วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

สาส์นของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ถึงมหาเถรสมาคม และคำอนุโมทนาของมหาเถรสมาคม เมื่อปี 2506

สาส์นของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ถึงมหาเถรสมาคม
และคำอนุโมทนาของมหาเถรสมาคม เมื่อปี 2506




ไม่ใช่ครั้งแรก!ครูบาบุญชุ่มขอไทยเลือกตั้งเร็วๆเหมือนพม่า




จากการที่พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสังวโร พระเกจิดังเมืองล้านน ที่เดินทางไปทำพิธีเปิดถ้ำสวดมนต์เพื่อเป็นกำลังใจในการช่วยนักฟุตบอลและโค้ชทีมทีนทอล์ค (หมูป่า) อะคาเดมี แม่สาย อ.แม่สาย จ.เชียงราย ทั้ง 13 คน ออกมาจากถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ให้ประสบผลเสร็จเมื่อวันที่ 29-30 มิ.ย.2561 พร้อมให้คติธรรมว่า   

“วันนี้ขออธิษฐานจิตขอให้เด็กได้ออกมาวันนี้พรุ่งนี้ เราตามแล้วยังอยู่ เห็นในนิมิต ขอวิญญาณที่อยู่ในถ้ำนี้ เปิดประตูถ้ำ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองด้วยเถิด” พระครูบาบุญชุ่ม กล่าวและว่า คนเราเกิดมาทั้งหลาย พุทธเจ้าบอกว่าเราเกิดมาใช้กรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ใครทำกรรมสิ่งใดไว้ก็ได้สิ่งนั้น

“จะเป็นนิมิตดีให้คนทั้งหลายได้กลับใจ ไม่ทำบาป ไม่ประมาทในชีวิต ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรเที่ยงแท้แน่นอน ขอให้ทุกคนมีศีลมีธรรม ต่อตนเอง พ่อแม่ และครูอาจารย์ การมาที่นี่ไม่ได้อยากได้หน้า มาด้วยใจบริสุทธิ์ ต้องรักกันสามัคคีช่วยเหลือกัน พ่อแม่ก็ต้องดูแลเด็กให้ดี ลูกหลานอย่าเอาแต่ใจตัวเอง”

และก่อนจะขึ้นรถกลับพระครูบาบุญชุ่ม ได้กล่าวท่ามกลางสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่ร่วมเดินมาส่งที่รถว่า "ต้องทำข่าวให้ดีนะ ทำข่าวให้เรียบร้อย ให้กำลังใจทุกคน ให้ทุกคนโชคดี มีความสามัคคี ขอให้ประเทศไทยได้เลือกตั้งเร็วๆ เหมือนประเทศพม่า สาธุ"

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมพระครูบาบุญชุ่มถึงพูดที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ความจริงแล้วพระครูบาบุญชุ่มมีความเป็นห่วงสถานการณ์สังคมและการเมืองไทยมาตลอดและพยายามที่จะเตือนสติ อย่างเช่นเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2556 ก่อนที่พระครูบาบุญชุ่มจะเดินทางจากวัดถ้ำราชคฤห์ไปยังวัดดอนเรือง เมืองพง จ.เชียงตุง ประเทศพม่า ได้ร่วมงานทอดกฐิน ที่วัดขัวแคร่ จ.เชียงราย วันที่ 12 พ.ย.พระครูบาบุญชุ่มได้เทศนาธรรมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีที่วัดศรีโคมคำ อำเภอเมืองพะเยา โดยพะเยาทีวีชุมชนบันทึกภาพและเสียงเผยแพร่เป็นมีข้อคิดเตือนสติแก่คนไทย และพุทธศาสนิกชนทั่วไทย ทั้งนี้พระครูบาบุญชุ่มได้แนะให้คนไทยรักกันอย่าแตกแยกกันสามัคคีกัน ไม่เช่นนั้นจะอายเมืองพม่าเขา

ทั้งนี้เพราะว่า พระครูบาบุญชุ่ม คือ คนไทย





คณะสงฆ์แม่จันมอบปัจจัยอธิษฐานจิตช่วย13ชีวิตทีมหมู่ป่า



เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2561 คณะสงฆ์อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย  นำโดยพระครูอุปถัมภ์วรการ เจ้าคณะอำเภอแม่จัน ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ประจำจังหวัดเชียงราย นำปัจจัย จำนวน 45,050 บาทพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภค ร่วมสนับสนุนบำรุงขวัญและกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ ที่ปฎิบัติงานช่วยเหลือ บริเวณถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ณ จุดรับบริจาค วัดบ้านจ้อง อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย ในการนี้คณะสงฆ์ฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมอธิษฐานจิตเมตตาถึงน้องๆเยาวชนพร้อมโค้ชที่ติดอยู่ในถ้ำขอให้รอดปลอดภัย และกลับออกมาโดยเร็ว

"IBSC มจร"ร่วมกับ"องค์การไกล่เกลี่ยโลก"ลงนามความมือเพื่อสันติภาพ




วันที่ 29 มิถุนายน 2561ที่ผ่านมา ที่วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และ ศ.ดร.แดเนียล เอ็ดมานด์ ผู้อำนวยการองค์การไกล่เกลี่ยโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี  ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือพัฒนางานด้านสันติภาพ โดยมีประเด็นการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาทักษะผู้ใกล่เกลี่ยคนกลาง และการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่ทำงานด้านสันติภาพร่วมกัน



องค์การไกล่เกลี่ยด้านสันติภาพมีนักไกล่เกลี่ยที่มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ทำงานอยู่ทั่วโลกที่จับมือกันตั้งองค์การไก่เกลี่ยขึ้นมาทำงานในภูมิภาคต่างๆ อีกทั้งการจัดประชุมไกล่เกลี่ยโลกที่เมืองไทยสองครั้ง สิ่งสำคัญในการลงนามคือการนำองค์ความรู้ Mindful Mediation เข้าไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักไกล่เกลี่ยให้มีพื้นฐานการทำงานอย่างมีสติมากยิ่งขึ้น เพราะการทำงานลักษณะนี้จะสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึกของคู่กรณีที่กำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้งและความรุนแรง



นอกจากนี้ หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ มองว่า องค์การไกล่เกลี่ยโลกจะเป็นพันธมิตรสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของนักศึกษาที่จะเข้าไปศึกษาหลักสูตรสันติศึกษา ที่จะเปิดหลักสูตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยจาจิโลเนียน เมืองคราค๊อพ ประเทศโปแลนด์ในปีหน้า และในฐานะที่เยอรมันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบาดแผลความเจ็บปวดในสงครามโลกครั้งที่สอง จะได้เข้ามาช่วยเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในยุโรปอย่างมีพลังต่อไป



การลงนามครั้งนี้ ได้มีพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร และพระโพธิคุณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร เบอร์ลิน ได้สนับสนับสนุนพื้นที่ในการลงนามความร่วมมือ โดยมีคณะสงฆ์และญาติโยมร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้

...........


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กHansa Dhammahaso)



ประชาคมม.กรุงเทพธนบุรีจัดพับนกกระเรียน1,000ตัวส่งกำลังใจช่วย13ชีวิตทีมหมูป่า




วันที่ 30 มิ.ย.2561 จากเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่นักฟุตบอลเยาวชน ทีม "หมูป่าอะคาเดมีแม่สาย" ซึ่งหายตัวไปพร้อมกับโค้ช รวม 13 คน ภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน พื้นที่บ้านจ้อง ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยในขณะนี้ทุกหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มคน ชาวไทยทั้งประเทศ รวมถึงความร่วมมือจากนานาชาติ ได้รวมพลังกันให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการส่งกำลังใจอย่างไม่ขาดสายนั้น 

ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ดร.เอราวัณ ทับพลี ผู้อำนวยการหลักสูตร NEW ERA และ อ.จีน่า ณภัทร อาจารย์ผู้ดูแลทุนศิลปิน ดารา ฯ  นักศึกษากลุ่มต่าง ๆ อาทิ กลุ่ม DPA,กลุ่มเจ้าสัว,กลุ่ม NEW ERA,กลุ่ม BTU Channel นักศึกษาคณะ-สาขา ต่าง ๆ  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ตลอดจน ศิลปิน ดารา นางงาม สื่อมวลชน และชาว BTU ได้กำหนดร่วมกิจกรรมพับนกกระเรียน ณ บริเวณชั้น 1 (ห้องอาหาร) ตึกดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ในวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป

จึงได้แจ้งประชาคมมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ร่วมกันพับนกกระเรียน 1,000 ตัว สื่อแทนหัวใจชาว BTU ส่งกำลังใจไปช่วยเหลือ นักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช 13 คน ที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง จ.เชียงราย ให้ปลอดภัย 

ทั้งนี้นกกระเรียนในความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เป็น “นกแห่งความสุข” เชื่อกันว่าถ้าพับนกกระเรียนได้หนึ่ง 1,000 ตัว เทพเจ้าจะรับคำอธิษฐานและอวยพรให้มีความสุขมีความสมหวังในสิ่งที่ขอ

มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจับมือวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช"มจร"เดินหน้าปั้นวัยโจ๋ช่อสะอาดต้านทุจริต



ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม 2561 ที่วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) จังหวัดพิษณุโลก ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานกรรมการมูลนิธิต่อต้านการทุจริต เป็นประธานเปิดโครงการฝึกอบรม จริยธรรม รู้เท่าทันการทุจริต “ค่ายเยาวชนช่อสะอาด :พิษณุโลก” รุ่นที่ 2/2561 โดยมีคุณวิฑูลรย์ ศิริวิโรจน์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ความเป็นมาโครงการ มีคุณวิฑูรย์ วรโชติพงศ์พันธุ์ ผอ.ปปช.ประจำจังหวัดพิษณุโลก พันเอกโสภานันทสุวรรณ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 39 ผู้แทนแม่ทัพภาค3 และคุณครูทั้ง 8 โรงเรียนที่ส่งเยาวชนเข้าอบรม มาร่วมพิธีเปิดในการฝึกอบรมฯ 



ครั้งนี้มีเยาวชนเข้าอบรม 156 คน จากเป้าหมาย 100 คน จาก 8 โรงเรียน ได้แก่ 1. รร.ท่าทองพิทยคม 2. รร.พรหมพิรามวิทยา 3. รร.บ้านกร่างวิทยาคม 4. รร.จ่านกร้อง 5. รร.วัดเนินมะคึก 6. รร.พุทธชินราชพิทยา 7. รร.พิษณุโลกพิทยาคม 8. รร.ประชาสงเคราะห์วิทยา







วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

"เลข 3"ตรงเป๊ะ!ทีมหมูป่ากับครูบาบุญชุ่มอย่างอัศจรรย์




ตลอดระยะเวลาของการช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชน หมูป่าอะคาเดมีแม่สายรวม 13 ชีวิต ออกมาจากถ้ำหลวง–ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ทั้งทางด้านเทคนิคและด้านจิตใจ โดยเฉพาะทางด้านจิตใจนั้นเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เกจิดังซึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว พม่า จีน และภูฏาน ซึ่งเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา ได้เดินทางกลับจากประเทศลาวแล้ว และเดินทางไปที่ถ้ำหลวงขุนนางนอน จ.เชียงราย เพื่อส่งกระแสจิตกำลังใจไปช่วย  ประกอบกับเด็ก 1 ใน 13 คน ทีมหมูป่านั้นเป็นลูกชายของลูกศิษย์พระครูบาพ่อบุญชุ่มด้วย


พระครูบาบุญชุ่มได้เดินทางถึงถ้ำหลวงในเวลา 20.20น.ท่ากลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนักก่อนหน้านี้และได้ประกอบพิธีขอบิณฑบาตชีวิตทีมหมูป่ากับเจ้านางนอนจนกระทั้งเวลา 21.20น.จึงยุติลงแล้วได้กล่าวก่อนเดินทางกลับว่า "ไม่ต้องเป็นห่วงน้องๆสบายดีอยู่ไม่ไกล อีก 2 วันจะออกมาแล้ว"   อย่างไรก็รถที่พระครูบาบุญชุ่มนั่งมานั้นหมายเลขทะเบียน กย 9013  

เป็นที่น่าสังเกตว่า ตัวเลขของทีมหมูป่า 13 ชีวิต เลขทะเบียนรถก็ 13 ตรงกัน และเลข 3 นั้นสอดคล้องกับพระครูบาบุญชุ่มเพราะเคยปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่ 18 เม.ย.2553 โดยอธิษฐานไม่เปล่งวาจา, ไม่พบบุคคลใดๆ ที่ถ้ำราชคฤห์ อ.งาว จ.ลำปาง หลังจากนั้นช่วงเข้าพรรษาจะจำพรรษาในถ้ำลักษณะปิดวาจาเป็นประจำ ทั้งนี้เพราะการเข้ากัมมัฏฐานสิ่งสำคัญยิ่งที่การปิดวาจา

ส่งผลให้ก่อนการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดประจำวันที่ 1 ก.ค.2561 มีรายงานว่า ประชาชนนักเสี่ยงโชคชาวเชียงใหม่ ได้ออกกว้านซื้อเลข 13 จากแผง ทำให้เจ้ามือหวยบางเจ้าอั้นไม่รับแทงเลข 13 หรือ 31 เพราะกลัวถ้าออกขึ้นมาจริงๆ จะไม่มีเงินจ่าย บางเจ้าก็ยังรับแทง แต่หากถูกรางวัลจะขอจ่ายครึ่งราคาเท่านั้น 


นี้คือวิถีชีวิตของคนไทยยากที่จะแยกออกจากกัน แต่เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ ทุกฝ่ายรู้จัก 4 แยกคือ แยก ปัญหา อารมณ์ คน และวิธีการแก้ปัญหา ออกจากกัน ซึ่งก็ตรงกับหลักอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนา แล้วดำเนินการแก้ไขด้วยธรรมวิจัยวิธีแล้ว เชื่อแน่ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปในแนวทางที่พัฒนาตามกรอบภาวนา 4 ประการอย่างแน่นอน

"คณะครูนร.บาลีสาธิตศึกษา มจร" บำเพ็ญจิตภาวนา ส่งถึง13ทีมหมูป่าจงปลอดภัย






เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2561 การค้นหาทีมฟุตบอลหมูป่า พร้อมโค้ช รวม 13 ชีวิต ที่หายเข้าไปภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ตั้งแต่ช่วงเย็นวันเสาร์ที่ผ่านมา (23 มิ.ย.) เป็นวันที่ 7 แล้ว ยังไม่พบตัว ทุกภาคส่วนทั้งไทยและต่างประเทศได้เร่งค้นหาอย่างเต็มกำลังควบคู่ไปกับการเพิ่ม-ส่งกำลังใจให้กับทีมหมูป่า  จนกระทั้งเวลา 09.00 น.วันนี้ มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดในพื้นที่เตรียมพร้อมซ้อมแผนปฏิบัติการรับส่งผู้ป่วยจากหน้าถ้ำ เพื่อส่งไปยัง รพ.เชียงราย โดยใช้เฮลิคอปเตอร์ ในกรณีหากพบตัวผู้สูญหาย เนื่องจากการลำเลียงขึ้นเฮลิคอปเตอร์ต้องใช้ระยะทาง รวมไปถึงความรวดเร็วด้วย




 ด้านการส่งกำลังใจเด็กนักเรียนชนเผ่าชาวไทย ปกากะญอ โรงเรียนบ้านพอ ต.วาเล่ย์ อ.พบพระ จ.ตาก พร้อมคณะครู ร่วมจุดเทียน สวดมนต์ ตั้งจิตอธิษฐานงกำลังใจให้ทีมหมูป่าที่ติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน ได้ออกจากถ้ำโดยเร็ว ทั้งนี้ครูและเด็กๆ ทุกคนมีความห่วงใยมาก ขณะที่คณะครูนักเรียน โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) วิทยาเขตเชียงใหม่ ร่วมบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อเป็นกุศล ตบะ เดชะ ให้กับ 13 ทีมหมูป่าอาคาเดมี่ ให้ปลอดภัยจากการติดอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย 

ครูบาบุญชุ่มบอก13ชีวิต"2วันออกมาแล้ว"นั่งรถตรงเป๊ะ



เมื่อเวลา 21.20น.ของวันที่   29  มิ.ย.2561 การทำพิธีส่งกระแสจิตกำลังใจไปยังผู้ช่วยโค้ชและทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ของพระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เกจิดังซึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว พม่า จีน และภูฏาน ซึ่งเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา โดยเฉพาะคราวปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่ 18 เม.ย.2553 อธิษฐานไม่เปล่งวาจา ได้ยุติลงแล้วได้กล่าวก่อนเดินทางกลับว่า "ไม่ต้องเป็นห่วงน้องๆสบายดีอยู่ไม่ไกล อีก 2 วันจะออกมาแล้ว"   อย่างไรก็รถที่พระครูบาบุญชุ่มนั่งมานั้นหมายเลขทะเบียน กย 9013 

ฝ่าสายฝน!ครูบาพ่อบุญชุ่มทำพิธีบิณฑบาตขอชีวิตทีมหมูป่า



  
วันที่ 29  มิ.ย.2561  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เกจิดังซึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว พม่า จีน และภูฏาน ซึ่งเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา โดยเฉพาะคราวปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่ 18 เม.ย.2553 อธิษฐานไม่เปล่งวาจา, ไม่พบบุคคลใดๆ ที่ถ้ำราชคฤห์ อ.งาว ลำปาง ได้เดินทางกลับจากประเทศลาว และกำหนดจะเดินถ้ำหลวงขุนนางนอน จ.เชียงราย เพื่อส่งกระแสจิตกำลังใจไปยังผู้ช่วยโค้ชและทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำ ประกอบกับเด็ก 1 ใน 13 คน ทีมหมูป่านั้น เป็นลูกชายของลูกศิษย์พระครูบาพ่อบุญชุ่มนั้น
















เมื่อเวลา 14.00 น. พระครูบาบุญชุ่มได้ข้ามสะพานที่เขียงกก ประเทศลาว และไปวัดดอนเรือง เมืองพงษ์ รัฐฉาน ประเทศเมียนมา และเวลาประมาณ 19.30น. ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก ทำให้การเดินทางถึงถ้ำหลวงแล้วประกอบพิธีขอบิณฑบาตชีวิตทีมหมูป่ากับเจ้านางนอนล่าช้าออกไป อย่างไรก็ตามจนกระทั้งเวลา 20.20น.พระครูบาบุญชุ่มได้เดินทางถึงถ้ำหลวงท่ามกลางสายฝนแล้วประกอบพิธีดังกล่าวจนกระทั้งเวลา 21.20น.จึงยุติลง
แล้วได้กล่าวก่อนเดินทางกลับว่า "ไม่ต้องเป็นห่วงน้องๆสบายดีอยู่ไม่ไกล อีก 2 วันจะออกมาแล้ว"   อย่างไรก็รถที่พระครูบาบุญชุ่มนั่งมานั้นหมายเลขทะเบียน กย 9013  

ภาพครูบาบุญชุ่มเคยเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วันปี53



วันที่ 29  มิ.ย.2561   ตามที่พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เกจิดังซึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว พม่า จีน และภูฏาน ซึ่งเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา ได้เดินทางกลับจากประเทศลาวแล้ว และกำลังเดินทางไปที่ถ้ำหลวงขุนนางนอน จ.เชียงราย เพื่อส่งกระแสจิตกำลังใจไปยังผู้ช่วยโค้ชและทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำ ประกอบกับเด็ก 1 ใน 13 คน ทีมหมูป่านั้น เป็นลูกชายของลูกศิษย์พระครูบาพ่อบุญชุ่มด้วย

ทั้งนี้พระครูบาบุญชุ่มเคยปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่ 18 เม.ย.2553 อธิษฐานไม่เปล่งวาจา, ไม่พบบุคคลใดๆ ที่ถ้ำราชคฤห์ อ.งาว จ.ลำปาง หลังจากนั้นช่วงเข้าพรรษาจะจำพรรษาในถ้ำลักษณะปิดวาจาเป็นประจำ ทั้งนี้เพราะการเข้ากัมมัฏฐานสิ่งสำคัญยิ่งที่การปิดวาจา

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ครูบาบุญชุ่มมาแล้ว!ไปถ้ำหลวงส่งกำลังใจช่วย"ทีมหมูป่า"




เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29  มิ.ย.2561  พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน ประเทศเมียนมา เกจิดังซึ่ง เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศ ทั้งไทย ลาว พม่า จีน และภูฏาน ซึ่งเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา โดยเฉพาะคราวปฏิบัติธรรมเข้ากัมมัฏฐาน 3 ปี 3 เดือน 3 วัน ตั้งแต่ 18 เม.ย.2553 อธิษฐานไม่เปล่งวาจา, ไม่พบบุคคลใดๆ ที่ถ้ำราชคฤห์ อ.งาว ลำปาง ได้เดินทางกลับจากประเทศลาวแล้ว และกำลังเดินทางไปที่ถ้ำหลวงขุนนางนอน จ.เชียงราย เพื่อส่งกระแสจิตกำลังใจไปยังผู้ช่วยโค้ชและทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี่ รวม 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำ ประกอบกับเด็ก 1 ใน 13 คน ทีมหมูป่านั้น เป็นลูกชายของลูกศิษย์พระครูบาพ่อบุญชุ่มด้วย







(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กTai Community Online)



มีพิธีสวดมนต์อธิษฐานจิตภาวนาให้ทีมหมูป่าเย็นนี้ที่พระลานพระราชวังดุสิต 


ผู้สื่อข่าวรายงานข่าวกรมประชาสัมพันธ์ประเชิญประชาชนร่วมสวดมนต์ในพิธีมหามงคลบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และร่วมสวดมนต์อธิษฐานจิตภาวนาให้เด็ก 12  คน และโค้ช 1 คน ในถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย กลับมาโดยปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ณ พระลานพระราชวังดุสิต วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน 2561เวลา 18.00 น.


พระธรรมเสนาบดีมอบ1แสนช่วยน้องทีมหมูป่า   



พระธรรมเสนาบดี กรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ ของมหาเถรสมาคม  ประธานมูลนิธิพระบรมธาตุดอยสุเทพ มอบเงินจำนวน 100,000 บาท เพื่อใช้ในการสนับสนุนการค้นหาเยาวชนในถ้ำหลวงขุนนางนอน แต่เนื่องด้วยผู้ว่าราชการอยู่ในพื้นที่ถ้ำหลวงคอยกำกับ ให้ความช่วยเหลือ ในฐานะผู้อำนวยการช่วยเหลือในครั้งนี้ จึงข้อความถึงนายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ผ่านทีมงานเลขานุการ ความว่า "ท่านทำดีแล้ว ช่วยเหลือชีวิตเด็กให้ได้ ทุกคนคอยสนันสนุนท่านอยู่ คนไทย ไม่ทิ้งกัน"





3ศาสนาส่งกำลังใจช่วย13ชีวิตทีมหมูป่าปลอดภัย



ที่โรงเรียนเซนต์นิโกลาส อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้มีการจัดกิจกรรมทางศาสนา 3 ศาสนา ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม เพื่อส่งกำลังใจและอวยพรให้ นักเตะทีมหมูป่า ทั้ง 13 คน ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย โดยมีบาทหลวงสันติ ปิตินิตย์นิรันดร์ เป็นประธานฝ่ายศาสนาคริสต์ มาสเตอร์บัญญัติ รัตนกุล เป็นประธานฝ่ายศาสนาพุทธ และคุณครูจันทิมา เสกาจารย์ เป็นประธานฝ่ายศาสนาอิสลาม ซึ่งทั้ง 3 ศาสนา ได้ประกอบพิธีสวดมนต์และขอพรจากพระเจ้าส่งแรงศรัทธา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการค้นหาทั้ง 13 คน เจอได้ภายในเร็ววันและขอให้ทุกคนปลอดภัย พร้อมทั้งร่วมแปรอักษร เป็นเลข 13 เพื่อเป็นการกำลังใจให้ทุกคนอีกด้วย




เด็กนร.โคราชสวดมนต์ส่งแรงใจให้ทีมหมูป่า



โรงเรียนบ้านดงประชานุกูล ต.ดงใหญ่ อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เด็กนักเรียน และครู จำนวนกว่า 400 คน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ร่วมกันสวดมนต์ และนั่งสมาธิส่งแรงใจให้ทีมฟุตบอลหมูป่า 13 ชีวิต ที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย กลับออกมาจากถ้าได้อย่างปลอดภัยทุกคน และให้เจ้าหน้าที่ทุกนายที่ปฏิบัติหน้าที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือโดยเร็ว โดยเด็กนักเรียนได้ร่วมกันนั่งสมาธิเป็นเวลา 13 นาที เพื่ออธิษฐานจิตส่งแรงใจให้กับทั้ง 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำ ซึ่งทุกคนที่จังหวัดนครราชสีมายังเชื่อมั่นว่าทุกคนที่ติดอยู่ภายในถ้ำยังปลอดภัย และจะสามารถกลับออกมาจากถ้ำได้ภายในเร็ววันนี้



"มจร"ลงนาม MOU ม.โปแลนด์ปั้นหลักสูตรร่วมสาขาสันติศึกษา




"มจร"ลงนาม MOU ม.โปแลนด์ปั้นหลักสูตรร่วมสาขาสันติศึกษา หวังสร้างประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งนำพระพุทธศาสนาในรูปแบบของสถาบันเข้าสู่ทวีปยุโรป 

วันที่  27 มิถุนายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยจอจิโลเนียน คราเคา ประเทศโปแลนด์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นำโดยพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร  และมหาวิทยาลัยจาจิโลเนียน คราเคา นำโดยศาสตราจารย์อาวุโส ดร.พิอ๊อตร์ คลอคร๊อฟสกี้ (Piotr Klodkowsk)และ ศ.ดร.มารต้า คุเดสก้า (Marta Kudelska) ผู้อำนวยการอารยธรรมศึกษาเปรียบเทียบ ได้เป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือทางวิชาการระหว่างศ.ดร.ฮาบิล มัลกอซาต้า กอสซอวาสก้า (Habil Malgorzata kossowska) คณบดีคณะปรัชญา  มหาวิทยาลัยจาจิโลเนียน คราเคา กับพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร โดยมีวัตุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการแลกเปลี่ยนคณาจารย์ นิสิต การทำวิจัยร่วม และจัดทำหลักสูตรร่วมกันระหว่างสองมหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรที่จะเปิดร่วมกันครั้งแรกในปี 2562 คือ "หลักสูตรปริญญาโทและเอก สาขาสันติศึกษา"




ศาสตราจารย์อาวุโส ดร.พิอ๊อตร์ คลอคร๊อฟสกี้ ได้กล่าวในพิธีลงนามความร่วมมือว่า "การลงนามครั้งนี้ จัดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของสองมหาวิทยาลัยในเอเซียและยุโรป ซึ่งเป็นการเชื่อมสะพานความร่วมมือกัน โปแลนด์มีจุดเด่นที่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ตรงกลางของยุโรป แต่จุดอ่อนคือ เมื่อประเทศมหาอำนาจรบกัน ทั้งเยอรมันและรัสเซีย ประเทศที่มีพื้นที่ตรงนั้นมักจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งที่มำให้โปแลนด์อยู่รอดมาได้คือ "การประนีประนอม" กับประเทศใหญ่ๆ รวมถึงการจับมือกับประเทศเล็กๆ ที่มีชายแดนติดกัน เพื่อถ่วงดุลกับประเทศใหญ่ ฉะนั้น สันติศึกษาจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่เราจะต้องพัฒนาเป็นหลักสูตรให้มีการศึกษา"



ขณะที่ ศ.ดร.พระราชปริยัติกวี ได้ย้ำว่า "การร่วมมือของทั้งสองมหาวิทยาลัยเป็นก้าวย่างที่สำคัญด้านการจัดการศึกษา ในโลกยุคปัจจุบัน ในขณะที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่างๆ สถาบันการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญในการร่วมตอบคำถาม และประเด็นใหม่ให้แก่สังคมโลก และถือเป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยทั้งสอวจะได้ร่วมกันใช้ศักยภาพที่มีร่วมกันพัฒนาหลักสูตร และร่วมมือในประเด็นอื่นๆ"


สำหรับปรัชญา ความคิด และสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องการลงนามครั้งนี้ ส่วนตัวในฐานะผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติที่พยายามผลักดันและลงมือทำเรื่องนี้ มีหลายเหตุผล และตัวแปร สามารถสรุปเป็นสำคัญดังนี้

1: สร้างเวทีพระพุทธศาสนาสู่นานาชาติ และเปิดพื้นที่สถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาสู่สายตาของโลก สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ และสมาคมวิสาขบูชาโลก ซึ่งมี ศ.ดร.พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานของทั้งสองสมาคม และมวลสมาชิก มีพันธกิจสำคัญในการกำหนดนโยบายในการทำงานดังกล่าว ในขณะที่มหาวิทยาลัยพุทธ ร่วมถึงมหาจุฬาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติเข้ามาทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม

2: ตัวเล็ก ถ้าจะใหญ่ ต้องสร้างเครือข่าย และหาพันธมิตรร่วม การที่มหาจุฬาฯ ประกาศวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาระดับโลก" นั้น ลำพังตัวเองมิอาจเข้าถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้ในเวลาอันใกล้ แต่มหาจุฬาฯ มีจุดแข็ง คือ เครือข่ายชาวพุทธทั่วโลก ที่เป็นทั้งมหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ จะเห็นว่า การจัดวิสาขโลกเป็นตลาดนัดทางวิชาการ (Academic Sunday Market) ที่นำผู้นำชาวพุทธ และนักวิชาการพุทธ มาพบปะและแลกเปลี่ยนกันกว่า 15 ปีแล้ว อันเป็นการบ่มเพาะมิตรภาพ และการร่วมมือในเชิงลึกไปสู่สัมมนา แลกเปลี่ยนนักศึกษา ทำกิจกรรม และสร้างหลักสูตรต่างๆ ร่วมกัน มหาวิทยาลัยใหญ่ๆ ในโลก และอเมริกา อาจจะไม่สนใจมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก แต่การที่มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจับมือกัน ผนึกกำลังกันทำงานแบบข้ามทวีป จึงเป็นการสร้างพลังเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ได้



3: นำจุดแข็งมาเป็นแรงขับเคลื่อน จุดแข็งของมหาวิทยาลัยจาจิโลเนียน คราเคา คือ การเป็นเมืองที่อยู่ใกล้ค่ายกักกันนรกเอ้าท์วิช ที่ทหารนาซีนำนักโทษและเชลยศึกกว่า 70 ประเทศในยุโรปและนอกยุโรปมากักขัง เป็นทาส แรงงาน หนูลองยาทางวิทยาศาสตร์ และรมแก๊สพิษ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนในสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกทั้งโปแลนด์คือสะดือยุโรป อันเป็นศูนย์กลางระหว่างพื้นที่ของสงคราม ความรุนแรง และความขัดแย้ง ในขณะที่มหาจุฬาฯ มีจุดแข็งที่มีหลักสูตรสันติศึกษา ที่ผ่านการทดลองกว่า 5 ปี อีกทั้งเป็นจุดแข็งของพระพุทธศาสนา และคำว่า Peace Studies เป็นคำที่กระแสของกำลังสนใจ เพราะสามารถเชื่อมคนต่างๆ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญคือ โปแลนด์มองเห็นจุดแข็งของสันติศึกษาว่าสามารถเชื่อมกับยุโรปในฐานพชะที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและความรุนแรง

4: ถ้าอยากจะได้ปลาตัวใหญ่ ต้องลงไปจับในทะเลลึก ถ้าอยากได้ปลาซิว หรือปลาตัวเล็ก ต้องจับแถวตลิ่งหรือชายฝั่ง ประเด็นะคือ ไม่ใช่ว่า ปลาตัวเล็กไม่สำคัญ ปลาเล็กหรือใหญ่ล้วนสำคัญ แต่การออกเดินทางไปหาแหล่งเรียนรู้ และความร่วมมือในวิถีที่กว้างออกไป จะทำให้พบโอกาส และช่องทางใหม่ๆ ในการร่วมมือ และทำงานกับกลุ่มคนต่างๆ ที่มีราว 5-7 พันล้านคนทั่วโลก อันเป็นการขยายฐานจาก 600 ล้านของอาเซียน ตลาดการศึกษามีอยู่ทั่วโลก ฉะนั้น โคลัมบัสทางการศึกษาจึงจำเป็นและสำคัญมาก การออกเดินทางมีความเสี่ยงในรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ แต่หากความเสี่ยงคือการนำโอกาส และประสบการณ์ไปร่วมแบ่งปันกับเพื่อนมนุษย์ จึงไม่ควรเสียเวลาที่จะลังเลและรั้งรอเพราะความหวาดกลัว หรือไม่พร้อม พระพุทธเจ้าไม่เคยหวาดกลัวผู้ใหญ่หรือสิ่งใด ฉะนั้น สาวกของพระพระองค์จึงควรมุ่งมั่นออกไปทำหน้าที่รับใช้เพื่อนมนุษย์เช่นกัน


การใช้สถาบันการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงระหว่างมหาจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยจานิโลเนียน ประเทศโปแลนด์ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ที่จะนำพระพุทธศาสนาในรูปแบบของสถาบันเข้าสู่ทวีปยุโรป หลังจากที่ทำสำเร็จมาแล้วกับมหาวิทยาลัยธรรมะ เกท ปูดาเปสต์ ประเทศฮังการี และที่สำคัญการเปิดหลักสูตรร่วมสาขาสันติศึกษาจึงเป็นการทำงานร่วมกันในจังหวะ และเวลาที่ถูกต้องและเหมาะสมในสถานการณ์ที่โลกกำลังเข้าสู่สถานการณ์ของความขัดแย้ง และความรุนแรง และทุกคนกำลังแสวงหาขันติธรรม ในการอยู่ร่วมกับความแตกต่างทางความเชื่อวัฒนธรรม และความหลากหลายทางชาติพันธุ์อย่างมีสติ และสันติสุข การนำเสนอพระพุทธศาสนาผ่านการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา จะทำให้กลุ่มคนที่มีความเชื่อต่างสามารถเปิดใจในการศึกษา และเรียนรู้มากยิ่งขึ้น



...............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)

ครูบาบุญชุ่มจะไปที่ถ้ำหลวงส่งกำลังใจช่วย13ชีวิตทีมหมูป่า




วันที่ 28 มิ.ย.61  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระครูบาบุญชุ่ม ญาณสํวโร  แห่งวัดพระธาตุดอนเรือง เมืองพง รัฐฉาน เกจิดังที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธหลายประเทศทั้ง ไทย ลาว พม่า จีน และประเทศภูฏาน และเคยจำพรรษาในถ้ำเป็นเวลานานชนิดปิดวาจา จะเดินทางกลับจากประเทศลาวแล้วจะเดินทางไปที่ถ้ำหลวงขุนนางนอน จ.เชียงราย เพื่อส่งกระแสจิตกำลังใจไปยังผู้ช่วยโค้ชและทีมฟุตบอลเยาวชนหมูป่าอะคาเดมี่แม่สาย รวม 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำ  ประกอบกับ 1 ใน 13 ทีมหมูป่านั้นเป็นลูกชายของลูกศิษย์พระครูบาพ่อบุญชุ่มด้วย

ขณะที่เฟซบุ๊กวัดป่าแดงน้อย อ. แม่สายติดตาม ได้โพสต์ว่า "มีข่าวดี พระครูบาพ่อบุญชุ่ม ญาณสํวโร อรัญวาสีภิกขุ ท่านได้รับทราบข่าวแล้ว วันนี้ท่านมีภาระกิจที่ประเทศลาว ครูบาพ่อจะไปโปรดเมตตา ในวันพรุ่งนี้ครับ"


...........

(หมายเหตุ : ข้อความจากเฟซบุ๊กส : พระใบฎีกาเทียนชัย สุภัทโท และนฤมาส อลินรัตน์)  

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กรมศิลปากรส่งผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่อุบลราชธานี



นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่าตามที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ค้นพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่ ที่อยู่ในความครอบครองของนายสัมฤทธิ์ ผาดี ราษฎรบ้านตุงลุง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประสานจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานปกครองในพื้นที่จนสามารถรับมอบและเคลื่อนย้ายจารึกหลักดังกล่าวมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี 

จึงได้มอบหมายให้ นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ ลงพื้นที่ตรวจสอบและคัดลอกสำเนาจารึกหลักดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นมีความเห็นว่า จารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่ ทำด้วยหินทราย กว้าง ๖๔ เซนติเมตร หนา ๓๖ เซนติเมตรจารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒        มีเนื้อความคล้ายกับจารึกปากน้ำมูล ๑ และจารึกปากน้ำมูล ๒ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี  โดยกล่าวถึงประวัติพระเจ้าจิตรเสน และการสถาปนาศิวลึงค์เสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์เหนือดินแดนนั้น 



พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ผู้อยู่ในความพิทักษ์ของพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่) มีพระนามเดิมว่า จิตรเสน เป็นพระโอรสของพระเจ้าวีรวรมัน ครองราชย์ในราว พ.ศ. ๑๑๔๓ – ๑๑๕๙ แห่งอาณาจักรเจนละ ในรัชสมัยของพระองค์พบหลักฐานที่เป็นจารึกแพร่หลาย โดยข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่าจารึกที่พบในประเทศไทย จำนวน ๑๕ หลัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน ๓ หลัก และราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน ๒ หลัก 

โดยเนื้อความในจารึกของพระองค์ได้กล่าวถึงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ตลอดจนการขยายอาณาจักรเจนละของพระองค์เอง การพบจารึกของพระองค์อย่างหนาแน่นและแพร่หลายในดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันมากกว่าบริเวณอื่น ๆ อาจเป็นภาพสะท้อนการให้ความสำคัญกับพื้นที่ในแถบนี้เป็นอย่างมาก จารึกของพระองค์บอกถึงเส้นทางการเดินทางที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี อันเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรเกลือและเหล็กอันมากมายมหาศาล 





สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐโชว์ผลงานรอบปีติวใช้สื่อออนไลน์แผ่พุทธเชิงรุก



ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ มิ.ย.๒๕๖๑ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาได้จัดประชุมสมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ ๔๒/๒๕๖๑ ณ วัดอตัมมยตาราม เมืองซีแอตเติล รัฐวอชิงตัน  เนื่องในโอกาสทำบุญครบ ๒๐ ปีแห่งการก่อตั้งวัด และฉลองศาลาธรรมโกศาจารย์

วันที่ ๒๑ มิ.ย. ได้จัดอบรมการผลิตสื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคดิจิตัล โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม คือ ๑) การเงินและการทำบัญชีของวัด  ๒)โปรแกรม Movies Maker ตัดต่อคลิปวีดิโอ (ใช้คอมพิวเตอร์) / Photo Scape การผลิตสื่อทางอินเตอร์เนต โปรแกรม iMovie (ใช้ iPhone หรือ iPad) การเขียนข้อความ ส่ง Line or Facebook ๓) การใช้โปรแกรม OBS ถ่ายทอดสด  ๔) การใช้โปรแกรม  Adobe Spark Post /Adobe Spark Page / Adobe Spark Video

วันที่ ๒๒-๒๓ มิ.ย. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๒ ของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา  โดยมีพระเทพพุทธิวิเทศ ประธานสมัชชาฯ เป็นประธานการประชุมฯ  มีพระธรรมทูตที่เดินทางจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม จำนวน ๓๔๕ รูป

มีวาระสำคัญดังนี้คือผลงานการดำเนินการของสมัชชาฯ ในรอบปีที่ผ่านมา ของฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายบริหาร ซึ่งได้ดำเนินการทำกฏระเบียบของสมัชชาฯ  ฝ่ายการศึกษา ซึ่งมีพระธรรมทูตสำนักสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาจำนวน ๒๓ รูปสอบผ่านบาลีสนามหลวง เข้ารับทุนการศึกษา ฝ่ายการเผยแผ่ ได้จัดพิมพ์หนังสือธรรมะแจกที่วัด ที่ร้านอาหารต่างๆการจัดธรรมสัญจร อบรมวิปัสสนากรรมฐาน เข้าปริวาส ส่วนฝ่ายสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์  ทางสมัชชาฯ ได้จัดหาทุนจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาท)นำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ที่ประเทศไทย ทั้งอุทกภัย น้ำท่วมที่จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร มุกดาหาร เป็นต้น  นอกจากนี้ ได้มอบทุนสงเคราะห์พระธรรมทูตอาพาธ และมรณภาพ เช่น พระมหาสุทัศน์ สุริโย 

สมัชชาฯ ได้ร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ดังนี้ (๑) ผู้แทนไปร่วมประชุมพระธรรมทูตที่วัดอนันตยาราม ประเทศสิงคโปร์ ๑๓-๑๔ พ.ค.   (๒) ได้ร่วมกันจดทะเบียนองค์กรพระธรรมทูตโลก ที่ประเทศอังกฤษ ผู้แทนสมัชชาฯ เข้าร่วมประชุม World Peace Sweden ๓๐ มิ.ย.  (๓) การร่วมประชุมสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป วัดพุทธาราม สวีเดน ๗-๘ ก.ค. (๔) การร่วมประชุมองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ ๑๘-๑๙ ส.ค. (๕) การร่วมประชุมสภาศาสนาโลกที่เมืองโตรันโต แคนาดา ๑-๗ พ.ย. 

ปีนี้มีวัดและศูนย์ปฏิบัติธรรมที่ขอสังกัดเพิ่มเติม คือ  วัดหทัยนเรศร์ รัฐจอร์เจีย, ศูนย์ปฏิบัติธรรมเมืองเรดมอนด์ รัฐออเรกอน  ดังนั้น สมัชชาฯ มีสมาชิกวัด จำนวน ๑๑๔ วัด

มีกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติธรรมนานาชาติและเข้าปริวาสกรรมที่วัดพุทธออเรกอน ระหว่างวันที่ ๒๙ มิ.ย.-๘ ก.ค. และที่วัดพระมหาชนก ระหว่างวันที่ ๑๑ –๒๒ ก.ค. จัดประชุมเจ้าอาวาสและงานวันพระธรรมทูตรำลึก  วันที่ ๑๘-๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๑ ณ วัดมงคลเทพมุนี เมืองเบนซาเลม รัฐเพนซิลวาเนีย

สมัชชาฯ กำหนดสถานที่จัดประชุมสมัยสามัญประจำปี : วัดสัทธาธรรม เมืองแซนแอนโตนิโอ รัฐเท็กซัส   วันที่ ๓๐ พฤษภาคม - ๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ ประชุมสมัยวิสามัญ และงานวันพระธรรมทูตรำลึก : วัดธรรมภาวนา เมืองแองคอเรจ  รัฐอลาสกา วันที่ ๑๗-๑๘ เดือนสิงหาคม ๒๕๖๒

สมัชชาฯ ได้จัดเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการประจำปี ๖๑-๖๔ (๓ ปี) ตามระเบียบใหม่  ผลการเลือกตั้ง ประธานสมัชชาฯ : พระเทพพุทธิวิเทศ  รองประธานสมัชชาฯ (๓ รูป) : พระราชธรรมวิเทศ, พระวิเทศธรรมคุณ, พระวิเทศสิทธิธรรมาภรณ์  ส่วนเลขาธิการ คือ พระวิเทศรัตนาภรณ์  คณะกรรมการฯตามระเบียบใหม่ มีจำนวน ๑๙ รูป/ท่าน ครบวาระ 3 ปี

"มจร"ร่วมประชุมสันติภาพโลกที่สวีเดนร่วมมือทางวิชาการ4ประเทศ




วันที่ 27 มิ.ย.2561 ตามที่คณะผู้บริหารและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) นำโดยพระราชปริยัติกวี ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  และพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ได้เดินทางไปร่วมประชุมสันติภาพโลกที่ประเทศสวีเดนในวันที่ 30 มิ.ย.2561นั้น ยังได้มีกำหนดการเพื่อลงนามความร่วมมือทางวิชาการและประชุมเพื่อสันติภาพระหว่างวันที่ 26 มิ.ย.ถึง 4 ก.ค.2561 ที่ประเทศโปแลนด์ เยอรมนี สวีเดน และฟินแลนด์ด้วย




คณะผู้บริหารและนิสิต มจร ได้ออกเดินทางจากประเทศไทยในวันที่ 26 มิ.ย.และเดินทางถึงประเทศโปแลนด์เป็นประเทศแรกในเวลา 22.35 น. ต่อมาเวลา 09.00น.ของวันที่ 27 มิ.ย.ได้เดินทางไปที่มหาวิทยาลัยจากิลโลเนียน เมืองคราเดา ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและระหว่างสองสถาบัน และสัมมนาทางวิชาการนานาชาติเรื่องสันติภาพในโปแลนด์ : บันทึกทางประวัติศาสตร์ บทเรียน และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข" ต่อจากนั้นได้เดินทางไปทัศนศึกษาในพื้นที่ โดยมีกำหนดการรายละเอียดดังนี้











............. 

(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก Pramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "น่านรัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่องธรรม...