วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

รพ.ตำรวจหวังป้องฟ้อง!ติวเข้มการสื่อสารเพื่อสันติ




วันที่ 18 มิ.ย.2561 นพ.บรรพต ตันธีรวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยผ่านทางเฟซบุ๊ก Multi U Peace ว่า เสร็จภารกิจการจัดอบรมสันติในงานสาธารณสุขที่โรงพยาบาลตำรวจ 3 วัน โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 140 คน ภายใต้การดำเนินการของ พล.ต.ท.นพวิฑูรย์ นิติวรางกูร นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อวันนี้ 14 มิ.ย.2561 เพื่อมุ่งสร้างสัมพันธ์ ป้องกันการฟ้องร้อง ร้องเรียน ผ่านการสื่อสารเพื่อสันติ ปรับพฤติกรรมบริการ และแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งเป็นสร้างสรรค์




อย่างไรก็ตามสำหรับการสื่อสารเพื่อสันติมีแนวคิดทั่วไป คือ 1) ให้ข้อสังเกตได้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่ตัดสิน ไม่ประเมิน หรือตีความ 2) พูดสื่อความรู้สึกทั้งของตัวเราเองและคนอื่นได้อย่างตรงใจ 3) ค้นหาและบอกความต้องการในส่วนลึกของเราและคนอื่น 4) หาข้อตกลงร่วมกันหรือขอร้องให้เกิดการแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้จริงด้วยการสื่อสารที่ชัดเจน และเป็นทางบวก





ส่วนหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" นั้นนายสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้เสนอบทความประกอบวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา เรื่อง "ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก" สรุปความว่า  

แนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติเชิงพุทธขณะที่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาคือ “วาจาสุภาษิต” หรือ “สัมมาวาจา”   1 ในมรรคมีองค์ 8 เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐเป็นทางให้ถึงสันติสุขได้ นับเป็นการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธได้ เพราะว่าคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพทั้งนั้น โดยหลัก "วาจาสุภาษิต" ซึ่งมีรูปแบบพิเศษคือพระพุทธเจ้าจะตรัสวาจาครั้งใดนั้น ภายใต้เงื่อนไข 6 กรณี มีเพียง 2 กรณีเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าตรัส คือ มีองค์ประกอบ “คำพูดที่จริง ที่แท้ เป็นประโยชน์” ครบ เมื่อเวลาเหมาะสม แม้บุคคลจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม นับเป็นองค์ธรรมพื้นฐานช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" สามารถสะท้อนออกมาเป็น “14ส.สื่อเพื่อสันติภาพเชิงพุทธโมเดล” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและสังคมทั่วไปได้ดังนี้  




1. สื่อสารสาระคือ สื่อสารที่ตรงกับความเป็นจริง ข้อเท็จจริงตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนก่อนนำเสนอถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน สมดล โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตรงไปตรง เป็นกลาง ไร้อคติ ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหาให้โอกาสได้ตอบในโอกาสแรกที่ทำได้โดยเอาใจเราใส่ใจเขาในสถานการณ์เดียวกัน

2. สืบสานสัมพันธ์คือ สื่สารด้วยภาษาที่สั้น กระซับเร้าใจสุภาพไม่หยาบโลนไม่สร้างวาทกรรมให้เกิดความเกลียดชัง มีความชัดเจนกระจ่างแจ้งในการเขียน

3. สมัยสมพงษ์คือ สื่สารเหมาะสมกับกาลเวลา เมื่อมีเนื้อสารที่มีองค์ประกอบครบทั้งความจริง แท้และมีประโยชน์ครบถ้วนแล้ว เวลาเหมาะสมะแม้ว่าคนจะพอใจหรือไม่พอใจก็ต้องนำเสนอ พร้อมรู้จักพอ รู้จักรอ และรู้จักประมาณไม่นำเสนอหากจะส่งผลกระทบ

4. สังคมสุขสำราญคือ สื่อสารที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สันติสุขต่อสังคมโดยรวมในรูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ใช้พื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแทนที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และรายงานสถานการณ์เท่านั้น 

5. สร้างสรรค์สันติคือ ผู้ส่งสารมีพื้นฐานจิตที่มีเมตตา มีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพเป็นอย่างดีพร้อมกระจายความเข้าใจนั้นไปสู่สังคมในระดับต่างๆพร้อมตั้งมั่นใจอยู่ในจริยธรรมสื่อเป็นสำคัญ

โดยมีคำว่า “สร้างสรรค์สันติ” อยู่ตรงกลางเพราะการสร้างสรรค์สันติเป็นหัวใจความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสันติภาพภายในซึ่งเกิดจากฐานจิตที่ประกอบด้วยเมตตาที่พัฒนามาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แล้วแผ่สันติภาพภายในนั้นให้กระจายไปสร้างสันติภาพภายนอกด้วย “สื่อสารสาระ” เป็นต้น ครบองค์ประกอบดังกล่าว โดยหลอมรวมหมุนดุจวงล้อธรรมจักรหรือพัดลมให้เห็นป็นเนื้อเดียวกัน หมุนจนกระทั้งไม่เห็นใบพัด ก็จะมีพลังสร้างสังคมมีสันติสุขมากขึ้นเท่านั้น ดังสโลแกรนที่ว่า “นฺตถิสฺนติ ปรัง สุขัง” แปลว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"สมเด็จพระธีรญาณมุนี-ปลัด มท." ประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถคู่หน้าวัดสโมสรนนทบุรี

    เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567  เวลา 09.39 น.ที่วัดสโมสร บ้านคลองหม่อมแช่ม หมู่ 9 ตำบลไทรใหญ่ อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจ...