วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561
กรมศิลปากรส่งผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่อุบลราชธานี
นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่าตามที่สำนักศิลปากรที่ ๙ อุบลราชธานี ค้นพบจารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่ ที่อยู่ในความครอบครองของนายสัมฤทธิ์ ผาดี ราษฎรบ้านตุงลุง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี และได้ประสานจังหวัดอุบลราชธานีและหน่วยงานปกครองในพื้นที่จนสามารถรับมอบและเคลื่อนย้ายจารึกหลักดังกล่าวมาเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
จึงได้มอบหมายให้ นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ ลงพื้นที่ตรวจสอบและคัดลอกสำเนาจารึกหลักดังกล่าว ซึ่งในเบื้องต้นมีความเห็นว่า จารึกพระเจ้าจิตรเสนหลักใหม่ ทำด้วยหินทราย กว้าง ๖๔ เซนติเมตร หนา ๓๖ เซนติเมตรจารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต จำนวน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ มีเนื้อความคล้ายกับจารึกปากน้ำมูล ๑ และจารึกปากน้ำมูล ๒ ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี โดยกล่าวถึงประวัติพระเจ้าจิตรเสน และการสถาปนาศิวลึงค์เสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์เหนือดินแดนนั้น
พระเจ้ามเหนทรวรมัน (ผู้อยู่ในความพิทักษ์ของพระอินทร์ผู้ยิ่งใหญ่) มีพระนามเดิมว่า จิตรเสน เป็นพระโอรสของพระเจ้าวีรวรมัน ครองราชย์ในราว พ.ศ. ๑๑๔๓ – ๑๑๕๙ แห่งอาณาจักรเจนละ ในรัชสมัยของพระองค์พบหลักฐานที่เป็นจารึกแพร่หลาย โดยข้อมูลที่มีในปัจจุบันพบว่าจารึกที่พบในประเทศไทย จำนวน ๑๕ หลัก ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน ๓ หลัก และราชอาณาจักรกัมพูชา จำนวน ๒ หลัก
โดยเนื้อความในจารึกของพระองค์ได้กล่าวถึงพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ตลอดจนการขยายอาณาจักรเจนละของพระองค์เอง การพบจารึกของพระองค์อย่างหนาแน่นและแพร่หลายในดินแดนประเทศไทยในปัจจุบันมากกว่าบริเวณอื่น ๆ อาจเป็นภาพสะท้อนการให้ความสำคัญกับพื้นที่ในแถบนี้เป็นอย่างมาก จารึกของพระองค์บอกถึงเส้นทางการเดินทางที่ใช้เส้นทางน้ำเป็นหลัก คือ แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี อันเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรเกลือและเหล็กอันมากมายมหาศาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น