วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

"รองอธิการบดี มจร"แนะงานวิจัยพุทธต้องตอบโจทย์ปฏิรูปคณะสงฆ์



"รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร"แนะผลงานวิจัยพุทธต้องตอบโจทย์การปฏิรูปคณะสงฆ์ ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ผู้นำชุมชน มุ่งส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดสันติภาพ


วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร  มหาจุฬา บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่อง "การวิจัยทางพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน :The Research on Buddhism for Sustainable Development" ความว่า เป็นงานประชุมวิชาการระดับชาติถือว่าเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัย เราต้องการให้วิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์จัดงานประชุมวิชาการเพราะอยากให้ครูบาอาจารย์ทำงานวิชาการเป็น โดยมีการริ่เริ่มจากวิทยาลัยเขตขอนแก่น จึงมีการขยายมาถึงวิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์  ปีนี้ระดับชาติในอนาคตจะจัดนานาชาติ เพื่อความยั่งยืนในงานวิชาการ 


ต้นเดือนเมษายนจะจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ  ประเด็นการวิจัยพระพุทธศาสนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจากมติของสหประชาชาติครั้งที่ 70 มีมติว่าจะเปลี่ยนแปลงโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี 2030 มติออกมาเมื่อ 2015 นับจากนี้ไป 12 ปี  จำนวน 113 ประเทศร่วมประชุม ประเทศไทยจึงมาทำตัวชี้วัดในการพัฒนาที่ยั่งยืน มีตัวชี้วัด จำนวน 205 ตัวชี้วัด มีการจัดประชุมเพื่อเผยแผ่ตัวชี้วัด เรื่องการประชุมสัมมนาไทยเราไม่เป็นรองใคร แต่เรื่องการนำไปปฏิบัติจะเป็นรองคนอื่น เช่นมีข่าวว่าไทยสอบตกความยั่งยืน ประเด็นเรื่องการพัฒนาคนและการศึกษา  การพัฒนาที่ยั่งยืนเราควรคุยประเด็นใดบ้าง โดยมี 7  ประเด็น 1) พัฒนาคน 2)การศึกษา 3)วัฒนธรรม 4)สิ่งเเวดล้อม 5)ระบบบริหารจัดการ 6)เศรษฐกิจ  7 )ชุมชนความเสมอภาคสิทธิมนุษยชน ต้องไปให้ถึง 17 เป้าหมาย  โดยแบ่งออก 4 ประเด็นหลัก คือ " สังคม  เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สันติภาพ"  เป็นเนื้อหาสาระของความยั่งยืนของสหประชาชาติ 
                

การวิจัยพระพุทธศาสนากับการพัฒนายั่งยืนจะเป็นอย่างไร? ลักษณะของการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นไปเพื่อความทำลาย สร้างโดยไม่ทำลาย ได้มาสิ่งหนึ่งโดยไม่เสียสิ่งหนึ่ง เราได้ตึกมาหนึ่งหลังเราทำลายธรรมชาติกี่อย่าง เช่น ลาว ได้รถไฟความเร็วสูงซึ่งเป็นเรื่องที่ดีแต่ต้องเจาะอุโมงค์กระทบทรัพยากรธรรมชาติมากน้อยเพียงใด ซึ่งบอกว่าการพัฒนาซึ่งไม่ทำลายเป็นไปได้ยาก หรือ ได้สิ่งหนึ่งต้องไม่ทำลายสิ่งหนึ่ง ถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน  การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องไม่อยู่ในความขัดแย้ง สร้างแดนเกษมคือมีความสุขทุกภาคส่วน ในฐานะนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา เราได้แสดงบทบาทในฐานะนักวิชาการ เป็นการเปิดเวทีได้แสดงผลงานวิชาการ ปัจจุบันมีนิสิตระดับริญญาโท-เอกเกือบ 7,000 รูป/คน เราจึงจัดต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ มีเวทีวิชาการ ถือว่าเป็นปรโตโฆสะให้มีผลกระทบต่อสังคม แล้วทำเป็นข่าวผ่านสื่อออนไลน์ มีการไลฟ์สดมีการเผยแพร่ไปทั่วโลก อย่างน้อยอาจจะทำให้ต่อมสำนึกมโนธรรมของบางท่านบางคนบ้างในบางตอนถือว่าป็นความคาดหวัง  
               


การพัฒนาที่ยั่งยืนมีส่วนเกี่ยวกับงานวิจัยโดยตรง ซึ่งหลายโครงการที่ทำกับคนในชุมชนไม่มีความยั่งยืน ซึ่งเราต้องดูให้รอบด้าน เช่น การส่งเสริมปลูกต้นยาง เราต้องมองให้รอบด้านผ่านโยนิโสมนสิการ ต่างคนต่างปลูกยางพารา นี่คือ การทำวิจัย  ปัจจุบันมีการทำวิทยานิพนธ์เล่มหนาๆ แล้วเอาไปกองไว้ ไม่มีใครอ่าน ไม่นำไปสู่การปฏิบัติ  ปราชญ์จึงกล่าวว่า "อย่าไปเสียเวลาอ่านหนังสือที่คนโง่เขียน" ปัญหาคือ ใครโง่กว่าเรา หรือ เราโง่กว่าเขา การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเกี่ยวกับการวิจัยทางพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยด้านพระพุทธศาสนานั้น คือ 



1)"ควรจะนำเสนอรูปแบบการพัฒนาที่จะนำไปสู่การทำลายโลภะ โทสะ โมหะ " ซึ่งใครๆ ก็มีความอยาก จะทำอย่างไรจะลดความโลภความโกรธความหลง 2)เนื้อหาของการวิจัยจะต้องเชื่อมโยงสัมพันธ์ของสรรพสิ่งในโลก เช่นคำในพระไตรปิฎกว่า "เมื่อคนไม่ประพฤติธรรมดวงจันทร์ก็หมุนเวียนไม่สม่ำเสมอ" เป็นต้น ถามว่ามันมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างไร  เราควรทำการวิจัยว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร? เป็นวิทยาศาสตร์หรือพุทธศาสตร์ เราต้องขบคิดกันต่อว่า มันเชื่อมโยงอย่างไร? เรานำเสนองานวิจัยแต่พุทธศาสตร์แต่ขาดการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ คนสมัยใหม่จะต้องนำเสนอให้เชื่อโดยมีการเชื่อมโยง  คนสมัยใหม่เก่งวิทยาศาสตร์แต่ขาดพระพุทธศาสตร์ การทำวิจัยอย่าหลงไปไสยศาสตร์  3)ผลการวิจัยทางพระพุทธศาสนาจะต้องเกิดจิตสำนึกที่เกิดเมตตาธรรมต่อกัน คนไทยเชื่อพระในลักษณะผู้นำพิธีกรรม เป็นผู้นำทางด้านพิธีกรรม เราจะทำอย่างไรให้การวิจัยทางพระพุทธศาสนาพัฒนาให้เป็นไปแบบยั่งยืน  ทางสังคมสงฆ์ต้องมีความเข้มแข็งมั่นคง เราจึงมีการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ การวิจัยทางพระพุทธศาสนาควรเป็นไปตามกรอบการปฏิรูปกิจการทางพระพุทธศาสนาและนำเสนอผลการวิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน           
                   


ดังนั้น พระราชปริยัติกวี ศ.ดร. กล่าวสรุปว่า งานวิจัยทางพระพุทธศาสนาที่จะเป็นเพื่อความยั่งยืนต้องก้าวออกมาจากปริยัติสัทธรรมมาสู่ปฏิบัติสัทธรรม ต้องมีความเข้มเเข็งทางการปฏิบัติ การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้จึงต้องตระหนักร่วมกันในการพัฒนาที่ยั่งยืนสืบไป 


................


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กpramote od pantapatพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก  สาขาสันติศึกษา มจร)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวทางส่งเสริม Soft Power ของไทยภายใต้นโยบาย 5Fs "นายกฯอิ๊งค์" ชูกลางงานเลี้ยงอาหารค่ำผู้นำ APEC

  การส่งเสริม Soft Power ของประเทศไทยภายใต้นโยบาย 5Fs (อาหาร ภาพยนตร์ แฟชั่น เทศกาล และมวยไทย) มุ่งเน้นการใช้มรดกทางวัฒนธรรมและศักยภาพของประ...