วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561

"IBSC มจร"ร่วมกับ"องค์การไกล่เกลี่ยโลก"ลงนามความมือเพื่อสันติภาพ




วันที่ 29 มิถุนายน 2561ที่ผ่านมา ที่วัดพุทธวิหาร กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และ ศ.ดร.แดเนียล เอ็ดมานด์ ผู้อำนวยการองค์การไกล่เกลี่ยโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี  ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือพัฒนางานด้านสันติภาพ โดยมีประเด็นการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาทักษะผู้ใกล่เกลี่ยคนกลาง และการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่ทำงานด้านสันติภาพร่วมกัน



องค์การไกล่เกลี่ยด้านสันติภาพมีนักไกล่เกลี่ยที่มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ทำงานอยู่ทั่วโลกที่จับมือกันตั้งองค์การไก่เกลี่ยขึ้นมาทำงานในภูมิภาคต่างๆ อีกทั้งการจัดประชุมไกล่เกลี่ยโลกที่เมืองไทยสองครั้ง สิ่งสำคัญในการลงนามคือการนำองค์ความรู้ Mindful Mediation เข้าไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักไกล่เกลี่ยให้มีพื้นฐานการทำงานอย่างมีสติมากยิ่งขึ้น เพราะการทำงานลักษณะนี้จะสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึกของคู่กรณีที่กำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้งและความรุนแรง



นอกจากนี้ หลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬาฯ มองว่า องค์การไกล่เกลี่ยโลกจะเป็นพันธมิตรสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของนักศึกษาที่จะเข้าไปศึกษาหลักสูตรสันติศึกษา ที่จะเปิดหลักสูตรร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยจาจิโลเนียน เมืองคราค๊อพ ประเทศโปแลนด์ในปีหน้า และในฐานะที่เยอรมันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบาดแผลความเจ็บปวดในสงครามโลกครั้งที่สอง จะได้เข้ามาช่วยเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในยุโรปอย่างมีพลังต่อไป



การลงนามครั้งนี้ ได้มีพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มจร และพระโพธิคุณวิเทศ เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหาร เบอร์ลิน ได้สนับสนับสนุนพื้นที่ในการลงนามความร่วมมือ โดยมีคณะสงฆ์และญาติโยมร่วมเป็นสักขีพยานในครั้งนี้

...........


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊กHansa Dhammahaso)



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...