วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วัดพิชยญาติจัดสาธยายมหาสันติงหลวงมนต์แก้ความขัดแย้ง




เมื่อเวลา17.30 น.วันที่ 23 มิ.ย.2561  ที่วัดพิชยญาติการามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พุทธบริษัทประกอบด้วยพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ร่วมในพิธีสาธยายมนต์อุปปาตสันติคาถา (มหาสันติงหลวง) คือมนต์ที่ขึ้นชื่อว่าระงับข้อขัดข้องต่อการดำเนินชีวิต ขณะที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหารมีการสาธยายพระไตรปิฎก




ทั้งนี้มหาสันติงหลวงนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าในอดีตถึงปัจจุบัน 28 พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้า   พระเมตไตรย พระเถระชั้นผู้ใหญ่ 108 รูป   โดยเน้นหลักการสำคัญ 3  ประการคือ 1. สันติหรือมหาสันติ  ความสงบความราบรื่นความเยือกเย็นความไม่มีคลื่นหรือช่วยสร้างสันติ 2. โสตถิ  ความสวัสดีความปลอดภัยความเป็นอยู่เรียบร้อยหรือตู้นิรภัย  3. อาโรคยะ ความไม่มีสิ่งเป็นเชื้อโรคความไม่มีโรคหรือความมีสุขภาพสมบูรณ์               

ประเด็นจึงมีอยู่ว่าแล้วจะเป็นจริงตามนั้นได้อย่างไร การตั้งใจฟังชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นต้นนี้เท่ากับว่าสัมมาสติเกิด มรรคอีก 7 ประการพัฒนา ความสงบหรือสันติก็เกิดหากมีขันติความอดทนมากเท่าใดสันติก็มีมากเท่านั้น นี้แหละนิพพานชั่วขณะตามความหมาของพระพุทธทาส เมื่อความสงบเกิดอกุศลหรือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดำก็ไม่พัฒนา ปัญญาความฉลาดในการแก้ปัญหาก็มีมากขึ้นรวมถึงอยู่กับความขัดแย้งได้อย่างมีความสุด เมื่อคนมีสุขภาพจิตดีโรคภัยต่างๆก็ไม่มาเบียดเบียนนี้ความจริงหรือผลของการฟังมหาสันติงหลวงทำให้เกิดสันติภาพในใจเช่นนี้แล

คำว่า “สันติ” (Peace) เป็นไวพจน์กับคำว่า  “นิโรธ”  คือความดับทุกข์ (ทุกฺขนิโรธ)  ซึ่งพระพุทธองค์กำหนดกิจไว้ว่าจะต้องทำให้แจ้ง เป็นภาวะที่ยุติความขัดแย้ง เป็นบรมสุข  ซึ่งพุทธพจน์รับรองในธรรมบทคือ  นตฺถิสนฺติ ปรํสุขํ” แปลความว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”  นับเป็นเป้าหมายหรือจุดสุดยอดของ ดังนั้น “สันติ” คือ ไม่มีความขัดแย้ง เป็นความสุขสงบ เป็นสุขภายใน  ส่วนคำว่า “สุขา สงฺฆสฺสสามคฺคี” ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้ เป็นความสุขภายนอก เพราะต้องเกี่ยวเนื่องกับคนอื่น   “สันติ” นั้นมีความหมายทั้งในเชิงลบ คือ สภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง และเชิงบวก คือสภาวะที่มีความรัก สามัคคี และความยุติธรรม และมี 2 ลักษณะคือ “อัชฌัตติกสันติ” ความสงบภายใน(Inner Peace)  และ “พาหิรสันติ” ความสงบภายนอก(Outer Peace)  โดยขยายกว้างออกไปอีก 3 ระดับ 

คือ 1.“สันติภาพภายในตนเอง” (to live in harmony with oneself) อยู่อย่างกลมกลืนกับสันติภายในจิตใจของตนเอง เป็นระดับตนเอง  ๒.สันติภาพกับคนอื่น (with others) อยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ เป็นระดับผู้อื่น  และ 3.สันติภาพกับธรรมชาติ (with the natural environment) อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับธรรมชาติได้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า “ยสฺสรุกขสฺสฉายาย นิสีเทยฺยสเยยฺย วา น ตสฺสสาขํภญฺเชยฺยมิตฺตทุฏฺโฐหิปาปโก”  แปลความว่า “บุคคลนั่งหรือนอนในร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่พึงหักก้านรานกิ่งและใบของต้นไม้นั้น เพราะว่าผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม” ทรงย้ำเตือนเสมอว่า “จงเป็นมิตรกับธรรมชาติ” อย่างไรก็ตามหากความสงบด้วยการกดเอาไว้ยังไม่ถือว่าเป็นสันติภาพ 

ขณะที่ ผศ.รท.ดร.บรรจบ  บรรณรุจิ  อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เสนอว่า เจ้าชายสิทธัตถะแห่งแคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์เป็นคนแรกที่พูดคำว่า “สันติภาพ” ทรงออกบวชเดินทางสู่สันติ ดังคำว่า “สนฺติวรปทํ ปริเยสมาโน” แปลคว่า“ทางสู่สันติอันประเสริฐ”  โดยพบสันติในเดือนวันเพ็ญวิสาขะ เรียกว่า “นิพพาน”  หลังจากนั้นเดินทางออกสอนสันติภาพ 45  พรรษา   พระธรรมทำให้เกิดพระพุทธเจ้า นั่นหมายความว่า ต้องเดินตามมรรคมีองค์ 8  เป็นเส้นทางสู่การเป็นพระพุทธเจ้า     จึงเกิดคำพูดว่า “สทฺธมฺโม  ครุกาตพฺโพ”  ต้องเคารพสัทธรรมที่แท้จริง แล้วพระพุทธเจ้าก็นำธรรมมาสั่งสอน โดยแบ่งออกเป็นพระธรรมและพระวินัย เช่น อริยสัจ ปฏิจสมุปบาท ซึ่งพระพุทธเจ้าทิ้งกองทัพทางโลก แต่มีกองทัพทางธรรม เพื่อบอกว่ายิ่งใหญ่มากกว่ากองทัพทางโลกซึ่งมีแต่ความรุนแรง แต่กองทัพทางธรรมมีแต่สันติสุข ฉะนั้นกองทัพธรรมจึงยิ่งใหญ่กว่ากองทัพสงคราม  

ด้าน “โยฮัน กัลตุง” นักปรัชญาด้านสันติภาพ ได้เสนอนำเสนอสันติภาพเชิงลบ หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงทางตรง”   เช่น ความรุนแรงต่อบุคคล  คนกำลังตีกัน เราไปห้ามอย่าตีกันเลย  ส่วนสันติเชิงบวก หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง”  เช่น ความยากจน การเหยียดผิว  ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมทางสังคม  ที่คนโกรธกันเพราะอะไร  เพราะไม่ยุติธรรม  เราจะทำอย่างไรให้เกิดความพอใจ จึงมีคำว่า “สงครามเกิดขึ้นที่จิตใจของมนุษย์ สันติภาพจึงต้องเริ่มจากจิตใจของมนุษย์เช่นกัน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กกต.เตือนผู้ประสงค์จะลงสมัครรับเลือกเป็น สว. ศึกษาและทำความเข้าใจระเบียบการแนะนำตัวให้เป็นไปตามกฎหมาย

   เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2567  ด้วยปรากฏว่ามีบุคคล กลุ่มบุคคล ได้ดำเนินการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้ที่ประสงค์จะลงสมัครรับเล...