วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561
"อธิการบดี มจร"ชี้ยุค4.0! งานเผยแผ่ของคณะสงฆ์ท้าทาย
"อธิการบดี มจร" ชี้ยุคไทยแลนด์ 4.0! งานเผยแผ่ของคณะสงฆ์ท้าทาย แนะนิสิตปฎิบัติศาสนกิจรุ่นที่ 63 ประจำภาคกลาง สำรวจความสามารถความถนัดตัวเอง ก่อนโบยบินออกไปทำงานสนองงานคณะสงฆ์และสังคม
วันที่ 21 มี.ค.2561 พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง "การปฎิบัติศาสนกิจกับการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา" ในงานสัมมนานิสิตปฎิบัติศาสนกิจ รุ่นที่ 63 ประจำภาคกลาง ระหว่างวันที่ 21 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระมหาราชัน จิตฺตาปาโล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต กล่าวถวายรายงาน
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกรูปในความสำเร็จ หลังจากปฏิบัติศาสนกิจก็มาทบทวนในสิ่งที่เราไปทำมาให้เกิดความตกผลึกเป็นความคิดรวบยอดสำหรับตัวเราจะเดินหน้าต่อไป และมหาวิทยาลัยจะได้ประโยชน์จากการสัมมนาได้ฟังประสบการณ์จากนิสิตเพื่อจะได้วางแผนในรุ่นต่อไป มหาวิทยาลัยได้ทำตามปรัชญามากแค่ไหน ในการพัฒนาจิตใจและสังคม ในการลงไปสู่การปฏิบัติงานองค์ความรู้เพียงพอหรือไม่ ศาสตร์สมัยใหม่ช่วยทำให้ทำงานดีขึ้นไหม สภาพจิตใจของท่านเป็นอย่างไร และเรามีส่วนช่วยพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างไร เป็นโอกาสในการมองภาพรวม อะไรที่ขาดเราก็เติมให้เต็ม
งานของคณะสงฆ์เราสร้างงานอะไรบ้างตั้งแต่ปกครองจนถึงศาสนสงเคราะห์ เราไม่ได้ถนัดทั้งหมด ถามว่าเราถนัดด้านใด ถ้าเราถนัดเรามีความรู้เหมาะสม ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้เพียงพอเท่าใด มีทัศนคติในการเป็นผู้ให้อย่างไร เราทำงานมาหนึ่งปีมีประสบการณ์ท่าใด เราจะทำงานคณะสงฆ์ 6 ด้าน เราขาดความรู้เรื่องอะไร ควรไปศึกษาเพิ่มเติมไหม? เรียนจบปริญญาตรีเพียงพอหรือไม่ในการทำงานเพื่อพระพุทธศาสนา เราควรเรียนต่อปริญญาโท-เอก เพื่อนำความรู้ไปทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม เราจะวัดได้ว่าเราพร้อมในการทำงาน เราต้องลงมือทำงานเท่านั้น
เราต้องประเมินตนเองในการทำงาน เช่น สมัยจัดฝึกอบรมพระนักเทศน์ เราทำโดยไม่มีความรู้ประสบการณ์ทักษะจนทำให้เกิดความเครียด ต้องไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ วิเวิกอาศรม 7 วัน เพื่อสร้างความอดทน ฝึกฝนตนเอง การทำงานจะบอกเราเอง แต่เราต้องซื่อตรงต่อตนเอง เราทำงานเราจะทราบว่าเราขาดอะไร พยายามถามครูอาจารย์ว่าจะทำอย่างไรต่อ เมื่อเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งอาจารย์ตอบว่าควรจะไปหาความรู้เพื่อการทำงานใหญ่ เราต้องสะสมความประสบการณ์ ด้วยการไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ด้วยการไปบ่มเพาะความรู้จนจบปริญญาเอก ด้วยการฝึกภาษาอังกฤษ
ถ้าเราจะคิดช่วยสังคม หรืองานคณะสงฆ์เราจะช่วยในด้านใด ยิ่งมีการปฏิรูปเราจะมีส่วนปฏิรูปได้อย่างไร เราต้องวิเคราะห์ตนเองว่าเราถนัดด้านใด ไม่ว่าเรียนหรือทำงาน เราต้องดูว่าชีวิตที่ผ่านมาเรามีจุดเเข็งจุดอ่อนอย่างไร จะลงสู่สนามพร้อมไหม? จุดอ่อนของเราคืออะไร จุดแข็งของเราคืออะไร สำหรับผู้มีความรู้ความสามารถ เราลองถามตนเองว่าเราจะทำอะไร? เรามีจุดเด่นอะไร อะไรคือจุดด้อยที่จะต้องแก้ไข มีโอกาสอะไร มีอุปสรรคอะไร ปัจจุบันมหาจุฬาฯมีความพร้อมทุกอย่างเพื่อให้เราได้ทำงาน เราจะใช้จุดเด่นในการทำงานอย่างไร?
ดังนั้น เราจะช่วยการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างไร? เรากินบุญเก่ามานานแล้ว อยากเห็นการยกเครื่องพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในการพัฒนาหลักสูตรปฏิรูปโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เรื่องการเผยแผ่ได้รับการท้าทายมากในยุคไทยแลนด์ 4.0 เราเขียนหนังสือเป็นอีบุ๊คไปเลย การเผยแผ่ธรรมมีการถ่ายทอดสดคนดูเป็นจำนวนมาก การเผยแผ่มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา เราจะไปทำงานต้องยึดนโยบาย 5 ประการ คือ "ตกปลานอกบ้าน ประสานสิบทิศ ผูกมิตรทั่วหล้า บริหารปัญญา สาริกาป้อนเหยื่อ"
1)ตกปลานอกบ้าน คือ เราต้องหาคนเก่งๆ มาช่วยงานของเรา เป็นการตกปลานอกบ้าน นึกถึงคำของคุณธนินกล่าวว่า "สินค้าทั่วโลกเป็นของซีพี คนเก่งทั่วโลกเป็นซีพี"ไม่ต้องผลิตสินค้าแข่งใคร แต่เอาสินค้ามาวางขายในเชเว่น 2)ประสานสิบทิศ คือ อย่าทำงานคนเดียว อย่าเก่งคนเดียว ต้องเอาทุกฝ่ายมาช่วยในการทำงาน 3)ผูกมิตรทั่วหล้า คือ อย่าไปสร้างความขัดแย้งกับใคร สร้างมิตรไว้เยอะๆ 4)บริหารปัญญา คือ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ปัญญาเราต้องบริหารเพราะกระจัดกระจาย ใช้ปัญญาของคนอื่นมาช่วย ศึกษางานวิจัยที่คนอื่นทำไว้เพื่อจะได้เข้าใจ รุ่นพี่ต้องส่งต่อให้รุ่นน้องจ จะได้ง่ายในการทำงาน เราต้องมีศูนย์สอนภาษาเมื่อเราไปทำงานปฏิบัติศาสนกิจ เช่น ชาวเขา ภาษาเราต้องสื่อสารได้
5)สาริกาป้อนเหยื่อ คือ รู้จักสื่อสารรู้จักเทศน์รู้จักสอน สอนให้ตรงตามความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ รุ่นพี่ที่ออกไปปฏิบัติศาสนกิจจะต้องส่งต่อถึงรุ่นน้องมห้เกิดความชัดเจน จะได้ง่ายในรุ่นต่อไป กองกิจการนิสิตจะต้องตอบโจทย์ให้ได้ "รุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้อง"เราจะเห็นความสามารถของตนเองเมื่อเราได้ทำงาน เราจึงต้องเตรียมความรู้ความสามารถของตนเองไว้ เพื่อเราจะส่งไม้ต่อกันด้วยการปฏิรูปการทำงานของท่านเอง ทำงานที่ใดคนสร้างงาน งานสร้างคน
................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโทนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) สร้างสันติภาพตามพุทธสันติวิธี
การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้างสันติภาพในปริบทพุทธสันติวิธีถือเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสงบสุขและลดความขัดแย้งในสังคม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น