วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ผู้แทนศาสนาไทยร่วมเสวนา"การเผยแผ่ศาสนาในยุคดิจิทัล"





วันที่ 20 มิ.ย.2561 ที่ห้องประชุมวายุภักษ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร และคณะพระธรรมวิทยากรเครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี ร่วมเสวนา เรื่อง "การเผยแผ่ศาสนาในยุคดิจิทัล"  ในการประชุมประชุมเสวนาขับเคลื่อนแผนการอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนาต่างๆ ภายใต้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 49/2559" โดยมี นายมานัส ทารัตน์ใจ อธิบดีกรมการศาสนา ศาสนิกชน 5 ศาสนา สื่อมวลชน ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เข้าร่วม 

ในการนี้นายประสาน ศรีเจริญ ผู้แทนศาสนาอิสลาม  ได้ให้แง่คิดดังนี้ คำว่า พหุวัฒนธรรม คือ เข้าใจตนเองและผู้อื่น ส่วนของการเผยแผ่ มีองค์ประกอบ คือ 1.เรื่องที่เราเผยแผ่ 2.ผู้เผยแผ่ 3.รู้จริง รู้สิ่งที่เราจะเผยแผ่ 4.วิธีการเผยแผ่ การเป็นนักเผยแผ่ต้องมีความเข้าใจ ต้องรู้ว่าใครเป็นเจ้าของบทความ หรือเป็นของใคร ศาสนิกชนที่ดี ต้องอดทน รอบรอบ ศึกษาเรียนรู้ เข้าใจในศาสนา หลักปฎิบัติของศาสนาอิสลามเกี่ยวกับการเผยแผ่ มี 2 ข้อด้วยกัน คือ 1.เผยแผ่ด้วยคำพูด 2.เผยแผ่ด้วยการกระทำ แต่ขออธิบายในข้อที่ 1 คือ การเผยแผ่ด้วยวาจา มี 3 ข้อคือ 1.ข้อมูลที่ถูกต้องในการเผยแผ่ 2.การมีคำพูดที่ดี ตักเตือนที่ดี 3.หากเกิดกรณีโต้แย้ง โต้เถียง จะต้องแย้งในสิ่งที่ดีกว่า 



พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ได้ให้แง่คิดดังนี้ ในยุคดิจิทัลนี้ โลกเปลี่ยน สังคมปรับ ยุคดิจิทัล นั้น รวดเร็ว ไร้ขอบเขตจำกัด ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายทั้ง 5 ศาสนาได้ เปรียบเสมือนดัง ดาวดวงเดียวไม่ทำให้ท้องฟ้าสวยงามได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ในยุคดิจิทัล ในการปฎิบัติทางพระพุทธศาสนา 3 ข้อ ดังนี้ คือ อัตถะ คือ ตอบโจทย์ได้ เช่น นวัตกรรม หิตตะ คือ เกื้อกูล สุขขะ คือ อยู่ดี มีสุข



มุขนายก ยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ วิทยากรศาสนาคริสต์ ได้ให้แง่คิด ดังนี้ ศาสนาจำเป็นต่อโลก คนเปลี่ยนโลก โลกเปลี่ยน ศาสนาไม่เปลี่ยน ศาสนาจำเป็น และให้คำตอบกับชีวิต เรามีหน้าที่สานสัมพันธ์ วัฒนธรรมใหม่ในปัจจุบัน คือ อย่ารู้แต่เรื่องตัวเอง ต้องรู้ศาสนาของเพื่อนด้วย ศาสนาเข้มแข็ง คนเข้มแข็งเป็นคนดี ตำรวจก็จะทำงานน้อย เจ้าที่รัฐจะต้องทำให้ศาสนาเข้มแข็ง ต้องคิดถึงประเทศไทย ทุกคนมีหน้าที่ปกป้อง ต้องเป็นคนดี อย่ามองกันในแง่ร้าย อย่าไปตื่นกับข่าว สิ่งที่ควรจะแชร์ น่าจะเป็นข้อคิด ธรรมะต่างๆ



นายสถิตย์ กุมาร ปาวา วิทยากรผู้แทนศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ให้แง่คิดดังนี้ ยุคดิจิทัล นั้นเป็นสิ่งที่ฉับไว เราบังคับไม่ได้ แต่เราบังคับตัวเราเองได้ เราควรไตร่ตรอง พิจารณาก่อนที่จะส่งข้อมูลให้ใคร การกดไลค์ กดแชร์ ต้องอ่าน สิ่งควรระวัง ศาสนาเป็นเรื่องอ่อนไหวมาก ขอให้ดูให้ดี และควรไตร่ตรอง



นายธารินทร์ จำปี ผู้แทนศาสนาซิกข์ ได้ให้แง่คิดว่า ดิจิทัล เป็นของดีมีประโยชน์ ควรใช้ให้เป็น มือถือ ไม่สามารถให้ความอบอุ่นได้ แต่ใช้ได้เพียงแค่การสื่อสาร รับสาร ติดต่อพูดคุย ยุคดิจิทัล ไวอย่างเดียวไม่ได้ต้องศึกษา หาข้อมูล ป้อนข้อมูลที่ถูกต้อง คนเราควรที่จะไวในการสร้างจิตสำนึกในด้านศาสนา ในการอยู่ร่วมกันของศาสนิกชนเป็นต้น

อย่างไรก็ตามอย่างไรการเผยแผ่ศาสนานั้นควรนำหลักการสื่อสารเพื่อสันติมาประกอบซึ่งมีแนวคิดทั่วไป คือ 1) ให้ข้อสังเกตได้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่ตัดสิน ไม่ประเมิน หรือตีความ 2) พูดสื่อความรู้สึกทั้งของตัวเราเองและคนอื่นได้อย่างตรงใจ 3) ค้นหาและบอกความต้องการในส่วนลึกของเราและคนอื่น 4) หาข้อตกลงร่วมกันหรือขอร้องให้เกิดการแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้จริงด้วยการสื่อสารที่ชัดเจน และเป็นทางบวก

ส่วนหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" นั้นนายสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้เสนอบทความประกอบวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา เรื่อง "ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก" สรุปความว่า 




แนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติเชิงพุทธขณะที่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาคือ “วาจาสุภาษิต” หรือ “สัมมาวาจา”   1 ในมรรคมีองค์ 8 เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐเป็นทางให้ถึงสันติสุขได้ นับเป็นการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธได้ เพราะว่าคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพทั้งนั้น โดยหลัก "วาจาสุภาษิต" ซึ่งมีรูปแบบพิเศษคือพระพุทธเจ้าจะตรัสวาจาครั้งใดนั้น ภายใต้เงื่อนไข 6 กรณี มีเพียง 2 กรณีเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าตรัส คือ มีองค์ประกอบ “คำพูดที่จริง ที่แท้ เป็นประโยชน์” ครบ เมื่อเวลาเหมาะสม แม้บุคคลจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม นับเป็นองค์ธรรมพื้นฐานช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

 หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" สามารถสะท้อนออกมาเป็น “14ส.สื่อเพื่อสันติภาพเชิงพุทธโมเดล” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและสังคมทั่วไปได้ดังนี้  

1. สื่อสารสาระคือ สื่อสารที่ตรงกับความเป็นจริง ข้อเท็จจริงตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนก่อนนำเสนอถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน สมดล โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตรงไปตรง เป็นกลาง ไร้อคติ ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหาให้โอกาสได้ตอบในโอกาสแรกที่ทำได้โดยเอาใจเราใส่ใจเขาในสถานการณ์เดียวกัน 

2. สืบสานสัมพันธ์คือ สื่สารด้วยภาษาที่สั้น กระซับเร้าใจสุภาพไม่หยาบโลนไม่สร้างวาทกรรมให้เกิดความเกลียดชัง มีความชัดเจนกระจ่างแจ้งในการเขียน 

3. สมัยสมพงษ์คือ สื่สารเหมาะสมกับกาลเวลา เมื่อมีเนื้อสารที่มีองค์ประกอบครบทั้งความจริง แท้และมีประโยชน์ครบถ้วนแล้ว เวลาเหมาะสมะแม้ว่าคนจะพอใจหรือไม่พอใจก็ต้องนำเสนอ พร้อมรู้จักพอ รู้จักรอ และรู้จักประมาณไม่นำเสนอหากจะส่งผลกระทบ 

4. สังคมสุขสำราญคือ สื่อสารที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สันติสุขต่อสังคมโดยรวมในรูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ใช้พื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแทนที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และรายงานสถานการณ์เท่านั้น  

5. สร้างสรรค์สันติคือ ผู้ส่งสารมีพื้นฐานจิตที่มีเมตตา มีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพเป็นอย่างดีพร้อมกระจายความเข้าใจนั้นไปสู่สังคมในระดับต่างๆพร้อมตั้งมั่นใจอยู่ในจริยธรรมสื่อเป็นสำคัญ 

โดยมีคำว่า “สร้างสรรค์สันติ” อยู่ตรงกลางเพราะการสร้างสรรค์สันติเป็นหัวใจความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสันติภาพภายในซึ่งเกิดจากฐานจิตที่ประกอบด้วยเมตตาที่พัฒนามาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แล้วแผ่สันติภาพภายในนั้นให้กระจายไปสร้างสันติภาพภายนอกด้วย “สื่อสารสาระ” เป็นต้น ครบองค์ประกอบดังกล่าว โดยหลอมรวมหมุนดุจวงล้อธรรมจักรหรือพัดลมให้เห็นป็นเนื้อเดียวกัน หมุนจนกระทั้งไม่เห็นใบพัด ก็จะมีพลังสร้างสังคมมีสันติสุขมากขึ้นเท่านั้น ดังสโลแกรนที่ว่า “นฺตถิสฺนติ ปรัง สุขัง” แปลว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”


............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Varintorn Hema)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ดร.นิยม เวชกามา" จับมือกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ไปช่วยแก้ปัญหาตั้งวัดในศรีสะเกษกว่า 300 แห่ง

วันที่ 24 เมษายน 2567 ดร.นิยม เวชกามา ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม  เวชยชัย ในฐานะอนุกรรมมา...