วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

ชวน"ออเจ้า"ถอดบทเรียนปรองดอง !แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช



ชวน"ออเจ้า"ถอดบทเรียนปรองดอง !แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สันติศึกษา มจร รายงาน


ละครเรื่อง "บุพเพสันนิวาส" โดยเฉพาะคำว่า "ออเจ้า" มีอิทธิพลเป็นอย่าง ถูกนำมาประกอบในการสนทนา พร้อมกันนี้ได้นำมาประกอบฝึกแต่งโครง อาทิ

.......ออเจ้างามเด่นดัง ......ดวงแด
พลเข็นเครื่องไฟต่ำยิ่ง........เพียงดิน
ยามค่ำคืนจิตถวิลหา.......... มิ่งมิตร นะแม่
ดวงฤดีอย่าได้ราร้าง...........อยู่คู่ฟ้าดินสลาย

เนื้อหาและฉากของละครส่วนเกี่ยวข้องกับแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเมืองลพบุรีก็เพิ่งเสร็จการจัดงานงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประจำปี 2561 ผ่านไปไม่นาน 

ช่วงที่ศึกษาระดับปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้เดินทางไปร่วมงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประจำปี 2558 ที่มีขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 22 กุมภาพันธ์รวม 9 วัน 9 คืน เปิดให้นักท่องเที่ยวชมฟรีทุกคืน โดยผู้ร่วมงานจะต้องแต่งกายย้อนยุคเพื่อสร้างเอกลักษณ์เสริมการท่องเที่ยว และที่สำคัญไปกว่านั้นคือเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนในชาติมีความรัก สมานสมัคคีปรองดองกัน

วันเปิดงานดังกล่าวนิสิตปริญญาโทสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ภายใต้การนำของนางปิ่นทิพท์ วนิดา มโนสุจริตธรรม อดีตนายกเทศมนตรีเมืองลพบุรี  ได้ชวนเพื่อร่วมชั้นแต่งชุดไทยย้อนยุคโดยเฉพาะพลเข็นเครื่องไขไปร่วมงานด้วย และถอดบทเรียนเนื้อหาในหลักสูตรสันติศึกษา

งานเริ่มขึ้นด้วยขบวนแห่ที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศของการนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ แต่งไทยกันทั้งเมือง อันยิ่งใหญ่ตระการตา ตั้งแต่ศาลพระกาฬไปยังพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ซึ่งประกอบด้วยขบวนพระนารายณ์ ขบวนช้างม้า ขบวนราชทูต และขบวนชาติพันธุ์วัฒนธรรมคนท้องถิ่น  พร้อมพิธีเปิดจากมุมสูงอันยิ่งใหญ่ตระการตา 

สำหรับการแสดงรอบแรกในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้นภายใต้คอนเซ็พท์ รักชาติ รักแผ่นดิน เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในอดีตถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสถาปนาเมืองลพบุรี ให้เป็นราชธานีแห่งที่ 2 รองจากกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งการทูตที่ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ อันมีหลักฐานในประเทศต่างๆ ไว้มากมาย

การแสดงประวัติศาสตร์จินตนาการไฮไลท์สำคัญ คือ การจัดแสดง ณ สถานที่จริง บริเวณตึกเลี้ยงรับแขกเมือง ตึกสิบสองทองพระคลัง ตึกพระเจ้าเหา ภายในพระนารายณ์ราชนิเวศน์  โดยใช้นักแสดงกว่า 500 คน ซึ่งเป็นชาวลพบุรี และกำลังพลจากหน่วยทหารในพื้นที่ โดยไม่มีการจ้างนักแสดงอาชีพ โดยทุกคนพร้อมใจกันแสดง

ทั้งนี้งานวันเปิดมีนายสุธี มากบุญ รมช.มหาดไทย เป็นประธานในพิธีโดยได้กล่าวมุ่งหวังว่างานนี้จะส่งผลให้ชาวลพบุรีและไทยทั่วไปมีความรัก สมานสมัคคีปรองดองกัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวคืนความสุขตามนโยบายของรัฐบาล

จากขบวนแห่แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีลักษณะพหุนิยมกลุ่มชนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาพึ่งโพธิสมภาร ทำให้สังคมไทยยุคนั้นมีค่านิยมหลากหลายความเชื่อ แต่ด้วยอาศัยพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองด้วยยึดหลักทศพิธราชธรรมตามที่พระองค์พระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ตอนพระทศรส ทำให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองอีกรัชสมัยหนึ่ง

ทั้งนี้เนื้อหาในหลักสูตรสันติศึกษานั้นได้มีการศึกษาเรื่องสาเหตุของความขัดแย้งที่ประกอบด้วยข้อมูลข่าวสาร โครงสร้าง ผลประโยชน์  ความสัมพันธ์ และค่านิยม ซึ่งศ.นพ.วันชัย วัฒนศัพท์ระบุว่าสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้าง ความสัมพันธ์หรือชาติพันธุ์ และค่านิยมนั้นหากเกิดความขัดแย้งขึ้นแล้วยากที่จะเจรจาต่อรองให้เกิดสันติภาพได้ แต่ในรัชสมัยของของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมีพระปรีชาสามารถปกครองทำให้ความขัดแย้งในช่วงนั้นไม่เกิดขึ้น

บทเรียนดังกล่าวสะท้อนถึงผู้นำทางการเมืองไทยยุคปัจจุบันนี้ หากยึดหลักทศพิธราชธรรมแล้วความขัดแย้งที่พัฒนาเป็นความรุนแรงจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และหากสังคมไทยอาศัยกระแสละคร "บุพเพสันนิวาส" แล้วนำการสร้างความปรองดองจากแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประเทศไทยคงจะออกจากหลุมดำแห่งความขัดแย้งทางการเมืองได้อย่างแน่นอน ไม่ใช่แต่มุ่งใช่เล่ห์เพื่อฝ่ายตัวเองได้เปรียบทางการเมือง 

..........

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.komchadluek.net/news/politic/201528)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...