วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เตรียมระดมสมองทำโรดแม็พปฏิรูปการสอนพุทธในโรงเรียน




วันที่ 22 มิถุนายน 2561  ที่อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ มีการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานครั้งที่ 1 /2561 ที่ตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการนี้มีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาและผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ และ ผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร  ในฐานะกรรมการ เข้าร่วมประชุมด้วย



พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้เข้าร่วมในฐานะผู้ติดตามพระมหาหรรษา เปิดเผยว่า ที่ประชุมมองว่า การนำสมาธิเข้ามาไว้ในหลักสูตรการสอนพระพุทธศาสนา ให้สอดคล้องกับชีวิตของผู้เรียนให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จึงควรเรียนวิชาพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติสมาธิมากกว่าจะการเน้นเนื้อหาวิชาด้วยเวลาจำกัดในชั้นเรียน จึงมีความต้องการจัดการเรียนรู้สมาธิเป็นสำคัญ การปฏิรูปครั้งนี้ไม่ได้มุ่งปรับเปลี่ยนหลักสูตรแต่จะนำสมาธิเข้ามามีบทบาทในการสอนพระพุทธศาสนา โดยไม่เน้นองค์ความรู้หรือเพียงท่องจำแต่จะเน้นการฝึกปฏิบัติด้านสมาธิ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการศึกษาวิถีพุทธเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ให้สร้างคนดีมีวินัยภูมิใจในชาติสามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ คณะปฏิรูปมีการศึกษาด้านงานวิจัยรับรองเกี่ยวกับสติและสมาธิ และสมองแห่งพุทธะ (Buddha's Brain) เพื่อจะนำมาประยุกต์ใช้การสอนพระพุทธศาสนาท่ามกลางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราจะมีการสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรในยุคปัจจุบัน 



พระมหาหรรษา  กล่าวว่า ขอชื่นชมวิสัยทัศน์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ใส่ใจเรื่องการสอนพระพุทธศาสนาให้กับเยาวชน เราต้องกลับมาดูว่าเด็กปัจจุบันเป็นอย่างไร เด็กเยาวชนมีปัญหาอะไร ประเด็นการสอนพระพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่เนื้อหา แต่อยู่วิธีการในการสอน คนที่จะปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาต้องเปิดใจกว้าง ว่า อะไรเหมาะสมกับเยาวชน เราต้องดึงทุกคนเข้ามาส่วนร่วมในการปฏิรูปเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมไทย เราต้องเชิญทุกภาคีเครือข่ายมาระดมสมองเพื่อศึกษาสภาพปัญหาหรือบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เราถึงมาออกแบบยุทธศาสตร์ ที่มีอยู่เรามีปัญหาอะไร เรามีจุดแข็งจุดอ่อนอะไร อนาคตของชาติจึงขึ้นอยู่กับเด็กเยาวชนเหล่านี้ พระอาจารย์หรรษามองว่า เราควรศึกษาสภาพปัญหาผ่านการวิจัย ผ่านการระดมสมองจากทุกภาคีเครือข่ายทั้งทางโลกและทางธรรม



ผศ.ดร.บรรจบ กล่าวว่า หลายปีผมได้ทำหลักสูตรแต่ประเด็นคือเนื้อหามันเยอะเกินไป เราต้องศึกษาวิเคราะห์วิจัยสภาพสังคมไทยเราเป็นอย่างไร เราต้องฟังจากเด็กว่าเด็กเยาวชนต้องการอะไร อยากเรียนอย่างไร ต้องการวิธีการสอนอย่างไร ซึ่งเราทราบดีว่าปัจจุบันเนื้อหาการสอนพระพุทธศาสนาเยอะมากเราจะมีการปรับอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม หลักธรรมไม่ต้องมากแต่การสอนจะต้องเกิดการเชื่อมโยง เช่น การสอนเรื่องกตัญญูแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ เราควรหาเนื้อหาที่เหมาะสมกับสังคมไทย เราต้องศึกษาสภาพปัญหาและความเหมาะสมว่าเด็กแต่ละช่วงจะมีความเหมาะสมอย่างไร ส่วนว่าเราจะเอารูปแบบการสอนใดนั้น คณะกรรมการปฏิรูปต้องระดมสมองกันทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสติและสมาธิมีความสำคัญต่อเยาวชนมากในภาวะปัจจุบัน เพราะสมาธิมีในทุกศาสนา 

กรรมการเสนอว่า เด็กของจุฬาลงกรณ์สนใจเรียนสมาธิมากขึ้น เพราะส่งผลต่อการเรียนและการใช้ชีวิต การสอนพระพุทธศาสนาจะต้องชี้ให้เห็นว่า ต้องเป็นคนดี การสอนพระพุทธศาสนาจึงไม่ได้ผลถ้าเราสอนเพียงทฤษฏีเท่านั้นจึงมีการพัฒนาผู้สอนอย่างเป็นระบบ จึงมีการเสนอวิธีการในการสอนสมาธิ ซึ่งสิ่งที่น่าห่วงมากในปัจจุบันคือ ถ้าให้ครูท่านใดสอนวิชาพระพุทธศาสนา ไม่มีใครอยากจะสอน เพราะครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาที่เป็นครูในโรงเรียนไม่มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย คณะกรรมการบางท่านชูแนวทางของการสอนครูสอนสมาธิหลวงพ่อวิริยังค์ ซึ่งมีหลักสูตรที่ชัดเจน มีการสอนที่เป็นระบบ คณะกรร มการมองว่าปัญหาอยู่ที่ตัวครูผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง เราจะสอนพระพุทธศาสนาอย่างไรไม่ให้เกิดความขัดแย้งในท่ามกลางพหุวัฒนธรรม วิธีการจึงมีความสำคัญมาก ส่วนตัวมองว่า "อะไรที่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าประโยชน์ต่อชีวิตจะทำให้ผู้เรียนอยากเรียน" การเรียนรู้สมาธิจึงไม่แบ่งแยกทางศาสนา ซึ่งปัญหาอุปสรรคในการสอนพระพุทธศาสนาเรามักจะใช้ภาษาบาลีในการสื่อสาร เราจะสื่อสารอย่างไรให้ถึงเด็กอย่างแท้จริง สิ่งหนึ่งเราต้องดึงภาคีเครือข่ายเช่น ผู้ปกครอง มามีส่วนร่วม ทำโรดแม็พ ในการขับเคลื่อนการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาจึงมีคณะทำงานในการขับเคลื่อนเพื่อจะสู่การวิจัยศึกษาสภาพปัญหาต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาอบรมครูและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และขับเคลื่อนในโรงเรียนจำนวน 30,717 โรง เริ่มจากพฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป 

แต่คณะกรรมการมองว่า เราควรระดมสมอง โฟกัส ให้มีเวทีกลางให้ทุกเครือข่ายมาแชร์ในประเด็นการสอนพระสอนพระพุทธศาสนา เราต้องไม่ปิดกั้นทุกเครือข่ายโดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้ปครอง กลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มครู กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มสถาบันการสอนพระพุทธศาสนา กลุ่มด้านจิตวิทยา จากทั่วประเทศของประเทศไทย และหาโรงเรียนต้นแบบในการสอนพระพุทธศาสนา แต่สิ่งที่กรรมการอยากเห็นคือ อยากฟังจากเด็กโดยตรงว่าเด็กต้องการอย่างไร? ซึ่งที่ผ่านมาเราไม่ได้ฟังเด็กมีแต่ผู้ใหญ่คิดเองแล้วจัดหลักสูตร ถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ 

"การจัดหลักสูตรพระพุทธศาสนาอย่างไรให้เด็กเข้าถึงวิถีความเป็นพุทธ ปริยัติเราไม่ห่วงเด็กพุทธแต่เราห่วงวิถีความเป็นผู้ปฏิบัติ เราจึงต้องระดมสมองผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญทุกภาคส่วนในการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนา พระอาจารย์หรรษาเสนอว่า การปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเด็นคือ "เราต้องกลับมาศึกษาสภาพการสอนพระพุทธศาสนาปัจจุบัน สภาพการดำรงชีวิตของเยาวชนควรจะเป็นอย่างไร สำรวจความต้องการของของเด็กผู้ปกครองบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสอนพระพุทธศาสนา นำมาสร้างรูปแบบได้รูปแบบการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรวมถึงโรงเรียนต้นแบบที่สอนพระพุทธศาสนาที่ดีอยู่แล้ว เช่น โรงเรียนคุณธรรม โรงเรียนวิถีพุทธ เป็นต้น โจทย์คือเราต้องการรูปแบบการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมในสังคมไทยปัจจุบัน" พระอาจารย์ปราโมทย์ ระบุ


.................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat)

7 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ สมควร สมควร สำเร็จ สำเร็จ

    ตอบลบ
  2. ไม่ควรกำหนดรูปแบบอะไรมาก พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ พิสูจน์หลักธรรมคำสอนได้ตลอดเวลา เป็นอกาลิโก หลักง่ายๆ ศีล สมาธิ ปัญญา
    ปล่อยให้โรงเรียน ปล่อยให้ชุมชนเขาจัดการกันเอง ไม่ควรยุ่งกับเขามาก

    ตอบลบ
  3. วิชาพระพุทธศาสนา เน้นสอนให้เป็นคนดีมีคุณธรรม “คนดีทุกคนเป็นคนเก่งได้ แต่คนเก่งทุกคนอาจไม่ใช่คนดี” ดังนั้น
    สติ และสมาธิเป็นเรื่องสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน

    ตอบลบ
  4. การเรียนการสอนในหลักสูตรปัจจุบันมีหลายจุดประสงค์หลายมาตราฐานก่อให้เกิดความเครียดกับผู้เรียนผู้สอนมาก​พุทธศาสนาน่าจะเป็นความหวังสูงสุดในการแก้ความความเครียดในการเรียนการสอน.

    ตอบลบ
  5. สาธุขอให้สำเร็จครับ

    ตอบลบ
  6. ที่ผ่านมาเน้นแต่ทฤษฎี รู้มากแต่นำไปปฏิบัติไม่ได้เพราะจิตใจอ่อนแอไม่เข้มแข็ง แต่ถ้าให้เด็กได้ปฏิบัติสมาธิควบคู่กันไป ทำให้มีพลังจิต พลังใจในการหักห้ามไม่ทำความชั่ว มีสติในการดำรงชีวิตมากขึ้น
    ซึ่งไม่ใช่แต่เฉพาะเด็ก ผู้ใหญ่ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกันค่ะ

    ตอบลบ
  7. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ

"สมเด็จชิน" เปิดสอบนักธรรมชั้นโท-เอก ชี้ชาวพุทธต้องเข้าถึง "3 ป." ให้สมบูรณ์ - แนะปรับรูปแบบให้เข้ากับยุค AI

  เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เป็นวันแรกของการสอบธรรมสนามหลวง นักธรรมชั้น โท-เอก ประจำปีการศึกษา 2567 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมา...