วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เปิดแล้ว!ประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาที่วัดอตัมมยตารามรัฐวอชิงตัน



วันที่ 23 มิ.ย.2561  ระหว่างวันที่ 21-24 มิ.ย.2561 มีการประชุมประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งที่ 42 ประจำปี 2561 ที่วัดอตัมมยตาราม รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา  ซึ่งมีพระวิเทศสิทธิธรรมาภรณ์ (เจ้าคุณฤทธิ์) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีผู้แทนพระธรรมทูตจากทั่วโลกเข้าร่วม อย่างเช่นระครูภาวนาชาครวิเทศ (ชาติชาย) เจ้าอาวาสวัดภาวนาปาล์มบีส รัฐฟลอริด้า ได้นำชาดีมาบริการแก่คณะพระธรรมทูต  ดร.พระมหาสมบัติ อินฺทปญฺโญ ป.ธ.9 วัดพระธรรมกายแคลิฟอร์เนีย   พระโสภณพุทธิธาดา รองเจ้าคณะจังหวัดอุดรธานี  พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาราชวิทยาลัย(มจร) ปัจจุบันนี้มีวัดไทยในสังกัดสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสหรัฐอเมริกจำนวน 112 วัด มีพระธรรมทูตไทยปฏิบัติศาสนกิจจำนวน 500 รูป

โดยวันที่ 21 มิ.ย.ตามเวลาท้องถิ่นมีการแบ่งประชุมกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ในประเด็นที่สำคัญเช่นการทำบัญชีวัดรายรับรายจ่าย การอบรมสื่อเทคโนโลยีเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ทั้งอุปกรณ์ การใช้โปรแกรมต่างๆ การใช้เฟซบุ๊กไลฟ์ การถ่ายภาพ การถ่ายเซลฟี่ การตัดต่อวิดีโอ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างรวดเร็วทันกับสถานการณ์ รวมถึงการเข้าใจประเด็นหรือเนื้อหาที่น่าสนใจที่ความสำคัญ




และวันที่ 22 มิ.ย.เป็นการเปิดการประชุมอย่างเป็นทางการ โดยได้รายงานประวัติวัดอตัมมยตาราม เป็นวัดที่ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 18 มกราคม  2541 โดยกลุ่มชาวพุทธซึ่งมีความเห็นร่วมกันที่จะสร้างวัดในรัฐวอชิงตัน ได้มีการประชุมพูดคุยกันหลายครั้ง จึงตกลงเลือกชื่อที่เหมาะสม ว่า "วัดอตัมมยตาราม" ซี่งมีความหมายว่า " ความไม่เข้าไปเกี่ยวข้องอาศัยหรือปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป" เพราะรู้ชัด ประจักษ์ชัดต่อสิ่งที่ปรุงแต่งแล้วเป็นทุกข์ และต้องปล่อยวางต่อสิ่งนั้น รับสิ่งที่สูงกว่าอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงที่สุด 




วัดอตัมมยตาราม มีจุดมุ่งหมายในการทำงานเผยแพร่พระศาสนา รักษาไว้ซึ่งประเพณีอันดีงามของชาวพุทธที่ได้สืบทอดต่อๆ กันมา  เมื่อมีการพูดคุยตกลงในการสร้างวัดในที่ประชุมก็ได้เลือกคุณกมล  เลขะกุล เป็นประธาน และได้ดำเนินเรื่องการจดทะเบียนเป็นวัดอย่างถูกต้องตามกฏหมายเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2541 ประธานได้ทำหนังสือลงวันที่ 15 มิถุนายน  2541 ถึงพระมหาบัญญัติ  ธัมมสาโร ทำหน้าที่แทนเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม รัฐอิลลินอยส์ เพื่อนิมนต์พระมหาฤทธิ์ ถิรจิตโต ซึ่งเป็นพระในสังกัด เพื่อจำพรรษา และเป็นขวัญกำลังใจแก่ชาวพุทธในรัฐวอชิงตัน และรัฐใกล้เคียง   พระมหาฤทธิ์  ถิรจิตโต ได้ตอบรับและได้เดินทางถึงรัฐวอชิงตัน  เมื่อกวันที่ 8 กรกฎาคม 2541 โดยพักบ้านเลขที่  8643  38th Ave, S เมืองซีแอ๊ตเติ้ล  เป็นการชั่วคราว ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 คณะสงฆ์และกรรมการบริหารวัด ได้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและคอกม้า เนื้อที่ประมาณ 5 เอเคอร์ (12 ไร่กว่า) และได้ย้ายเข้าไปประจำ ณ สถานที่แห่งใหม่ “วัดอตัมมยตาราม” เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2542   

บริเวณที่ตั้งของวัดอตัมมยตารามในปัจจุบันนับได้ว่าเหมาะสมสำหรับการบำเพ็ญสมณกิจและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป ปัจจุบันมีพระสงฆ์อยู่ปฏิบัติศาสนกิจ 6 รูปด้วยกัน 1.พระครูสิทธิธรรมวิเทศ เจ้าอาวาส  2. พระอาจารย์ประหยัด วุธปัญโญ 3.พระมหาสมชาย  คุณาลังกาโร 4. พระจรินทร์  อาภัสสโร 5. พระมหาวัลลภ  อัคคธัมโม  6. พระ Santidhammo  (ภิกษุชาวอเมริกัน)

ศาสนสมบัติประกอบด้วย ที่ดิน 12 ไร่ครึ่ง คิดเป็นมูลค่า 3,000,000 เหรียญสหรัฐ สิ่งปลูกสร้างประกอบด้วย อสังหาริมทรัพย์ กุฏิ 1 หลัง 6 ห้องนอน อุโบสถธรรมชาติ  ศาลาธรรมโกศาจารย์ 1 หลังงบก่อสร้าง 2,300,000 เหรียญสหรัฐ กุฏิกัมมัฏฐาน 2 หลัง โรงเก็บของ 1 หลัง

โครงการที่กำลังดำเนินการ 1. โครงการ "อตัมมยตาราม เพื่อปัญญาบารมี" เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้สร้างบารมีร่วมกันโดยการจัดพิมพ์หนังสือที่มีเนื้อหาสาระทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาลาว ออกแจกจ่าย ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อช่วยให้ทุกท่านที่อ่าน ทำความเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับผลคือ ความสงบสุข ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา   2.  โครงการธรรมสัญจร การสืบทอดเชื่อมโยงระหว่างสถาบันครอบครัว องค์กรศาสนา แนวทางและวิธีการต้องผสมผสานกันไป แค่ดูสังคมในอเมริกาเองก็มีปัญหามาก เพราะพ่อแม่ยังยึดถือประเพณีเดิมๆ แต่ลูกหลานที่เกิดและเจริญเติบโต ใน 2 วัฒนธรรม พ่อแม่พยายามมอบความเชื่อของตนให้ แต่ลูกหลานพยายามต่อต้าน  จึงเป็นโอกาสเหมาะที่พระสงฆ์สามารถทำความเข้าใจในส่วนนี้ได้ วิธีการคือเมื่อท่านพร้อมที่จะรวมกลุ่มในครอบครัว เพื่อนบ้าน พระสงฆ์จะนำหนังสือเทปธรรมะ และแบ่งกลุ่มสนทนาทำความเข้าใจ  3. โครงการ ปฏิบัติธรรม วัดอตัมมยตาราม ได้มีปณิธานอันแน่วแน่ในการทำงานพระศาสนาโดยมุ่งเน้นในเรื่องการศึกษาทำความเข้าหลักคำสอนที่แท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการจัดกิจกรรมเพื่อความสงบทางด้านจิตใจ  เป็นโครงการเดือนละ 1 ครั้ง  

อย่างไรก็ตามการสื่อสารเชิงสันตินับว่ามีความสำคัญสำหรับพระธรรมทูต ซึ่งมีแนวคิดทั่วไป คือ 1) ให้ข้อสังเกตได้ว่าเกิดอะไรขึ้น โดยไม่ตัดสิน ไม่ประเมิน หรือตีความ 2) พูดสื่อความรู้สึกทั้งของตัวเราเองและคนอื่นได้อย่างตรงใจ 3) ค้นหาและบอกความต้องการในส่วนลึกของเราและคนอื่น 4) หาข้อตกลงร่วมกันหรือขอร้องให้เกิดการแก้ปัญหาที่ปฏิบัติได้จริงด้วยการสื่อสารที่ชัดเจน และเป็นทางบวก 

ขณะที่หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" นั้นนายสำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ได้เสนอบทความประกอบวิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาโท สาขาสันติศึกษา เรื่อง "ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก" สรุปความว่า 

แนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติเชิงพุทธขณะที่หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาคือ “วาจาสุภาษิต” หรือ “สัมมาวาจา”   1 ในมรรคมีองค์ 8 เป็นส่วนหนึ่งในอริยสัจ 4 คือความจริงอันประเสริฐเป็นทางให้ถึงสันติสุขได้ นับเป็นการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธได้ เพราะว่าคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพทั้งนั้น โดยหลัก "วาจาสุภาษิต" ซึ่งมีรูปแบบพิเศษคือพระพุทธเจ้าจะตรัสวาจาครั้งใดนั้น ภายใต้เงื่อนไข 6 กรณี มีเพียง 2 กรณีเท่านั้นที่พระพุทธเจ้าตรัส คือ มีองค์ประกอบ “คำพูดที่จริง ที่แท้ เป็นประโยชน์” ครบ เมื่อเวลาเหมาะสม แม้บุคคลจะพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม นับเป็นองค์ธรรมพื้นฐานช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  

หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพเชิงพุทธตามหลัก   "วาจาสุภาษิต" สามารถสะท้อนออกมาเป็น “14ส.สื่อเพื่อสันติภาพเชิงพุทธโมเดล” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนและสังคมทั่วไปได้ดังนี้ 

1. สื่อสารสาระคือ สื่อสารที่ตรงกับความเป็นจริง ข้อเท็จจริงตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนก่อนนำเสนอถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน สมดล โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความตรงไปตรง เป็นกลาง ไร้อคติ ให้ความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหาให้โอกาสได้ตอบในโอกาสแรกที่ทำได้โดยเอาใจเราใส่ใจเขาในสถานการณ์เดียวกัน 

2. สืบสานสัมพันธ์คือ สื่สารด้วยภาษาที่สั้น กระซับเร้าใจสุภาพไม่หยาบโลนไม่สร้างวาทกรรมให้เกิดความเกลียดชัง มีความชัดเจนกระจ่างแจ้งในการเขียน 

3. สมัยสมพงษ์คือ สื่สารเหมาะสมกับกาลเวลา เมื่อมีเนื้อสารที่มีองค์ประกอบครบทั้งความจริง แท้และมีประโยชน์ครบถ้วนแล้ว เวลาเหมาะสมะแม้ว่าคนจะพอใจหรือไม่พอใจก็ต้องนำเสนอ พร้อมรู้จักพอ รู้จักรอ และรู้จักประมาณไม่นำเสนอหากจะส่งผลกระทบ 

4. สังคมสุขสำราญคือ สื่อสารที่มุ่งให้เกิดประโยชน์สันติสุขต่อสังคมโดยรวมในรูปแบบการเปิดพื้นที่สาธารณะให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ใช้พื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาแทนที่จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์และรายงานสถานการณ์เท่านั้น  

5. สร้างสรรค์สันติคือ ผู้ส่งสารมีพื้นฐานจิตที่มีเมตตา มีความเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับสันติภาพเป็นอย่างดีพร้อมกระจายความเข้าใจนั้นไปสู่สังคมในระดับต่างๆพร้อมตั้งมั่นใจอยู่ในจริยธรรมสื่อเป็นสำคัญ 


โดยมีคำว่า “สร้างสรรค์สันติ” อยู่ตรงกลางเพราะการสร้างสรรค์สันติเป็นหัวใจความสำคัญเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสันติภาพภายในซึ่งเกิดจากฐานจิตที่ประกอบด้วยเมตตาที่พัฒนามาจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แล้วแผ่สันติภาพภายในนั้นให้กระจายไปสร้างสันติภาพภายนอกด้วย “สื่อสารสาระ” เป็นต้น ครบองค์ประกอบดังกล่าว โดยหลอมรวมหมุนดุจวงล้อธรรมจักรหรือพัดลมให้เห็นป็นเนื้อเดียวกัน หมุนจนกระทั้งไม่เห็นใบพัด ก็จะมีพลังสร้างสังคมมีสันติสุขมากขึ้นเท่านั้น ดังสโลแกรนที่ว่า “นฺตถิสฺนติ ปรัง สุขัง” แปลว่า “สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี”



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พวงเพ็ชร" มาแล้วมอบสำนักพุทธจับมือ "พม." ตรวจสอบ พ่อ-แม่ ‘น้องไนซ์ เชื่อมจิต’ หากเข้าข่ายหลอกลวง ปชช. สั่งฟันทันที

เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนเรียกร้องให้สำนักงานพระพุทธศาส...