มตามพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพิ่มเติมอีกเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง
"การอบรมเด็กและเยาวชนยุคนี้ ต้องดูยุคของเขาเป็นอย่างไร ลักษณะนิสัยต่างๆ รวมถึงความเป็นอยู่ของเขาย่อมมีผลต่อการจัดกิจกรรม การเลือกเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมกับยุคสมัยและบุคคล"
พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต กล่าวรายงานว่า การดำเนินการโครงการบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2523 ในปี พ.ศ.2561 นี้เป็นปีที่39เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ บัณฑิตและนิสิต มจร ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ออกไปบริการวิชาการแก่สังคมตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในช่วงปิดภาคการศึกษาโดยปีนี้มีหน่วยอบรมทั้งสิ้น จำนวน 366 หน่วยในประเทศ และ 4 หน่วยอบรมในต่างประเทศ คือ ประเทศกัมพูชา 2 หน่วย และสาธารณรัฐประชาชนลาว 2 หน่วย
การจัดสัมมนาหัวหน้าหน่วยอบรมดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกท่านได้เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงการระดมความคิดเห็น เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนในเรื่อง (1) เทคนิคการบริหารโครงการ (2) เทคนิคการทำงานเป็นทีม (3) การจัดกิจกรรมและการใช้สื่ออบรม (4) การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานสำหรับเด็กและเยาวชนแล้ว โดยส่วนตัวนอกจากกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งท่านจะได้แลกเปลี่ยนจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ การประชุมกลุ่มย่อย และพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับยุคสมัยแล้ว ขอฝาก 3 เรื่อง สำคัญที่ควรต้องมี กิจกรรม ต่อไปนี้ (1) การทำวัตร (2) การบิณฑบาต (3) การปัดกวาดวิหารเจดีย์ โดยให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้บูรณาการด้วยการลงมือทำ ท่านกล่าวย้ำในตอนท้าย
ช่วงบ่ายเป็นการประชุมย่อย 4 กลุ่ม คือ (1)กลุ่มที่ 1 เทคนิคการบริหารโครงการ มีพระมหาสุเทพ สุปณฺฑิโต หัวหน้าภาคสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นวิทยากร (2)กลุ่มที่ 2 เทคนิคและวิธีการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ มีพระมหายุทธนา นรเชฏโฐ,ดร.,ป.ธ.9 อาจารย์ประจำคณะพุทธศาสตร์เป็นวิทยากร (3) กลุ่มที่ 3 การจัดกิจกรรมและการใช้สื่ออบรม มีพระมหาชำนาญ มหาชาโน,ดร.ป.ธ.9 ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากร (4) กลุ่มที่ 4 การสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานสำหรับเด็กและเยาวชน มีพระมหาธีรเพชร ธีรเวที,ดร. ป.ธ.9 เป็นวิทยากร
การประชุมกลุ่มย่อยที่ประชุมได้ร่วมระดมความคิดเห็นใน 3 ประเด็น คือ(1) เทคนิคและวิธีการที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินการ (2)การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการทำงานงาน (3) การสร้างเครือข่ายและการขยายผลการดำเนินงาน นอกจากนั้นที่ประชุมยังได้ช่วยระดมความคิดเห็นใน 4 โจทย์สำคัญ คือ (1) สภาพปัญหาการจัดบรรพชาและอบรมเยาวชนในปัจจุบัน (3) การจัดบรรพชาและอบรมเยาวชนในอนาคตที่อยากเห็น (3) วิธีการที่จะทำให้การจัดบรรพชาและอบรมเยาวชนในอนาคตประสบความสำเร็จ (4) กิจกรรมอะไรที่ควรทำในการจัดบรรพชาและอบรมเยาวชน โดยมีการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยของแต่ละกลุ่มด้วย มีดร.แสวง นิลนามะ หัวหน้าภาคศาสนาและปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์
วิเคราะห์ “จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
เห็นด้วยทุกประการเจ้าค่ะ
ตอบลบ