วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2561

ใกล้คลอด!ป.เอกวิศวกรสันติภาพ"มจร"รุนแรก



ใกล้คลอด!ป.เอกวิศวกรสันนติภาพ"มจร"รุนแรก ผ่านสอบคุณสมบัติ  QE เตรียมลุยดุษฏีนิพนธ์พุทธนวัตกรรมสร้างสันติสุขสังคมโลก

วันที่ 16 มี.ค. 2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระปราโมทย์ วาทโกวิโท พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร เปิดเผยว่า ร่วมสังเกตการณ์สัมภาษณ์การสอบวัดคุณสมบัตินิสิตระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษารุ่นแรกของประเทศไทย ณ หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา ถือว่าเป็นมิติอันสำคัญในการผลิตดุษฏีบัณฑิตของมหาจุฬาให้มีคุณภาพเพื่อเสริมสร้างสังคมสันติสุข นิสิตแต่ละท่านล้วนเป็นบุคคลที่ทำงานในภาคสังคมทั้งภาครัฐและเอกชน จึงมุ่งมั่นมาพัฒนาตน เรียนมหาจุฬาเพื่อนำคำสอนของพระพุทธศาสนาและศาสตร์สมัยใหม่นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและชีวิตให้เกิดสันติสุข หลังจากนั้นเป็นการสอบโครงร่างตามเกณฑ์ของ สกอ. และทำดุษฏีนิพนธ์ต่อไป 



ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาเคยกล่าวว่า การทำดุษฏีนิพนธ์ในระดับปริญญาเอกต้องเริ่มต้นด้วย  Mindset ภายในของตนเองก่อน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ มิจฉาทิฐิ mindset และสัมมาทิฐิ mindset ขยายความคำว่า มิจฉา mindset หมายถึง ไม่กล้าที่จะเขียน ติดกับดักตนเอง ทำไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะเขียนอะไรเขียนอย่างไร ความจริงเรียนในระดับปริญญาเอก ทุกคนมีศักยภาพเเต่ไม่กล้าขายความคิดของตนเอง เราต้องทราบความคิด ต้องคิดว่าไม่มีใครรู้ดีเท่าเรา สัมมาทิฐิ mindset เราต้องเปิดความคิดของสมองเรา ฝึกเขียนลงเฟชบุ๊คของตนเอง ฝึกเขียนบ่อยๆ จะทำให้เราตกผลึก ทุกคนมี mindsetบวกแต่เราต้องมี  Mindfulness จะทำเกิดปัญญา ใครที่ชอบนั่งสมาธิจะทำให้เกิดปัญญา เราทุกคนมี mindset อยู่แล้วแต่ไม่สามารถถอดออกมาได้ เราต้องฝึกการดึง mindset ของตนเองออกมาให้ได้ 




เราต้องอธิบายคำออกจากหัวข้อหลักขยายหัวข้อย่อย เช่น ศึกษาพระรัตนตรัย แตกขยายออกไปเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วแตกขยายออกเป็นบทๆ เราต้องหาคำหลักให้เจอ เช่นศึกษาคำว่า น้ำ ขยายออกความหมายของน้ำ ประเภทของน้ำ องค์ประกอบของน้ำ คุณค่าของน้ำ ประโยชน์ของน้ำ หรือ ขันธ์ ๕ เป็นคำหลัก คำรองเป็นรูปนาม ในหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท คือ " ศึกษาวิเคราะห์ขันธ์ ๕ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท " เราต้องฝึกการขยายคำ คำว่า Mindmap ถือว่าเป็นการเชื่อมโยง 



ในการทำวิจัยต้องทราบถึง "Context เป็นบริบท" ต้องถามตนเองว่าเราเป็นใคร เป็นตัวตนของเรา เราเป็นอะไร เรามีปัญหาอะไร อยากจะพัฒนาอะไร เรามีอุปสรรคอะไร อยากจะทำให้แจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น"การจำแนกแจกแจง segmentation" แล้วนำมา"เลือกเป้าหมาย Targeting" เราเลือกสักหัวข้อ หลังจากนั้น"การจัดวางตัวตน Positioning"ในสิ่งที่สะท้อนความเป็นเรา ตัวตนของเรา สะท้อนจิตวิญญาณของเรา ถือว่าเป็น STP for Writing ดังนั้นContextของเราจะต้องการจำแนกแจกแจง การเลือกเป้าหมาย การจัดวางตัวตน 

เราต้องทำให้คนรับรู้และรู้สึกว่างานหรือดุษฏีนิพนธ์มีความสำคัญที่สุด สังคมรับรู้และรู้สึกอย่างไรกับงานวิจัยที่เราทำ แสดงว่า Context คือ ความเป็นตัวตนของเรา จะนำไปสู่ "Concept แนวคิด" มีหลักการใด ธรรมะตัวใดที่สอดคล้องกับตัวเรา หรืองานของเรา เรารู้ว่าเป็นใคร เราอยากจะได้อะไร ถ้าเราไม่ชัดในตนเองเราจะเดินได้อย่างไร ? เหมือนเราศึกษาพระไตรปิฏกเหมือนเข้าไปในป่า เพราะพระไตรปิฏกเปรียบเสมือนป่านานาพันธุ์ เราจะเลือกอะไรที่เหมาะสมกับเราเหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ จากนั้นนำไปสู่ "Content เนื้อหา"แต่ต้องให้สอดคล้องกับ Context บริบท ด้วยการออกแบบเนื้อหาให้สอดรับกับบริบทเราต้องยึดความต้องการ ออกแบบมาแล้วใครเอาไปใช้ใครเหมาะกับสินค้าที่เราอออกแบบงานของเราจะต้องสะท้อน 4  ประการ คือ 

1)Problems สะท้อนปัญหาในชุมชน องค์กร สังคม หรือประเทศชาติมีปัญหาคืออะไร 
2)People คือ สะท้อนกลุ่มที่จะใช้งานเรา หรือกลุ่มคนในพื้นที่ เครื่องมือประชากรกลุ่มตัวอย่าง ชุมชนที่เราเลือก กลุ่มต้องชัดเจน 
3)Situations คือสะท้อนสถานการณ์ ที่ปรากฎในขณะนั้น เทรนในปัจจุบัน เช่น นวัตกรรม ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0  
4)Needs สะท้อนความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เป็นความต้องการของชุมชน องค์กร สังคม 

 พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า ดังนั้น กรอบการเขียนแบบอริยสัจ คือ ทุกข์ คือ ปัญหา สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหา นิโรธคือ การหมดไปของปัญหา มรรค คือ วิธีการแก้ไขปัญหาโดยเริ่มจาก Good Questionคือ 1)ค้นหาปัญหาที่จะเขียน 2)หาทฤษฏีมาเป็นกรอบแนวทางเครื่องมือในการศึกษา 3)ใช้เครื่องมือที่ได้มาค้นหาสิ่งที่เราต้องการในพุทธ 4)วิเคราะห์ตีความสงเคราะห์บูรณาการเครื่องมือทั้งสองเพื่อสร้างสิ่งใหม่ 5)ได้คำตอบประเด็นปัญหา คือ Good Answer ถามถูกตอบถูก ถามผิดตอบผิด งานวิจัยจะสนใจคำถามมากกว่าคำตอบเสมอ จึงมีแรงบันดาลใจในการทำดุษฏีนิพนธ์ เพื่อการพัฒนางานในสิ่งที่เราต้องการ ด้วยการค้นหาบริบทของตนเอง ศึกษาแนวคิดและเนื้อหาของงานวิจัย จึงเป็นโอกาสดีอันยิ่งทำให้มีแรงบันดาลใจในการทำดุษฏีนิพนธ์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ดร.มหานิยม" พาไปไหว้ พระวัดงามตามรอยพระอริยะ วัดป่าโสมพนัสสกลนคร

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา อดีต สส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย  หรือ "ดร.มหานิยม" ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที...