วันอาทิตย์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

“นักอนุรักษ์” ต้านสร้างเขื่อน 7 แห่ง ในพื้นที่ นครนายก-ปราจีน ชี้ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 16,000 ไร่



 “นักอนุรักษ์” ต้านสร้างเขื่อน 7 แห่ง ในพื้นที่ นครนายก-ปราจีน ชี้ต้องสูญเสียพื้นที่ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ 16,000 ไร่ แนะกรมชลฯ บริหารจัดการน้ำแนวใหม่ สอดรับภาวะโลกเดือด ที่ทั่วโลกเผชิญ 

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน นางสาวอรยุพา สังขะมาน เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้เปิดข้อมูลสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของโครงการเขื่อนในพื้นที่ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ครอบคลุม 2 จังหวัดได้แก่ นครนายก และปราจีนบุรี ซึ่งประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติตาพระยา อุทยานแห่งชาติปางสีดา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางธรรมชาติแห่งที่ 2 ในปี พ.ศ.2548 ขณะนี้มีโครงการที่อยู่ในแผนการก่อสร้างทั้งหมดคือ 7 เขื่อน ซึ่งหากทำตามแผนทั้งหมดพื้นที่ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ที่จะหายไปถึง 16,000 ไร่

นางสาวอรยุพา ยังได้ตั้งคำถามถึงภาครัฐว่า ตามที่สหประชาชาติประกาศว่า ตอนนี้โลกเราไม่ได้อยู่ในภาวะโลกร้อนแต่เราอยู่ในภาวะโลกเดือด เราไม่ได้อยู่ในภาวะปกติอีกต่อไป เพราะฉะนั้นเรายังสามารถที่จะสามารถบริหารจัดการการน้ำแบบเดิม และปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบที่เราไม่เคยเจอกันมาก่อนได้อยู่หรือไม่



ขณะที่ ดร. สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ อดีตประธานกรรมการมูลนิธิโลกสีเขียว กล่าวว่า ตนคืนคนที่ร่วมต่อสู้กับพี่น้องเพื่อปกป้องผืนป่ามาตลอด 30 ปี จนมีชื่อเรียกว่า วิทยาศาสตร์พลเมือง นั่นคือเราทุก ๆ มีเครื่องมือที่แสนวิเศษในตัวเราคือ สายตา ขา และมือของเรา ออกไปช่วยกันสำรวจดูว่าเรามีสิ่งมีชีวิตอะไรอยู่บ้าง พอได้ฟังว่าคลองมะเดื่อ ซึ่งเป็นหนึ่งในผืนป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ฝั่ง จ.นครนายก มีปูหินน้ำตกที่มีอยู่แห่งเดียวในโลก จึงอยากนัดหมายนักธรรมชาติวิทยาและผู้ที่สนใจมาช่วยกันสำรวจสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ระบบนิเวศคลองมะเดื่อ เพื่อให้คนมารู้จักว่าสิ่งมีชีวิตที่นี่มีค่าขนาดไหน และเป็นการส่งสารไปบอกกับรัฐบาลและสังคมด้วย 



ด้าน นายโสภณัฐต์ กิ่งผา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลสาริกา แกนนำชุมชนบ้านคลองมะเดื่อ เล่าถึงการต่อสู้ที่ผ่านมาว่า ทุกครั้งที่มีการประชุมกับกรมชลประทานที่ประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ไม่รู้ว่าจะต้องบันทึกภาพวีดีโอ พอชาวบ้านยกมือคัดค้าน บริษัทที่ปรึกษาฯ ถ่ายภาพนิ่งไปบิดเบือนเป็นชาวบ้านเห็นด้วย แต่ไม่มีหลักฐาน เพราะภาพนิ่งบ่งชี้ไม่ได้ว่าชาวบ้านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย พอร้องไปยังกรรมการสิทธิมนุษยชนเขาก็ถามหาหลักฐาน และที่สำคัญจำนวนคนที่เห็นด้วยกับโครงการเขื่อนมะเดื่อที่ระบุในรายงานผลกระทบฯ ว่าเห็นด้วย 75 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นด้วย 5 เปอร์เซ็นต์นั้น เป็นตัวเลขที่กรมชลประทานเอาคนตำบลอื่น ๆ เข้ามารวม พอถามชุมชนอื่นว่าจะสร้างเขื่อนคลองมะเดื่อแล้วส่งน้ำมาให้เอาไหม ทุกคนเอาอยู่แล้ว เขาไปเอาผู้ได้รับประโยชน์มารวมกับผู้ได้รับผลกระทบอย่างเรา มันไม่เป็นธรรมกับคนคลองมะเดื่อ ชาวบ้านเราเสียพื้นที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน เสียโอกาส เสียชุมชน เสียต้นไม้ ป่าไม้จำนวนมาก ด้านในยิ่งมีความหนาแน่น 

“อย่างปีบทองเขาบอกว่ามันเป็นไม้อนุรักษ์ที่สำรวจพบ 1-2 ต้น แต่ชาวบ้านเราพบจำนวนมากในป่าของเรา ปู ปลา ไม่มีสูญพันธุ์เพราะเราจับเฉพาะตัวเต็มวัย ที่สำคัญคือร่องน้ำคลองมะเดื่อไม่ได้มีน้ำตลอดทั้งปีนะครับ สันเขื่อน 80 เมตรจะเอาน้ำที่ไหนมาเติม น้ำมีเท่านี้ จะเอาน้ำตรงไหนไปผลักดันน้ำเค็ม คุณสร้างใหญ่แต่น้ำไม่มี มันก็เสียป่า เสียประโยชน์ เสียงบประมาณ ผมมองแล้วว่าไม่น่าจะคุ้มค่าในการก่อสร้างกับสิ่งที่ต้องเสียไป ขอขอบคุณทุกหน่วยและทุกกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยเหลือพี่น้องคลองมะเดื่อ และขอให้ช่วยต่อไป” นายโสภณัฐต์ กล่าว 



สอดคล้องกับนาง ระตะนะ ศรีวรกุล  จากเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ปราจีนบุรี นายจันทรานนท์ ชญานินศิวกูร ผู้ประสานงานกลุ่มเพื่อนทับลาน และนายกัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำบางปะกง ที่ได้แสดงความคิดเห็น ไปในแนวทางเดียวกันว่า หากมีการสร้างเขื่อนทั้ง 7 แห่ง ในพื้นที่ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ จะต้องสูญเสียป่าไปมากมาย ด้วยเหตุผลเดียวคือเพื่อจัดการน้ำเพื่อการเกษตร แต่เกษตรกรไม่ใช่ผู้ใช้น้ำ เนื่องจากมีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นใหม่กว่า 100 ไร่ เพื่อรองรับการใช้น้ำ นอกจากนี้การสร้างเขื่อนยังมีผลกระทบต่อช้างป่า โดยเฉพาะหากหากสร้างเขื่อนคลองมะเดื่อ จะเกิดการเคลื่อนตัวของช้างป่าอาจจะมีปัญหากับชาวบ้าน



“เรากำลังทำเรื่องการศึกษาการจัดการน้ำในศตวรรษที่ 21 ในโลกที่มันเปลี่ยนไปแล้ว เราไม่อาจจัดการน้ำแบบทำลายระบบนิเวศได้อีกแล้ว วันนี้มันมีหลายพื้นที่ที่ควรจะฟื้นฟูแต่ยังไม่ได้ทำ เช่น ทุ่งน้ำ หนอง บึง ป่าทาม ทั้งที่มันเป็นพื้นที่เก็บน้ำที่ชาวบ้านได้ประโยชน์เต็ม ๆ ไม่มีใครเสียประโยชน์ นี่จะเป็นอีกงานหนึ่งที่จะเสริมการต่อสู้การรักษาพื้นที่ป่าและพื้นที่ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำของเรา” นายกัญจน์ ทัตติยกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายลุ่มน้ำบางปะกง ระบุ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ครูติ๋วชูสกลนครเมืองพุทธธรรม เพื่อไทยเปิดตัวส่งชิงนายก อบจ.

"สกลนครดีกว่าเดิม"  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno     คลิกฟังเพลงที่นี่ (Intro)   แดนธรรมพุทธา สกลนครเมืองงาม โค ข้...